สสส. โชว์พื้นที่สุขภาวะ “ทุกคนต้องเข้าถึงง่าย” ขอให้คนไทยลุกขึ้นมาขยับร่างกายเพื่อหลุดพ้นจากกลุ่มโรค NCDs
สสส. ชูพื้นที่สุขภาวะ “ทุกคนต้องเข้าถึงง่าย” ชวนคนไทยลุกขึ้นมาขยับร่างกายเพื่อหลุดพ้นจากกลุ่มโรค NCDs
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ (สสส.) จับมือภาคีด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวทีเสวนาการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “PA Forum : EP.1 - Active Environment for All ขับเคลื่อนแนวคิดพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนมีส่วนร่วม
นายแพทย์ สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สังคมก้มหน้า ทำให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง แผ่กระจายไปทั่ว ทั้งในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงวัย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ข้อมูลจากสหประชาชาติ ระบุว่า กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทย สูงถึงร้อยละ 74 สสส. การสร้างความเท่าเทียมให้คนทุกกลุ่มมีกิจกรรมทางกายจึงสำคัญ
“ที่ผ่านมาคนหาเช้ากินค่ำ อาจจะไม่เคยได้รับรู้ถึงเรื่องพื้นที่สุขภาวะ และการดูแลสุขภาพด้วยการขยับร่างกาย จำเป็นต้องเชื่อมโยงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการ และใช้พลังของทุกภาคส่วนเพื่อเร่งให้เกิดการขยายพื้นที่สุขภาวะให้เร็วขึ้น ”
ขณะที่ ดร.นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า
การที่จะขยับร่างกายอย่างมีความสุขได้ ไม่ใช่แค่มีความรู้ แต่ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อด้วย ซึ่งจะต่อเนื่องมาถึงเรื่องของเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมที่ผลต่อสุขภาพ สสส.จึงทำหน้าที่ประสาน ประสานเครือข่ายเพื่อพัฒนากระบวนการความร่วมมือ พัฒนาองค์ความรู้และการจัดการพื้นที่ พร้อมทั้งผลักดันนโยบายในระดับประเทศ
และยังได้ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย พัฒนาและผลักดันให้เกิดพื้นที่สุขภาวะในระยะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะวดก เช่น สวนขนาดเล็ก (Pocket Park) สามารถเข้าถึงได้ในระยะ 400-800 เมตร ใช้เวลาในการเดินทางเข้าถึงไม่เกิน 15 นาที เพื่อจูงใจและกระตุ้นให้คนไทยลุกขึ้นมาขยับร่างกายให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้คนไทยหลุดพ้นจากการเป็นโรคในกลุ่มโรค NCDs และลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้งยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตของประชากรเมือง ส่งเสริมระบบนิเวศน์เมือง ส่งเสริมการเรียนรู้ และความสัมพันธ์ทางสังคม และส่งเสริมเศรษฐกิจในย่านนั้นไปพร้อมกัน”
โดยในขณะนี้ นอกจากจะทำงานร่วมกับพื้นที่ของกมท. นำร่องสวน 15 นาที จำนวนกว่า 50 ส่วน เพื่อ ให้ทุกคนเข้าถึงง่าย เราก็มีโมเดล พื้นที่สุขภาวะ ที่เกิดขึ้นทั้งใน ระดับจังหวัด ระดับย่าน ระดับถนน ซึ่งจะเป็นตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจจะพัฒนาได้มาเรียนรู้ หรือนำไปเป็นเครื่องมือแ ไปพัฒนาให้เหมาะสม สอดคล้องกับถิ่นของตนเองต่อไป