SVThailand จับมือ ทปอ.- สกสว.- อว. & พันธมิตร ขับเคลื่อนมาตรฐาน SDG Impact ร่วมสร้างพันธมิตร ด้วยพลังภาคการศึกษา
SVThailand ผนึกกำลัง ทปอ.-สกสว.-อว. & พันธมิตร
ดันมาตรฐาน SDG Impact ร่วมสร้างพันธมิตร ด้วยพลังภาคการศึกษา
ครั้งแรก! การผนึกกำลังระหว่าง ทปอ.-สกสว.- อว. & พันธมิตรธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคีเครือข่ายพันธมิตร ด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ในประเทศ และระดับโลก ในงาน “Social Value Thailand Forum 2024” วันที่ 25-26 เมษายนนี้ ห้อง Nile 1-4 ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สะท้อนถึง “ความตื่นตัวและความก้าวหน้าของพลังภาคการศึกษา ที่ผลักดันกลยุทธ์การกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนการสร้างผลงานด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้เกิดผลกระทบสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการวางแผนและการจัดสรรงบประมาณมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตลอดจนพัฒนาระบบ/กลไกการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI/SROI) ระดับแผนงาน พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดสรรงบประมาณ และพัฒนากลไกการคาดการณ์และติดตามความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Strategic Foresight) เช่น การจัดสรรงบประมาณสำหรับ Fundamental Fund, Strategic Fund เป็นต้น
ภาคการศึกษา นับเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทั้งในเชิงภารกิจ ขนาด และการกระจายตัว กว่า 390 แห่ง ของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศ บุคคลากรกว่า 2 แสนคน ในสายอาจารย์นักวิจัยกว่า 34% งบประมาณการศึกษาภายใต้ กระทรวง อว. ราว 1.2 แสนล้านบาทในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับจัดสรรงบประมาณ 14,176 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ
ด้วยขุมพลังทั้งองค์ความรู้ ทรัพยากรและบุคคลากร ส่งเสริมด้วยนโยบายที่เข้มแข็งและระบบโครงการการดำเนินงาน จึงผลักดันให้เครือข่ายมหาวิทยาลัย ยกระดับสู่การตอบโจทย์ทิศทางประเทศอย่างเร่งด่วน ปัจจุบัน จึงเกิดความต้องการอย่างสูงในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของหน่วยงาน สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยในการสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางสังคม ความคุ้มค่าและธรรมาภิบาลที่ดีของการจัดสรรกรอบงบประมาณ
ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธาน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงความร่วมมือกับสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ในการสะท้อนปณิธานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สอดรับกับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) และวิสัยทัศน์ "มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม” มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย SDG สะท้อนสนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน โดยมุ่งผลักดันเป้าหมายผลงานที่มีประโยชน์เพื่อสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-Economic Impact) มากกว่า 60,000 ล้านบาท และรุกหน้าผลักดันโปรแกรม Social Value Accelerator : SVA ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อนำ SROI สู่การปฏิบัติ พัฒนา Internal Impact Assessor กำหนดสู่กลยุทธ์การบริหารจัดการแผนงานและงบประมาณอย่างบูรณาการต่อเนื่อง ในการจัดงานครั้งนี้ ในฐานะของประธาน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เล็งเห็นว่าการแบ่งประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้งในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น จะส่งเสริมการทดลองประยุกต์ในช่วงริเริ่ม เสริมคันเร่งให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดประโยชน์และ Impact ต่อสังคมในวงกว้าง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องเป็นไปในทิศทางมาตรฐานเดียวกันเพื่อความน่าเชื่อถือ เพิ่มประสิทธิผล ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสะท้อนผลตอบแทนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ดร.อำพล อาภาธนากร ประธานกรรมการ สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย กล่าวถึง การจัดงาน Social Value Forum ในปีนี้ ซึ่งนับเป็นปีที่ 7 หลังจากเกิดการจัดตั้งเครือข่าย SVThailand ขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 ในปีนี้ได้ผนึกพลังจาก 3 ทปอ. SUN Network, Engagement Thailand, UN Global Compact Network Thailand, สกสว และ อว. ร่วมยกประเด็นสำคัญ “เร่งเป้า SDG Impact ร่วมสร้างภาคีพันธมิตร ด้วยพลังภาคการศึกษา” (Accelerating Education towards partnership for the SDG)
