จีเอฟเค แนะภาคธุรกิจไทย ปรับตัวรับโลกาภิวัฒน์แบบไทย
จีเอฟเคเผยผลศึกษา พบผู้บริโภคไทยยังยึดหลักประเพณีนิยม แต่เปิดรับนวัตกรรมใหม่เต็มที่ แนะโมเดล Globalthaization เจาะตลาดไทย ร่วมกับแนวคิดการตลาดแบบแบ่งปันการใช้ชีวิต (Share of Life) พร้อมพัฒนา ช่องทางสื่อสารการตลาดแบบมัลติแพลตฟอร์ม
นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา จีเอฟเค ประเทศไทย (GfK Thailand) เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี 2593 ประชากรโลกจำนวน 75% จะอาศัย อยู่ในเขตเมืองและชนชั้นกลางมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลขององค์การเพื่อความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) พบว่าจำนวนชนชั้นกลางจะเพิ่มขึ้นจาก 1.8 พันล้านคนเป็น 4.9 พันล้านคนในปี 2573 ส่วนมากเป็นชนชั้นกลางในทวีปเอเชียถึง 66% ของจำนวนชนชั้น กลางทั่วโลก โดยจากผลการศึกษาล่าสุดของจีเอฟเคเกี่ยวกับผู้บริโภคในหลากหลายแง่มุม ในปัจจุบันพบว่ามีปัจจัย 3 ประการที่เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งภาคธุรกิจควรให้ความ สำคัญเพื่อโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ
ประการแรก คือ ค่านิยม จากการศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมของผู้บริโภคในเชิงลึกของจีเอฟเค พบว่าในระดับสากลผู้บริโภคถูกจำแนกโดยวัดจากค่านิยมออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ผู้ยึดหลักความสำเร็จ (Achievers) ผู้ที่ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) ผู้ยึดหลักอุปถัมภ์ (Nurturers) ผู้ที่ยึดหลักบรรทัดฐานทางสังคม (Social Rationals) ผู้ที่ยึดหลักความอยู่รอด (Survivors) ผู้ที่ยึดหลักการของตัวเอง (Self-Directeds) และผู้ที่ยึดหลักสุขนิยม (Hedonists)
ผลการศึกษาพบว่า ตลาดในเมืองทั่วโลกเทียบกับเอเชียแปซิฟิกมีความแตกต่างกันอย่าง เห็นได้ชัดกล่าวคือ ตลาดทั่วโลกมีผู้บริโภคที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่นิยมความสำเร็จ (Achievers) 31% และผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) 16% ในขณะที่เอเชียแปซิฟิกมีผู้ที่นิยม ความสำเร็จ (Achievers) 41% และผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) 22%
ผู้บริโภคในเอเชียส่วนใหญ่ เป็นผู้ยึดหลักความสำเร็จ (Achievers) ซึ่งจะให้ความสำคัญ อย่างมากต่อการประสบความสำเร็จและการแสดงถึงสถานะทางสังคมและอาจยึดเอา ผลประโยชน์ของตนเองไว้เหนือผู้อื่นในทางกลับกันผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) เชื่อว่าวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นวิธีที่ดีที่สุดภายใต้กรอบความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมและจารีตประเพณี มักปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานที่กำหนด
จากการศึกษาพบว่า ในเอเชียแปซิฟิก ประเทศอินเดียและจีน มีจำนวนของผู้ที่ยึดหลัก ความสำเร็จ (Achievers) มากที่สุด โดยคิดเป็น 67% และ 40% ตามลำดับ ในขณะที่ ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้เพิ่มเป็น 30% ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีสัดส่วนของผู้ที่ยึดหลัก ความสำเร็จ (Achievers) สูง โดยประเทศไทยสวนกระแสโลก ซึ่งมีจำนวนของผู้ยึดหลัก ประเพณีนิยม (Traditionalists) ในสัดส่วนสูงมากถึง 44% โดยทั่วไปผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) มักจะโน้มเอียงไปในทางปิดกั้นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนานวัตกรรมค่อนข้างต่ำ
ประการที่สอง คือ การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ จากผลการศึกษาพบว่า ชนชั้นกลาง ในเอเชียใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน และพนักงานประจำในไทยมีชั่วโมงการทำงาน สูงที่สุด เมื่อเทียบกับการศึกษาในเอเชียและประเทศอื่น รวมทั้งสิ้น 21 ประเทศ โดยทำงาน สัปดาห์ละประมาณ 51 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยชั่วโมง การทำงานของ พนักงานประจำ ทั่วโลก ที่ทำงานสัปดาห์ละ 36.3 ชั่วโมง อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีจำนวนชั่วโมง ทำงานสูงแต่ละสัปดาห์สูงถึง 50.6 ชั่วโมง แต่สำหรับจีน และอินโดนีเซียมีจำนวนชั่วโมง การทำงานเฉลี่ยต่ำกว่าคือ สัปดาห์ละ 45.3 ชั่วโมง และโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นยิ่งมีชั่วโมง ทำงานน้อยลงไปอีกคือสัปดาห์ละ 37.3 ชั่วโมง
