วชิรพยาบาล เผย! โรคหนองในเยื่อหุ้มปอด สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดส่องกล้อง
โรคหนองในเยื่อหุ้มปอด สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดส่องกล้อง
โดย นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านโรคปอด
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
หลาย ๆ ครั้ง ที่เรามักจะสงสัยว่าในโพรงเยื่อหุ้มปอดนั้นคืออะไร
โดยโพรงเยื่อหุ้มปอดนั้นหมายถึง ช่องว่างระหว่างเยื่อ 2 ชั้นที่หุ้มอยู่รอบปอด
ซึ่งมีน้ำหล่อลื่นอยู่เล็กน้อย ในบางคนที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หนองหรือเลือดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด
ส่งทำให้มีอาการหอบเหนื่อยหรือมีคนไข้สูงได้ โดยสาเหตุของโรคหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
มักเกิดขึ้นตามหลังจากการติดเชื้อปอดอักเสบแล้วโดยเกิดได้ตั้งแต่คนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัวและที่มีสุขภาพแข็งแรง
จนไปถึงผู้ป่วยที่มีโรงประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านโรคปอด โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า อาการของโรคหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ที่สำคัญที่สุด คือมักจะเริ่มมีอาการไข้ขึ้นสูง และมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จนไปถึงอาการหอบเหนื่อย ในบางรายอาจมีอาการไอมากหรือไอออกมาเป็นหนองหรือมีเสมหะปนเลือดได้ โดยการวินิจฉัยโรคนี้ จะต้องทำการเจาะปอด (thoracentesis) เพื่อดูลักษณะของน้ำ โดยโรคนี้ที่เราจำต้องแยกให้ได้ คือโรคมะเร็งที่มีการลุมลามของน้ำในปอดและโรควัณโรค ซึ่ง 2 โรคนี้ สามารถตรวจโดยการส่งหาเชื้อวัณโรค(PCR for TB) และการตรวจหาเซลล์มะเร็ง(Cytology)
สำหรับการรักษาโรคหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด การรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค หากเป็นระยะเริ่มแรกวิธีการรักษา คือ การใส่ท่อระบายหนองออก หากสามารถระบายหนองออกได้หมดและอาการผู้ป่วยดีขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพียง แต่ต้องให้ยาปฏิชีวนะนานอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ และเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะนานอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ไปแล้ว หากอาการไม่ดีขึ้นหรือผลจากการตรวจผ่านภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบว่ายังคงมีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดอยู่ หรือในบางรายที่พบว่ามีหนองเกิดขึ้นหลายตำแหน่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นระยะที่ 2 หรือ 3 แล้ว ก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด (Decortication) โดยในอดีตนั้นการผ่าตัดทำได้โดยการผ่าตัดเปิด ซึ่งมีขนาดใหญ่และอาจมีบางครั้งต้องตัดซี่โครงออกเพื่อช่วยทำการระบายหนองออกให้หมดและการลอกเยื่ออักเสบ ติดเชื้อออกจากเยื่อหุ้มปอด อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ตัวโรคนี้ เราสามารถทำได้โดยการผ่าตัดส่องกล้อง (Video assisted thoracoscopic surgery; VATs) ซึ่งการผ่าตัดจะมีแผลเล็กขนาด 3 เซ็นติเมตรเท่านั้น โดยการผ่าตัดชนิดนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญจากศัลยแพทย์อย่างมาก โดยผลลัพธ์เทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิด แต่สามารถภาวะแทรกซ้อน และ ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล