ADS


Breaking News

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ เสิร์ฟรสชาติจากนอร์เวย์แท้ ส่งตรงถึงบ้าน ผนึก เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล และ ธรรมชาติ ซีฟู้ด จัดแคมเปญใหญ่ที่สุดแห่งปี ‘Taste From Norway, to Your Home’

กรุงเทพฯ - 17 สิงหาคม 2564 – ด้วยสถานการณ์ล็อกดาวน์ที่มีความต่อเนื่องยาวนานส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาทำอาหารง่าย ๆ อยู่บ้าน สลับกับการสั่งอาหารพร้อมรับประทาน เพื่อดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเทรนด์การซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากช่องทางออนไลน์หรือแพลตฟอร์มควิกคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น ทำให้ตัวเลขการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศนอร์เวย์มายังประเทศไทยมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 21% นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ขณะที่มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ทั่วโลกขยายตัว 9% ตัวเลขการเติบโตดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าตลาดกำลังมีความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ ขณะที่ประเทศผู้ผลิตเปรียบเสมือนหลักประกันความไว้วางใจ ในยามที่ความปลอดภัยของอาหารเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างยิ่งท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ จึงได้ร่วมมือกับ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล และ ธรรมชาติ ซีฟู้ด ในการเปิดตัวแคมเปญ ‘Taste From Norway, to Your Home’ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ถึง 10 กันยายน 2564 ผ่านการทำการตลาดผ่านหน้าร้าน การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับเครื่องหมาย SEAFOOD FROM NORWAY ซึ่งเป็นสัญลักษณ์รับรองที่มาและคุณภาพของอาหารทะเลนอร์เวย์ เมื่อลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากนอร์เวย์ตั้งแต่ 399 บาทขึ้นไปต่อหนึ่งใบเสร็จ สามารถนำมาแลก ผ้าอเนกประสงค์ (มูลค่า 99 บาท) หรือแลกกระเป๋าเก็บความเย็น (มูลค่า 250 บาท) ได้ทันที เมื่อซื้อสินค้าตั้งแต่ 600 บาทขึ้นไป ที่ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ทุกสาขาทั่วประเทศ เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Tops Online และช่องทางควิกคอมเมิร์ซอย่างแกร็บมาร์ท (GrabMart) 

อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) กล่าวว่า “ปี 2564 ถือเป็นปีที่แซลมอนจากนอร์เวย์สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์ล็อกดาวน์ ผู้บริโภคมีความต้องการและการบริโภคที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จนถึงเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยนำเข้าแซลมอนจากนอร์เวย์แล้วกว่าหนึ่งหมื่นตัน โดยที่ 93% เป็นแซลมอนสด นับเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้น 43% และมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 และเมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนหน้าที่ตลาดทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ปริมาณการนำเข้าแซลมอนเพิ่มขึ้นกว่า 26% สำหรับนอร์วีเจียนซาบะหรือแมคเคอเรล ถือว่ามีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจในช่วงหกปีที่ผ่านมา และกำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาจับปลาที่เหมาะสมในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นในปลายปีนี้อย่างแน่นอน”

“จุดเด่นของอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์คือความยืดหยุ่นและการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาดในแต่ละประเทศ โดยที่ยังรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ในช่วงระบาดใหญ่ และยังมีการเก็บข้อมูลเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่กำหนดทิศทางของตลาดและหาแนวทางที่เหมาะสมได้ โดยภายใต้แคมเปญ ‘Taste From Norway, to Your Home’ นี้ เราได้ร่วมมือกับผู้ค้าปลีกด้านอาหารชั้นนำของประเทศอย่าง เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล และ ธรรมชาติ ซีฟู้ด เพื่อจัดแคมเปญการตลาดที่ใหญ่ที่สุดที่เราเคยทำในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งมอบอาหารทะเลคุณภาพสูงให้กับประเทศไทยของเรา” อัสบีเยิร์น กล่าวเสริม

จากผลสำรวจเทรนด์ด้านอาหารทะเลของผู้บริโภคในปี 2564 โดยสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ยอดขายอาหารทะเลบนช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคอายุ 20-34 ปี 20% กล่าวว่าพวกเขาซื้ออาหารทะเลออนไลน์ “บ่อย/บ่อยมาก”

  • ผู้บริโภคคนไทยคุ้นเคยกับการซื้ออาหารทะเลออนไลน์ กว่า 28% ซื้ออาหารทะเลออนไลน์ “บ่อย/บ่อยมาก” เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 รองจากประเทศจีน และตามด้วยเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง

  • เทรนด์ของการซื้ออาหารออนไลน์เริ่มมีมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่อายุมากขึ้น เป็นโอกาสอันดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในการเพิ่มช่องทางการขายใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ ในอนาคต 

  • ความสะดวกสบายเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะผู้คนต้องอยู่บ้านเป็นหลัก 79% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญว่าสินค้าอาหารทะเลที่ซื้อไปนั้นต้องเตรียมง่าย อีกหนึ่งโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ไม่ใช่แค่ซูชิหรือซาชิมิ แต่เป็นผลิตภัณฑ์ปลาปรุงรส พร้อมประกอบอาหาร หรือพร้อมกิน เป็นต้น 

  • สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีส่งผลต่อการเลือกสรรอาหารของผู้บริโภค คนส่วนใหญ่มองว่าอาหารทะเลเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ เช่นเดียวกับความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารต่อการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 

เอ็มมานูเอล คูรง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัลรีเทล กล่าวว่า “สำหรับ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเราคือความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของลูกค้า พนักงาน และชุมชน ด้วยสถานการณ์ล็อคดาวน์ในประเทศไทย เรามุ่งให้ความสำคัญกับประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ปลอดภัย รวดเร็ว และสะดวกสบาย จากออฟไลน์สู่ออนไลน์ และออนไลน์สู่ออฟไลน์ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อของด้วยปริมาณในตระกร้าที่เพิ่มขึ้น แต่ใช้เวลาน้อยลงในการซื้อหน้าร้าน ขณะเดียวกันก็สั่งสินค้าในหมวดหมู่สินค้าอุปโภคและอาหารสดทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายอาหารทะเลนอร์เวย์เพิ่มขึ้น โดยความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ในครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อโปรโมทอาหารทะเลจากนอร์เวย์ และตราสัญลักษณ์ SEAFOOD FROM NORWAY ผ่านแคมเปญใหญ่ทั่วประเทศ ต่อยอดจากความต้องการด้านอาหารสด และอาหารพร้อมรับประทานของผู้บริโภค และยังเป็นโอกาสให้เราแสดงถึงพันธกิจหลักในฐานะผู้นำค้าปลีกด้านอาหารอันดับหนึ่งของประเทศไทย ในการจัดสรรผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสูงสำหรับลูกค้า บนช่องทางที่หลากหลาย ทั้งหน้าร้าน ออนไลน์ และผ่านพันธมิตรควิกคอมเมิร์ซอย่างแกร็บมาร์ท (GrabMart)”

นางศันสนีย์ แกทเทนบี้ เดวี่ส์ กรรมการบริหารฝ่ายการตลาด ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล กล่าวว่า “ตลอดช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทาง ธรรมชาติ ซีฟู้ด ได้จัดแคมเปญและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด เพื่อก้าวนำเทรนด์ผู้บริโภคอยู่เสมอ เราให้ความสำคัญกับสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้บริโภค โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สามารถใช้กับหม้ออบลมร้อน; เบคอนแซลมอนแบบไขมันน้อยสำหรับผู้ใส่ใจสุขภาพ; สินค้าอาหารทะเลตามโอกาสสำคัญ เช่น วันแม่; อาหารทะเลในแพ็คเกจที่ใช้ฟิล์มพลาสติกชุบความร้อนแบบสุญญากาศ; สินค้า Cook In The Bag; และอาหารทะเลแบบกินเล่น ซึ่งผู้บริโภคจะสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเหล่านี้ได้ที่เคาน์เตอร์อาหารทะเลของ ธรรมชาติ ซีฟู้ด ที่ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ทั่วประเทศ และบนช่องทางออนไลน์ ภายใต้แคมเปญ ‘Taste From Norway, to Your Home’”


สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ยังได้จับมือกับพันธมิตรร้านอาหารอีก 10 ร้าน เพื่อนำเข้าอาหารทะเลคุณภาพสูงจากประเทศนอร์เวย์ ผ่านบริการส่งอาหารออนไลน์แกร็บฟู้ด ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม ถึง 9 กันยายน 2564 นี้


     Q & A

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

เกี่ยวกับแคมเปญ “Taste from Norway, to Your Home”


