ADS


Breaking News

เฮ! อว.เผยไทยฉีดวัคซีนโควิดครบ 100 ล้านโดส แล้ว!

อว. เผยสถิติสำคัญ ในวันที่ไทยฉีดวัคซีนโควิดครบ 100 ล้านโดส
🎊💉100 ล้านโดส สถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในไทย🎊💉

➡️(21 ธันวาคม 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ใช้เวลา 296 วัน ครบ 100 ล้านโดส โดยมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้
1. ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 ในถึง 100 ล้านโดสแล้ว โดยใช้ระยะเวลา 296 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 64 โดยมีสถิติดังนี้
- 76.5% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม
- 67.2% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม
- 7.7% ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3
2. ใช้วัคซีนโควิด-19 แล้ว 5 ชนิด ประกอบด้วย
- AstraZeneca ทั้งหมด 43,643,174 โดส หรือ 43.57%
- Sinovac ทั้งหมด 26,348,888 โดส หรือ 26.30%
- Sinopharm ทั้งหมด 14,443,302 โดส หรือ 14.42%
- Pfizer ทั้งหมด  14,147,662 โดส หรือ 14.12%
- Moderna ทั้งหมด 1,588,815 โดส หรือ 1.59%
3. ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ในไทยแล้ว 6 ชนิด โดยที่ WHO รับรอง 7 ชนิด ประกอบด้วย
- AstraZeneca สำหรับคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียน 20 ม.ค. 64
- Sinovac สำหรับคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียน 22 ก.พ. 64
- Johnson & Johnson สำหรับคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียน 25 มี.ค. 64
- Moderna สำหรับคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียน 13 พ.ค. 64
- Sinopharm สำหรับคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียน 28 พ.ค. 64
- Pfizer สำหรับคนที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียน 24 มิ.ย. 64
4. เหตุการณ์ที่สำคัญของการฉีดวัคซีน
- 28 ก.พ. เริ่มฉีดวัคซีน Sinovac
- 16 มี.ค. เริ่มฉีดวัคซีน AstraZeneca
-7 มิ.ย. วาระแห่งชาติ
- 25 มิ.ย. เริ่มฉีดวัคซีน Sinopharm
- 24 ก.ย. สถิติฉีดวัคซีนสูงที่สุด 1,329,799 โดสต่อวัน
- 1 พ.ย. เปิดประเทศ
- 17 พ.ย. เริ่มฉีดวัคซีน Moderna
5. กทม. ฉีดวัคซีนให้กับประชากรครบแล้ว สกลนครฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 สูงที่สุด

10 จังหวัด ที่มีการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มสูงที่สุด
- กรุงเทพฯ 119.8%
- สมุทรสาคร 92.7%
- ชลบุรี 92.5%
- เชียงใหม่ 88.4%
- ภูเก็ต 87.4%
- ฉะเชิงเทรา 86.3%
- ปทุมธานี 83.5%
- สมุทรปราการ 82.7%
- ระนอง 81.2%
- ระยอง 77.1%

10 จังหวัด ที่มีการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มน้อยที่สุด
- หนองบัวลำภู 50.3%
- สุรินทร์ 50.5%
- ปัตตานี 52.2%
- ร้อยเอ็ด 52.4%
- กาฬสินธุ์ 52.5%
- พิษณุโลก 52.5%
- บึงกาฬ 52.5%
- ศรีสะเกษ 52.6%
- นราธิวาส 52.7%
- สกลนคร 53%

10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่ม 608 สูงที่สุด
1. สกลนคร 107.8%
2. นครพนม 105.8%
3. ปทุมธานี 97.4%
4. ลำปาง 96.2%
5. สมุทรปราการ 96.2%
6. เชียงใหม่ 94%
7. บึงกาฬ 92.6%
8. หนองบัวลำภู 84.9%
9. สุราษฎร์ธานี 84.4%
10. อุดรธานี 84.2%

10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่ม 608 ต่ำที่สุด
1. ปัตตานี 55.6%
2. ราชบุรี 55.9%
3. นครนายก 56%
4. กาญจนบุรี 57.7%
5. สุพรรณบุรี 59.7%
6. นราธิวาส 59.7%
7. สระบุรี 60%
8. ยะลา 60.4%
9. นครปฐม 61.2%
10. ลพบุรี 61.2%
6.ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวนเป็นอันดับ 4 ในอาเซียน
1. อินโดนีเซีย จำนวน 259,424,131 (55.1%* ของประชากร) 
2. เวียดนาม จำนวน 139,458,125 โดส (77.8%* ของประชากร) 
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 100,907,667 โดส (50.8%* ของประชากร) 
4. ไทย จำนวน 100,171,841 โดส (76.5%* ของประชากร)  
5. มาเลเซีย จำนวน 56,034,257 โดส (79.5%* ของประชากร) 
6. พม่า จำนวน 33,548,501 โดส (36.2%* ของประชากร) 
7. กัมพูชา จำนวน 30,958,202 โดส (84.2%* ของประชากร) 
8. สิงคโปร์ จำนวน 10,083,329 โดส (87%* ของประชากร) 
9.  ลาว จำนวน 7,761,384 โดส (59.8%* ของประชากร)  
10. บรูไน จำนวน 790,506 โดส (94.3%* ของประชากร) 
7. ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวนเป็นอันดับที่ 19 ของโลก
1. จีน จำนวน 2,673,69 ล้านโดส (88.6% ของประชากรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม)
2. อินเดีย จำนวน 1,383.5 ล้านโดส (60.6%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 495.1 ล้านโดส (72.8%)
4. บราซิล จำนวน 324.8 ล้านโดส (78.7%) 
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 259.42 ล้านโดส (55.1%) 
6. ญี่ปุ่น จำนวน 198.7 ล้านโดส (79.4%)
7. เยอรมนี จำนวน 142.07 ล้านโดส (73.4%)
8. เม็กซิโก จำนวน 141.72 ล้านโดส (64.1%)
9. ปากีสถาน จำนวน 141.51 ล้านโดส (43.2%)
10. รัสเซีย  จำนวน 141.42 ล้านโดส (48.9%)
19. ไทย จำนวน 100.17 ล้านโดส (76.5%)
8. ประเทศไทยนำร่องฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ซึ่ง WHO ประกาศแนะนำแล้ว โดยแบ่งเป็น
สูตรผู้ผลิตเดียวกัน
- เข็ม 1 Sinopharm เข็ม 2 Sinopharm ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
- เข็ม 1 AstraZeneca เข็ม 2 AstraZeneca ห่างกัน 8-12 สัปดาห์
- เข็ม 1 Pfizer เข็ม 2 Pfizer ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
- เข็ม 1 Moderna เข็ม 2 Moderna ห่างกัน 4 สัปดาห์