หัวใจของงาน มุ่งเป้า 3 ประการ ได้แก่ 1. หนุนพลังภาคการศึกษา Impact University พระเอกของงานที่จะเป็นเสมือน กลไกเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดการ ความตระหนัก เรียนรู้ ทดลองประยุกต์ใช้เครื่องมือ กลไกการสร้าง Impact ในมหาวิทยาลัย และขยายผลสู่การเป็นฟันเฟืองเสริมหนุนภาคส่วนต่างๆ ร่วมกัน 2. ผนึกความร่วมมือ Joint Impact Partnership and Accountability จะเกิดขึ้นด้วยการกำหนดเป้าหมายร่วม ตัวชี้วัดร่วม และหน่วยงานร่วม ทั้งนโยบาย เอกชน ภาคสังคม คนรุ่นใหม่ ในการผลักดันเป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน 3. ผลักดันข้อตกลงร่วมและความร่วมมือระดับสากล UN SDG Impact Standard ที่ครอบคลุมตั้งแต่ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่มี Impact - ระบบบริหารจัดการ SIA/SROI /Impact Management - เปิดเผยรายงาน Impact Transparency/ ESG Report - และที่สำคัญคือการวางโครงสร้างธรรมาภิบาลทั่วทั้งองค์กร
สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ เลขาธิการสมาคมประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ย้ำถึงเจตนารมณ์ของการผนึกพลังครั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน สมดุล ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต ผนวกกับวาระการผลักดัน Forward Faster Initiative สู่การบรรลุเป้าหมาย SDG ในปี 2030 โดยชี้ว่า ประเทศไทยนับเป็นกลุ่มที่ความก้าวหน้าอย่างมาก ในการยกระดับเครือข่ายผู้ประเมินมูลค่าทางสังคม ตั้งแต่ในระดับนักวิเคราะห์ (Impact Analyst) ผู้เชี่ยวชาญการประเมิน (Impact Assessor) ผู้ตรวจสอบ (Impact Auditor) เพื่อเป็นตัวเร่ง “CATALYST” ในระบบ Ecosystem ของการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเห็นเป้าชัด มีตัวชี้วัดผลสำเร็จ และเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ จัดสรร สนับสนุน ทรัพยากร สู่กิจกรรม/โครงการ/องค์กรที่จะสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว ด้วยงบประมาณ เวลา ที่จำกัด มิเช่นนั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจสวนทางกับเจตนารมณ์ที่ดี อาจสิ้นเปลืองงบประมาณ หรืออาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อคนบางกลุ่มอย่างไม่ได้คาดหวังก็เป็นได้”
โดยภายในงานจะได้พบกับ ฉากทัศน์ ช่วงเวลาสำคัญของโลก และของประเทศ ทิศทางคันเร่ง ที่เราจะร่วมเปลี่ยนแปลงอนาคต จาก Thought Leader ในสังคมไทย กลยุทธ์การบริหารภาคการศึกษาสู่การบูรณาการสะท้อน High Impact University พบกับ มหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่ตั้งเป้า SDG Impact สู่การยกเครื่องแผนยุทธศาสตร์ มุ่งเป้าพัฒนาท้องถิ่น สะท้อนความคุ้มค่า สร้างมูลค่าเพิ่มสู่สังคม การแถลงเจตนารมณ์ Impact University - Impact Partnership เพื่อผลักดันเป้าตัวชี้วัด SDG IMPACT ร่วมกันที่สำคัญในการเปิดตัวเครือข่าย SVA: Social Value Accelerator ศูนย์บ่มเพาะ Impact ระดับภูมิภาค ติดคันเร่งรุก ขยายเครือข่าย IMPACT UNIVERSITY ทั่วประเทศ
นับเป็นการรวมตัวนักวิชาชีพด้านการวิเคราะห์ประเมิน IMPACT Expert Pool ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากวงการศึกษา เอกชน ภาครัฐ และภาคสังคมกว่า 40 ท่าน ปาฐกถาและเวทีเสวนา 15 เวที Workshop/วงสนทนากลุ่มกว่า 15 Sessions นอกจากนั้น ภายในงาน มีกิจกรรมเวิร์คชอป Impact Analyst & Assessor Program รวมถึงหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจอย่าง ESG & Impact Reporting, Carbon neutral & Climate justice, Well-being & Inequality และ New Economy & Sustainable S-Curve การรวมพลังครั้งนี้ ที่ทุกภาคส่วนไม่ควรพลาด ในวันที่ 25-26 เมษายนนี้ ที่ไบเทค บางนา ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน www.socialvaluethailand.org