Aruba คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีระบบเครือข่ายในปี 2022
Aruba ทำนายแนวโน้มเทคโนโลยีระบบเครือข่ายในปี
2022
โดย สตีฟ วูด (Steve Wood) รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นแห่ง
Aruba บริษัทในเครือฮิวเล็ตแพ็กการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์
ในปี 2022 นี้แม้จะยังคงมีปัญหาการระบาดของโคโรน่าไวรัสอยู่
แต่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีระบบเครือข่ายยังคงพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ
ของผู้ใช้ทั้งในเชิงธุรกิจและการใช้ชีวิต Aruba ได้เล็งเห็นแนวโน้นสำคัญ
4 ประการในปีนี้ได้แก่
แนวโน้ม #1: Secure Access Service Edge (SASE) จะเป็นหัวใจสำคัญในการผสานรวมระบบเครือข่ายสองรูปแบบเข้าด้วยกัน
องค์กรหกในสิบแห่งโดยประมาณนั้นกำลังเตรียมดำเนินกลยุทธ์ที่ชัดเจนทางด้าน
SASE ภายในปี
2025 โดยมีหลายองค์กรที่มีแผนจะวางรากฐานของระบบและก้าวสู่การเริ่มต้นใช้งานในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่กำลังจะมาถึงนี้
ซึ่งภายในตลาดจะมีการแบ่งแนวทางในการวางระบบออกเป็น 2 แบบอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ปี
2022 เป็นต้นไป
โดยองค์กรขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญทางด้านความมั่นคงปลอดภัย, ความน่าเชื่อถือ
และคุณภาพของประสบการณ์การใช้งานมากขึ้น
ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะมุ่งเน้นไปทางการใช้ระบบ All-in-One
SASE ที่มุ่งเน้นความง่ายและ “การให้บริการโดยผู้ให้บริการรายเดียว”
มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับความสามารถชั้นสูง สิ่งที่จำเป็นสำหรับการตอบโจทย์ทั้งสองแนวทางนี้ก็คือการมีพันธมิตรทางด้าน
SD-WAN ที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายภายในองค์กรและการเชื่อมต่อ
WAN ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับโซลูชันและบริการจากพันธมิตรรายอื่นทางด้านระบบ
Secure Web Gateway (SWG), Cloud Access Security Broker (CASB) และ Zero-Trust Network Access (ZTNA)
แนวโน้ม #2: การเปลี่ยนแปลงสู่การใช้
Wi-Fi 6E จะเริ่มต้นและแพร่หลายในปี 2022
ระบบโครงข่าย 5G นั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปี
2021 ที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งใช้งานภายในพื้นที่ขนาดใหญ่หรือภายในองค์กรก็ตาม
ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นรากฐานสำคัญสู่การเริ่มต้นใช้งาน Wi-Fi 6E ในอนาคต โดยจากผลสำรวจพบว่าพนักงานทั่วภูมิภาค APAC ต้องการทำงานแบบ Hybrid
Work กันมากขึ้น องค์กรจึงต้องตอบรับต่อความต้องการนี้เพื่อให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่ดี
และ สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อการสร้างพื้นที่การทำงานร่วมกันในอุดมคติ Wi-Fi 6E นั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยการรองรับคลื่นความถี่เพิ่มเติมถึง
1200MHz อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมได้
จากแนวโน้มความต้องการในการทำงานแบบ Hybrid Work ดังกล่าวนี้ได้สะท้อนออกมาในรายงานของ
650 Group ผู้นำด้านการสำรวจตลาดที่คาดว่าจะมีการใช้งาน Wi-Fi
6E Access Point ในองค์กรเพิ่มขึ้นสูงกว่า 200% ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการที่องค์กรธุรกิจนั้นเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 6E
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานที่ต้องการเสถียรภาพและต่อเนื่อง
เช่น ระบบประชุมผ่านวิดีโอ, ระบบรักษาผู้ป่วยทางไกล
และระบบสำหรับการเรียนการสอนทางไกล
แนวโน้ม #3: การเติบโตของ “Microbranch”
ที่ใช้เทคโนโลยี AI Automation ซึ่งถูกขับเคลื่อนจากการทำงานแบบ
Hybrid Work
เมื่อสถานการวิกฤตโรคระบาดเริ่มคลี่คลายลงแล้ว
ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียต่างก็เร่งมองหาวิธีการทำงานแบบใหม่ให้เกิดผลกำไรและมีค่าตอบแทนมากยิ่งขึ้นจากพนักงานกลุ่มที่
“ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากทุกที่” ซึ่งสภาวะ New Normal นี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิด Microbranch
หรือ “Branch of One” ขึ้น
ที่ผ่านมาเราได้เห็นถึงการที่องค์กรจำนวนมากได้ขยายระบบ VPN หรือติดตั้งใช้งาน
Remote Access Point (RAP) เพื่อเชื่อมต่อพนักงานที่ต้องทำงานกับที่บ้านเข้ากับที่ทำงานในช่วงแรกของวิกฤต
แต่ในปี 2022 นี้ เราจะได้เห็นการเติบโตของการสร้าง Microbranch
ที่ตอบโจทย์เฉพาะทางจากการนำ Wi-Fi Access Point สำหรับองค์กรมาผสมผสานเข้ากับการเชื่อมต่อ WAN หลายเส้นทาง
และระบบ AIOps สำหรับการเสริมเสถียรภาพและประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่เหมือนกันในทุกที่
ระบบ Microbranch เหล่านี้จะช่วยเชื่อมผสานทั้งองค์กรที่อยู่กระจัดกระจายกันให้กลายเป็น
“Branch of One” ที่ปลอดภัย
แนวโน้ม #4: การใช้งานระบบเครือข่ายแบบคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงอย่างเช่น
Network-as-a-Service (NaaS) จะเติบโตยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฒนธรรมกำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาของพวกเราทุกคน จากการที่ผู้คนให้คุณค่ากับ “ประสบการณ์” มากกว่า “สิ่งของ” และความต้องการใน “การเป็นเจ้าของ” ที่กำลังลดลง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมเราทุกวันนี้ และจะสะท้อนไปยังกลุ่มธุรกิจองค์กรภายในเวลาอีกเพียงไม่กี่ปีที่กำลังจะมาถึง โดยองค์กรจะให้ความสำคัญในการลงทุนอุปกรณ์และการซื้อขาด (CAPEX) น้อยลง และมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีแทน ในขณะเดียวกัน องค์กรก็จะต้องการความยืดหยุ่นทางด้านการเงินและค่าใช้จ่ายที่ทำนายได้มากขึ้น รวมถึงต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของฝ่าย IT ให้สูงขึ้นและสามารถก้าวทันนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่คดิค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงจะทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจริงได้ และเหมาะสมกับองค์กรที่ยังไม่พร้อมที่จะลงทุนอย่างเต็มตัวด้วยทางเลือกใหม่ที่ทำให้สามารถ “ทดสอบก่อนใช้งานจริง” ได้ดีขึ้น รวมถึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนมาสู่การคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงได้เมื่อพร้อม ปัจจัยนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความต้องการในการใช้บริการที่คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงอย่างเช่น NaaS ในปี 2022
“สำหรับประเทศไทย
เรามีโซลูชันครบตามแนวโน้มทั้ง 4 ประการนี้
พร้อมทั้งมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ให้บริการหลังการขาย
และพันธมิตรทางธุรกิจในการสนับสนุนช่วยเหลือลูกค้าของเราทั้งในทุกภาคธุรกิจเอกชนและราชการให้สามารถก้าวหน้าไปกับแนวโน้มเหล่านี้
เพื่อให้เศรษฐกิจประเทศไทยก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวและมีประสิทธิภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน”
กล่าวเสริมโดย คุณประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของ Aruba บริษัทในเครือฮิวเล็ตแพ็กการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์