วัคซีนสูตรไขว้
- เข็ม 1 Sinovac เข็ม 2 AstraZeneca/Pfizer ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
- เข็ม 1 Sinovac เข็ม 2 Moderna ห่างกัน 4 สัปดาห์
- เข็ม 1 AstraZeneca เข็ม 2 Pfizer ห่างกัน 4-12 สัปดาห์
- เข็ม 1 AstraZeneca เข็ม 2 Moderna ห่างกัน 4 สัปดาห์
- เข็ม 1 Pfizer เข็ม 2 Moderna ห่างกัน 4 สัปดาห์
- เข็ม 1 Moderna เข็ม 2 Pfizer ห่างกัน 4 สัปดาห์

วัคซีนเข็มกระตุ้น
- เข็ม 1และ เข็ม 2 Sinovac หรือ Sinopharm 2 เข็ม เข็มกระตุ้น AstraZeneca/Pfizer/Moderna ห่างกัน 4 สัปดาห์ขึ้นไป
- เข็ม 1และ เข็ม 2 AstraZeneca 2 เข็ม เข็มกระตุ้น Pfizer/Moderna ห่างกัน 3 เดือนขึ้นไป
- เข็ม 1และ เข็ม 2 Pfizer หรือ Moderna 2 เข็ม เข็มกระตุ้น Pfizer/Moderna ห่างกัน 6 เดือนขึ้นไป
- เข็ม 1และ เข็ม 2 Sinovac หรือ Sinopharm + AstraZeneca เข็มกระตุ้น AstraZeneca/Pfizer/Moderna ห่างกัน 3 เดือนขึ้นไป
- เข็ม 1และ เข็ม 2 Sinovac หรือ Sinopharm + Pfizer เข็มกระตุ้น Pfizer/Moderna ห่างกัน 3 เดือนขึ้นไป
- เข็ม 1และ เข็ม 2 AstraZeneca + Pfizer เข็มกระตุ้น Pfizer/Moderna ห่างกัน 6 เดือนขึ้นไป

กรณีติดเชื้อ และรักษาหายแล้ว
- ประวัติการได้รับวัคซีน ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน  เข็มกระตุ้น AstraZeneca 1 เข็ม
- ประวัติการได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีน 1 เข็ม  เข็มกระตุ้น AstraZeneca 1 เข็ม
- ประวัติการได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีน 2 เข็มน้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนติดเชื้อ  เข็มกระตุ้น AstraZeneca 1 เข็ม
- ประวัติการได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมากกว่า 2 สัปดาห์  เข็มกระตุ้น ไม่ต้องฉีด
9.ประเทศไทยจะจัดหาวัคซีน 120 ล้านโดส สำหรับปี 2565 ประกอบด้วย
- สำหรับผู้ไม่เคยได้รับวัคซีนและประสงค์รับวัคซีน 1.2 ล้านโดส โดยเป็น AstraZeneca 1.2 ล้านโดส Pfizer 1.2 ล้านโดส
- ผู้ที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์รับวัคซีนผ่านสถานศึกษา 0.7 ล้านคน โดยเป็น Pfizer 1.4 ล้านโดส
- เด็กต่ำกว่า 12 ปี 5 ล้านคน โดยเป็น Pfizer 10 ล้านโดส
- เข็ม 3 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 41 ล้านคน โดยเป็น AstraZeneca 32 ล้านโดส Pfizer 12 ล้านโดส
- เข็ม 4 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 54 ล้านคน โดยเป็น AstraZeneca 20 ล้านโดส Pfizer 2.3 ล้านโดส และอื่น ๆ 24 ล้านโดส
- เข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยติดเชื้อ 1.5 ล้านคน โดยเป็น AstraZeneca 1.5 ล้านโดส
- สำรองส่วนกลางตอบโต้การระบาด AstraZeneca 5.3 ล้านโดส Pfizer 3.1 ล้านโดส และอื่น ๆ 6 ล้านโดส
10. คาดว่าจะมีวัคซีนสัญชาติไทยขึ้นทะเบียนและใช้งานได้ในไตรมาส 3 ปี 2565
- วัคซีน ChulaCov19 วัคซีน mRNA อยู่ในระหว่างการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 
- วัคซีน HXP-GPOVac วัคซีนชนิดเชื้อตาย ผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก (Egg-based) อยู่ระหว่างการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 2
- วัคซีน COVIGEN วัคซีน mRNA อยู่ในระหว่างการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1
- วัคซีน Baiya SARSCoV-2 Vax วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีจากพืชใบยาสูบ ยู่ในระหว่างการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1

     ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

#อว
#วัคซีนโควิด