เมื่อชนชั้นกลางในเมืองมีจำนวนมากขึ้นและมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับปัญหาที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง เช่น ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจ อาหาร ความบันเทิง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและ ความปลอดภัย และผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกและช่วยให้จิตใจมีความสุขและความ สงบ เมื่อมีเวลาน้อยลงและมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยสูงขึ้น ผู้บริโภคไทย 75% จึงให้ความสำคัญมากขึ้นในการซื้อสินค้าแบรนด์ที่คุ้นเคยและเชื่อถือ อย่างไรก็ตามแม้ว่า คนไทย จะมีแนวคิดเป็นผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) แต่มีข้อมูลที่สวนทางกัน โดยผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยติดหนึ่งใน 10 ของตลาดเทคโนโลยีที่มีการเติบโตสูง ที่สุดในปี 2558
นอกจากนั้น ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยประการที่ 3 ที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด จากการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 989 คนที่มีอายุระหว่าง 11-70 ปีทั่วประเทศไทย พบว่าผู้บริโภค 70% ใช้สมาร์ทโฟน 23% ใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดา 18% ใช้แท็บเล็ต 17% ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปส่วนตัว 13% ใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปส่วนตัว และ12% ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของที่ทำงาน โดยผู้ให้สัมภาษณ์ 77% เข้าถึงอินเทอร์ เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน 53% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้าน 33% เข้าถึงที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/ ที่ทำงาน และ 24% เข้าถึงจากฮอตสปอต WiFi
การเติบโตของเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ในประเทศเอเชียแปซิฟิก ได้รับการขับเคลื่อน โดยสมาร์ทโฟนราคาถูกซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิทัล เครื่องเล่นสื่อแบบพกพาและเครื่องมือนำทางรถยนต์ เป็นต้น ตั้งแต่ปี 2553 สมาร์ทโฟน เติบโตอย่างมหาศาล คิดเป็น 816% และมีมูลค่าตลาดรวม 3,156.74 ล้านเหรียญสหรัฐ (107,329.05 ล้านบาท) ตามด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เติบโต 20% มูลค่าตลาดรวม 694.58 ล้านเหรียญสหรัฐ (23,615.63 ล้านบาท) สอดคล้องกับข้อมูลการเติบโตของ แท็บเล็ตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างใหม่ในตลาดแต่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าตลาด รวม 378.22 ล้านเหรียญสหรัฐ (12,863.25 ล้านบาท) โดยเติบโตใกล้เคียงกับสมาร์ททีวี ที่วางตลาดมายาวนานก่อนหน้านี้ แต่มีมูลค่าการเติบโตเพียง 407.97 ล้านเหรียญสหรัฐ (13,870.92 ล้านบาท)
ด้วยการเติบโตของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและสื่อดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มชนชั้นกลางชาวไทย มีไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่งและให้ความสำคัญอย่างมากในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างๆ จากการวิจัยพบว่ากิจกรรมหลักของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันคือ การใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์ 58% การดูคลิปวิดีโอหรือรายการต่างๆ 43% การรับส่งอีเมล 38% การดูทีวี และการสนทนามีสัดส่วนเท่ากันคือ 22% การอ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ออนไลน์ 21%
ผลการสำรวจพบอีกว่า ปัจจุบันมีผู้บริโภคนิยมค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวทางออนไลน์สูงถึง 15% และ 11% ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ ส่วนกลุ่มที่มีการดูทีวีบนอินเทอร์เน็ตมากเป็น พิเศษ ในกลุ่มผู้ชมอายุน้อยซึ่งมีอายุระหว่าง 11-19 ปี คิดเป็น 28%
ในกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ต มีผู้บริโภคจำนวน 25%, 30% และ 37% ตามลำดับ มักจะรับชมทีวีบนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยผู้บริโภคจำนวน 61% ให้ข้อมูลว่าสื่อ โทรทัศน์เป็นสื่อที่ น่าสนใจ น่าจดจำและน่าเชื่อถือที่สุด และผู้บริโภคประมาณครึ่งหนึ่งของ จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด เชื่อว่าสื่อโทรทัศน์จะยังคงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงที่สุดใน อนาคต
นางดารณีกล่าวว่า การทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคไทย ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ภาคธุรกิจจะต้องกำหนดกลยุทธ์ให้ครอบคลุมประเด็น ต่างๆ ได้แก่ 1) โลกาภิวัฒน์แบบไทย "Globalthaization" ซึ่งพัฒนามาจากการนำจุดแข็ง ของโลกาภิวัฒน์มาใช้ร่วมกับการเคารพในความเชื่อที่ฝังรากลึก ทั้งวัฒนธรรมและจารีต ประเพณีต่างๆ ของคนไทย 2) นำแนวคิดการตลาดที่ให้ความสำคัญกับ "การแบ่งปันการ ใช้ชีวิต" (Share of life) เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้นจะมีบทบาทสำคัญ มากกว่า แนวคิดการตลาดซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ "การแบ่งปันเงินในกระเป๋า" ผู้บริโภค (Share of Wallet) แต่เพียงอย่างเดียว 3) ใช้กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารหลากหลายช่องทาง แบบครบวงจร (Multi Plat-form) โดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือ Smart Phone ที่กลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน
"จีเอฟเค คาดการณ์ว่าธุรกิจจะพัฒนาไปในทิศทางที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายและ สังคมรอบด้านในหลากหลายช่องทางมากขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับอุปกรณ์ เชื่อมต่อเครือข่ายไลฟสไตล์ที่ไม่หยุดนิ่งและการหลอมรวมหรือการผสมผสานของเทคโนโลยี (Convergence Technology) ที่เชื่อมโยงกันได้อย่างไรขีดจำกัด เช่น อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ที่สวมติดตัว แว่นตาอัจฉริยะ ที่ถ่ายภาพได้ นาฬิกาสมาร์ทวอทช์ เครื่องนุ่งห่มที่มีเซ็นเซอร์ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องตรวจวัดสุขภาพสำหรับสวมติดตัว อุปกรณ์ฟิตเนส และ เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยอัจฉริยะ เป็นต้นจะมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้น" นางดารณี กล่าว
นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา จีเอฟเค ประเทศไทย (GfK Thailand) เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี 2593 ประชากรโลกจำนวน 75% จะอาศัย อยู่ในเขตเมืองและชนชั้นกลางมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลขององค์การเพื่อความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) พบว่าจำนวนชนชั้นกลางจะเพิ่มขึ้นจาก 1.8 พันล้านคนเป็น 4.9 พันล้านคนในปี 2573 ส่วนมากเป็นชนชั้นกลางในทวีปเอเชียถึง 66% ของจำนวนชนชั้น กลางทั่วโลก โดยจากผลการศึกษาล่าสุดของจีเอฟเคเกี่ยวกับผู้บริโภคในหลากหลายแง่มุม ในปัจจุบันพบว่ามีปัจจัย 3 ประการที่เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งภาคธุรกิจควรให้ความ สำคัญเพื่อโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ
ประการแรก คือ ค่านิยม จากการศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมของผู้บริโภคในเชิงลึกของจีเอฟเค พบว่าในระดับสากลผู้บริโภคถูกจำแนกโดยวัดจากค่านิยมออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ผู้ยึดหลักความสำเร็จ (Achievers) ผู้ที่ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) ผู้ยึดหลักอุปถัมภ์ (Nurturers) ผู้ที่ยึดหลักบรรทัดฐานทางสังคม (Social Rationals) ผู้ที่ยึดหลักความอยู่รอด (Survivors) ผู้ที่ยึดหลักการของตัวเอง (Self-Directeds) และผู้ที่ยึดหลักสุขนิยม (Hedonists)
ผลการศึกษาพบว่า ตลาดในเมืองทั่วโลกเทียบกับเอเชียแปซิฟิกมีความแตกต่างกันอย่าง เห็นได้ชัดกล่าวคือ ตลาดทั่วโลกมีผู้บริโภคที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่นิยมความสำเร็จ (Achievers) 31% และผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) 16% ในขณะที่เอเชียแปซิฟิกมีผู้ที่นิยม ความสำเร็จ (Achievers) 41% และผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) 22%