คำถาม: คาดหวังกับแคมเปญ “Taste from Norway, to Your Home” อย่างไรบ้าง

คำตอบ: นี่เป็นแคมเปญการตลาดที่ใหญ่ที่สุดที่เราเคยทำมา โดยร่วมมือกับ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล และ ธรรมชาติ ซีฟู้ด ผู้นำค้าปลีกด้านอาหารของไทยซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ผ่านหน้าร้านของ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ และแพลตฟอร์มควิกคอมเมิร์ซอย่างแกร็บมาร์ท (GrabMart) เราเชื่อมั่นว่าแคมเปญนี้จะช่วยเพิ่มยอดขายของแซลมอนที่หน้าร้าน การนำเอากระเป๋าเก็บความเย็นมาเป็นของพรีเมียมในแคมเปญ จะกระตุ้นให้ลูกค้าช้อปผลิตภัณฑ์แซลมอนและนอร์วีเจียนซาบะในปริมาณที่มากขึ้นด้วย และที่สำคัญคือการที่ผู้บริโภคจะได้เริ่มมองหาและคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ SEAFOOD FROM NORWAY ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลคุณภาพจากประเทศนอร์เวย์


เกี่ยวกับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในประเทศไทย

คำถาม: เป้าหมายของการโปรโมทอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในประเทศไทยในปี 2564

คำตอบ: เป้าหมายคือการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ โดยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการรับรู้ว่านอร์เวย์เป็นประเทศแห่งอาหารทะเล และเพิ่มความนิยมให้กับประเภทของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ชนิดต่าง ๆ

ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ผู้บริโภคหลายคนยังเข้าใจผิดว่าแซลมอนและซาบะมาจากญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะมักจะคุ้นเคยกับการเห็นปลาสองชนิดนี้ในร้านอาหารญี่ปุ่น แต่แท้ที่จริงแล้ว แซลมอนและซาบะคุณภาพสูงส่วนใหญ่มาจากประเทศนอร์เวย์ ซึ่งในจุดนี้เป็นหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ที่ต้องสร้างการรับรู้ให้ขยายไปในวงกว้างมากขึ้น

คำถาม: เป้าหมายการเติบโตของอาหารทะเลนอร์เวย์ในประเทศไทยในปีนี้คือเท่าไร

คำตอบ: กว่า 6-7 ปีมาแล้วที่แนวโน้มการเติบโตของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในประเทศไทยอยู่ที่ 15-30% ซึ่งตัวเลขที่คือการคาดการณ์โดยทั่วไปของเรา สำหรับช่วงโควิด

คำถาม: ประเทศไทยถือว่าอยู่ในอันดับที่เท่าไรของการนำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์

คำตอบ: ประเทศไทยถือว่าอยู่ใน 20 อันดับแรกของโลก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อยู่ระหว่างอันดับที่ 15-20 มาตลอด เรามองว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เพราะผู้บริโภคมีความชื่นชอบในอาหารทะเล และตอบสนองกับเทรนด์อาหารอย่างรวดเร็ว


คำถาม: เพราะเหตุใดสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์จึงเลือกที่จะเริ่มโปรโมทจากแซลมอน ไปฟยอร์ดเทร้าต์ และนอร์วีเจียนซาบะ

คำตอบ: ลำดับนี้มาจากส่วนแบ่งการตลาดของปลาแต่ละชนิดในตลาดนั้น ๆ เพราะงบประมาณของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์มาจากยอดการส่งออกนั่นเอง 


คำถาม: จะมีแคมเปญต่างหากเฉพาะของนอร์วีเจียนซาบะในปีนี้หรือไม่

คำตอบ: สำหรับตอนนี้จะเป็นแคมเปญนี้ที่ทำคู่กับแซลมอนไปก่อนจนถึงเดือนกันยายน เนื่องจากปลาทั้งสองชนิดเป็นที่นิยมในร้านอาหารญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคที่สื่อสารให้เข้าใจง่าย 


เกี่ยวกับแซลมอนจากนอร์เวย์

คำถาม: ผลประกอบการของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในประเทศไทย ในช่วงครึ่งปีแรก

คำตอบ: ในปีนี้ สัดส่วนยอดขายของแซลมอนดีมาก มีมูลค่าเติบโต 46% โดยรวม และ 49% สำหรับแซลมอนสด ถึงแม้จะเจอกับสถานการณ์ล็อกดาวน์ สืบเนื่องมาจากผู้บริโภคประกอบอาหารทะเลเองที่บ้านมากขึ้น และต้องการจะรับประทานอาหารดี ๆ เพราะไม่สามารถออกจากบ้านได้บ่อยเหมือนเดิม


คำถาม: ปริมาณและมูลค่าของการนำเข้าแซลมอนในประเทศไทยในปี 2563 เทียบกับปี 2562

คำตอบ: ในปี 2563 ประเทศไทยนำเข้าแซลมอนทั้งหมด 14,000 ตัน ลดลง 9% เมื่อเทียบกับปี 2562 ในส่วนของมูลค่า ลดลง 16% เมื่อเทียบกับปี 2562 


คำถาม: คาดว่าปริมาณและมูลค่าของการนำเข้าแซลมอนในประเทศไทยในปี 2564 จะเป็นเท่าไร

คำตอบ: เชื่อว่าในปีนี้ ตัวเลขการเติบโตของแซลมอนจะเพิ่มขึ้น จนถึงเดือนกรกฎาคม ปริมาณนำเข้าแซลมอนโต 43% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์เช่นกัน โดยในปลายปี 2563 เราเริ่มเห็นตัวเลขการนำเข้าที่ใกล้เคียงช่วงเวลาปกติมากขึ้น ต้องรอดูกันต่อไปว่าในปลายปีนี้จะเป็นอย่างไร 


เกี่ยวกับการขนส่ง

คำถาม: มีการเปลี่ยนแปลงด้านการขนส่งสินค้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์มาประเทศไทยหรือไม่ ระยะเวลาการขนส่งนานขึ้นหรือไม่ ระบบคลังสินค้าและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิถูกกระทบมากแค่ไหน 

คำตอบ: แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าโดยเครื่องบินกระทบจากสถานการณ์โควิดและการล็อกดาวน์ ก่อนหน้านี้ เราขนส่งแซลมอนพร้อมกับสายการบินพาณิชย์ ในช่วงโควิด บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศได้พยายามจัดตารางเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ก็ยังไม่เท่ากับการใช้สายการบินพาณิชย์ ทำให้มีตัวเลือกในการขนส่งทางอากาศน้อยลง ในช่วงต้นของการล็อกดาวน์ มีการส่งแซลมอนจากเมืองอื่น ๆ ในยุโรปมายังเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เราสามารถกลับมาส่งแซลมอนตรงจากนอร์เวย์ไปยังปลายทางในเอเชียได้เหมือนเดิมแล้ว


เกี่ยวกับตัวเลขตลาดโลก

คำถาม: ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของอาหารทะเลจากนอร์เวย์คือประเทศอะไร

คำตอบ: ประเทศโปแลนด์ เป็นตลาดที่แปรรูปอาหารทะเลและส่งต่อไปยังประเทศในยุโรปประเทศอื่น ๆ ในส่วนของการบริโภค ตลาดที่ใหญ่จะเป็นเยอรมันนี ฝรั่งเศส และสเปน


คำถาม: มูลค่าและปริมาณการส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในตลาดโลกคือเท่าไร

คำตอบ: นอร์เวย์ส่งออกอาหารทะเลเป็นปริมาณ 2.6 ล้านตันต่อปี มูลค่าอยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท


คำถาม: ส่วนแบ่งการตลาดของแซลมอนในตลาดอาเซียน

คำตอบ: ส่วนแบ่งรวมของแซลมอนสดและแช่แข็งอยู่ที่ 55% แซลมอนสดอยู่ที่ 90% 


คำถาม: ในตลาดอาเซียน ถือว่านอร์เวย์อยู่ในอันดับที่เท่าไรของผู้ส่งออกอาหารทะเล

คำตอบ: ถ้าเป็นอาหารทะเลทั้งหมด ไม่สามารถประเมินได้ แต่สำหรับแซลมอน นอร์เวย์ถือเป็นผู้นำในตลาดอาเซียนทั้งหมด เพราะเป็นประเทศผู้ผลิตแอตแลนติกแซลมอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับเป็น 60% ของการผลิตทั้งหมดในโลก นอร์เวย์ยังมีระบบการขนส่งอาหารทะเลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามารถส่งออกแซลมอนไปยังตลาดโลกได้ตลอดปี และนอร์เวย์ยังยึดมั่นในการทำประมงที่ยั่งยืน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย

Remark: ไม่สามารถประมาณส่วนแบ่งการตลาดของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ทั้งหมดได้


เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล

คำถาม: ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนในช่วงล็อกดาวน์

คำตอบ: เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงล็อกดาวน์ อาหารทะเลจากนอร์เวย์ถือเป็นสินค้ายอดนิยมที่ขายดีที่สุด ผู้บริโภคมองหาวัตถุดิบในการประกอบอาหารและเมนูที่หลากหลายเพื่อรับประทานที่บ้านมากขึ้น อาหารประเภทซูชิและซาชิมิ ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง

คำถาม: เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล มีการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรบ้าง

คำตอบ: ในแง่ของความปลอดภัยของอาหาร เราเป็นผู้ค้าปลีกรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองจาก FSSC (Food Safety System Certification) ในปี 2563 ดังนั้นเราจึงมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารทั้งในส่วนการผลิตและการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าของเรา

คำถาม: สัดส่วนยอดขายอาหารสดกับอาหารพร้อมปรุงเป็นอย่างไร

คำตอบ: อาหารสดขายได้ในปริมาณที่มากขึ้น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือมูลค่าของอาหารพร้อมปรุง ที่มีสัดส่วนในตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันมองหาทางเลือกของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างลูกค้าในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบว่าลูกค้าในกรุงเทพฯ มีการบริโภคอาหารทะเลสด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าก่อนหน้านี้ในต่างจังหวัดอาจมีการทำโปรโมชัน หรือการสื่อสารที่ไม่มากเพียงพอ ดังนั้นการร่วมโปรโมชันในแคมเปญนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะโปรโมทให้ลูกค้า ได้รับรู้อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ

ธรรมชาติ ซีฟู้ด

คำถาม: อาหารทะเลและอาหารพร้อมรับประทานมีการเติบโตอย่างไรบ้าง

คำตอบ: ผู้บริโภคมองว่าอาหารทะเลจากนอร์เวย์และแซลมอนช่วยในเรื่องของการรักษาสุขภาพในช่วงโควิด ทำให้มีกำลังการซื้อที่เพิ่มมากขึ้นประมาณ 30% ช่วงวันจันทร์-ศุกร์ จะสั่งอาหารพร้อมรับประทานมากกว่า ส่วนช่วงสุดสัปดาห์จะสั่งวัตถุดิบและอาหารพร้อมรับประทาน

คำถาม: ธรรมชาติ ซีฟู้ด มีการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรบ้าง

คำตอบ: นอกจากการคัดสรรคู่ค้าที่ค่อนข้างเข้มงวดแล้ว การป้องกันที่ครัวกลางจะประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือบุคลากร และสถานที่ผลิต พนักงานของ ธรรมชาติ ซีฟู้ด ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนการเดลิเวอรี่ เราได้มีการควบคุม และทำความสะอาดสินค้า รวมถึงไรเดอร์ก่อนที่จะส่งสินค้าให้ผู้บริโภค

คำถาม: สัดส่วนยอดขายของร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต ก่อนและหลังโควิด

คำตอบ: สำหรับร้านอาหาร ในตอนนี้เราไม่สามารถให้บริการได้ จึงเป็นการสั่งกลับบ้านเท่านั้น ยอดขายจากร้านอาหารจึงหายไป แต่เรามี Grab and Go ให้ลูกค้าที่ซื้อที่สาขา ซึ่งเทรนด์ที่เรามองเห็นคือลูกค้าใช้เวลาในการช้อปน้อยลง บริการ Grab and Go จึงตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่เราได้มีการปรับเปลี่ยนคือการที่สินค้าของเราสามารถขายแบบ O2O ได้ นั่นหมายความว่า สินค้าที่ขายแบบ Grab and Go ที่หน้าร้าน อยู่บนช่องทางออนไลน์ เช่น ท็อปส์ ออนไลน์ หรือ แกร็บมาร์ท (GrabMart) เช่นกัน

###


เกี่ยวกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เป็นบริษัทมหาชนภายใต้กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการประมง สภาฯ ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์ เพื่อพัฒนาและขยายตลาดอาหารทะเลส่งออกจากนอร์เวย์ เป็นตัวแทนผู้ส่งออกอาหารทะเลและอุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศนอร์เวย์ เครื่องหมายการค้า “Seafood from Norway” เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของอาหารทะเลที่จับได้หรือเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดของประเทศนอร์เวย์