ผู้บริโภคในเอเชียส่วนใหญ่ เป็นผู้ยึดหลักความสำเร็จ (Achievers) ซึ่งจะให้ความสำคัญ อย่างมากต่อการประสบความสำเร็จและการแสดงถึงสถานะทางสังคมและอาจยึดเอา ผลประโยชน์ของตนเองไว้เหนือผู้อื่นในทางกลับกันผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) เชื่อว่าวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นวิธีที่ดีที่สุดภายใต้กรอบความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมและจารีตประเพณี มักปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานที่กำหนด
จากการศึกษาพบว่า ในเอเชียแปซิฟิก ประเทศอินเดียและจีน มีจำนวนของผู้ที่ยึดหลัก ความสำเร็จ (Achievers) มากที่สุด โดยคิดเป็น 67% และ 40% ตามลำดับ ในขณะที่ ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้เพิ่มเป็น 30% ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีสัดส่วนของผู้ที่ยึดหลัก ความสำเร็จ (Achievers) สูง โดยประเทศไทยสวนกระแสโลก ซึ่งมีจำนวนของผู้ยึดหลัก ประเพณีนิยม (Traditionalists) ในสัดส่วนสูงมากถึง 44% โดยทั่วไปผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) มักจะโน้มเอียงไปในทางปิดกั้นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนานวัตกรรมค่อนข้างต่ำ
ประการที่สอง คือ การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ จากผลการศึกษาพบว่า ชนชั้นกลาง ในเอเชียใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน และพนักงานประจำในไทยมีชั่วโมงการทำงาน สูงที่สุด เมื่อเทียบกับการศึกษาในเอเชียและประเทศอื่น รวมทั้งสิ้น 21 ประเทศ โดยทำงาน สัปดาห์ละประมาณ 51 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยชั่วโมง การทำงานของ พนักงานประจำ ทั่วโลก ที่ทำงานสัปดาห์ละ 36.3 ชั่วโมง อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีจำนวนชั่วโมง ทำงานสูงแต่ละสัปดาห์สูงถึง 50.6 ชั่วโมง แต่สำหรับจีน และอินโดนีเซียมีจำนวนชั่วโมง การทำงานเฉลี่ยต่ำกว่าคือ สัปดาห์ละ 45.3 ชั่วโมง และโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นยิ่งมีชั่วโมง ทำงานน้อยลงไปอีกคือสัปดาห์ละ 37.3 ชั่วโมง
เมื่อชนชั้นกลางในเมืองมีจำนวนมากขึ้นและมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับปัญหาที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง เช่น ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจ อาหาร ความบันเทิง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและ ความปลอดภัย และผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกและช่วยให้จิตใจมีความสุขและความ สงบ เมื่อมีเวลาน้อยลงและมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยสูงขึ้น ผู้บริโภคไทย 75% จึงให้ความสำคัญมากขึ้นในการซื้อสินค้าแบรนด์ที่คุ้นเคยและเชื่อถือ อย่างไรก็ตามแม้ว่า คนไทย จะมีแนวคิดเป็นผู้ยึดหลักประเพณีนิยม (Traditionalists) แต่มีข้อมูลที่สวนทางกัน โดยผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยติดหนึ่งใน 10 ของตลาดเทคโนโลยีที่มีการเติบโตสูง ที่สุดในปี 2558
นอกจากนั้น ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยประการที่ 3 ที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด จากการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 989 คนที่มีอายุระหว่าง 11-70 ปีทั่วประเทศไทย พบว่าผู้บริโภค 70% ใช้สมาร์ทโฟน 23% ใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดา 18% ใช้แท็บเล็ต 17% ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปส่วนตัว 13% ใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปส่วนตัว และ12% ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของที่ทำงาน โดยผู้ให้สัมภาษณ์ 77% เข้าถึงอินเทอร์ เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน 53% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้าน 33% เข้าถึงที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/ ที่ทำงาน และ 24% เข้าถึงจากฮอตสปอต WiFi
การเติบโตของเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ในประเทศเอเชียแปซิฟิก ได้รับการขับเคลื่อน โดยสมาร์ทโฟนราคาถูกซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิทัล เครื่องเล่นสื่อแบบพกพาและเครื่องมือนำทางรถยนต์ เป็นต้น ตั้งแต่ปี 2553 สมาร์ทโฟน เติบโตอย่างมหาศาล คิดเป็น 816% และมีมูลค่าตลาดรวม 3,156.74 ล้านเหรียญสหรัฐ (107,329.05 ล้านบาท) ตามด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เติบโต 20% มูลค่าตลาดรวม 694.58 ล้านเหรียญสหรัฐ (23,615.63 ล้านบาท) สอดคล้องกับข้อมูลการเติบโตของ แท็บเล็ตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างใหม่ในตลาดแต่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าตลาด รวม 378.22 ล้านเหรียญสหรัฐ (12,863.25 ล้านบาท) โดยเติบโตใกล้เคียงกับสมาร์ททีวี ที่วางตลาดมายาวนานก่อนหน้านี้ แต่มีมูลค่าการเติบโตเพียง 407.97 ล้านเหรียญสหรัฐ (13,870.92 ล้านบาท)
ด้วยการเติบโตของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและสื่อดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มชนชั้นกลางชาวไทย มีไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่งและให้ความสำคัญอย่างมากในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างๆ จากการวิจัยพบว่ากิจกรรมหลักของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันคือ การใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์ 58% การดูคลิปวิดีโอหรือรายการต่างๆ 43% การรับส่งอีเมล 38% การดูทีวี และการสนทนามีสัดส่วนเท่ากันคือ 22% การอ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ออนไลน์ 21%
ผลการสำรวจพบอีกว่า ปัจจุบันมีผู้บริโภคนิยมค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวทางออนไลน์สูงถึง 15% และ 11% ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ ส่วนกลุ่มที่มีการดูทีวีบนอินเทอร์เน็ตมากเป็น พิเศษ ในกลุ่มผู้ชมอายุน้อยซึ่งมีอายุระหว่าง 11-19 ปี คิดเป็น 28%
ในกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ต มีผู้บริโภคจำนวน 25%, 30% และ 37% ตามลำดับ มักจะรับชมทีวีบนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยผู้บริโภคจำนวน 61% ให้ข้อมูลว่าสื่อ โทรทัศน์เป็นสื่อที่ น่าสนใจ น่าจดจำและน่าเชื่อถือที่สุด และผู้บริโภคประมาณครึ่งหนึ่งของ จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด เชื่อว่าสื่อโทรทัศน์จะยังคงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงที่สุดใน อนาคต
นางดารณีกล่าวว่า การทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคไทย ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ภาคธุรกิจจะต้องกำหนดกลยุทธ์ให้ครอบคลุมประเด็น ต่างๆ ได้แก่ 1) โลกาภิวัฒน์แบบไทย "Globalthaization" ซึ่งพัฒนามาจากการนำจุดแข็ง ของโลกาภิวัฒน์มาใช้ร่วมกับการเคารพในความเชื่อที่ฝังรากลึก ทั้งวัฒนธรรมและจารีต ประเพณีต่างๆ ของคนไทย 2) นำแนวคิดการตลาดที่ให้ความสำคัญกับ "การแบ่งปันการ ใช้ชีวิต" (Share of life) เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้นจะมีบทบาทสำคัญ มากกว่า แนวคิดการตลาดซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ "การแบ่งปันเงินในกระเป๋า" ผู้บริโภค (Share of Wallet) แต่เพียงอย่างเดียว 3) ใช้กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารหลากหลายช่องทาง แบบครบวงจร (Multi Plat-form) โดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือ Smart Phone ที่กลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน
"จีเอฟเค คาดการณ์ว่าธุรกิจจะพัฒนาไปในทิศทางที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายและ สังคมรอบด้านในหลากหลายช่องทางมากขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับอุปกรณ์ เชื่อมต่อเครือข่ายไลฟสไตล์ที่ไม่หยุดนิ่งและการหลอมรวมหรือการผสมผสานของเทคโนโลยี (Convergence Technology) ที่เชื่อมโยงกันได้อย่างไรขีดจำกัด เช่น อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ที่สวมติดตัว แว่นตาอัจฉริยะ ที่ถ่ายภาพได้ นาฬิกาสมาร์ทวอทช์ เครื่องนุ่งห่มที่มีเซ็นเซอร์ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องตรวจวัดสุขภาพสำหรับสวมติดตัว อุปกรณ์ฟิตเนส และ เทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยอัจฉริยะ เป็นต้นจะมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้น" นางดารณี กล่าว