ADS


Breaking News

บทสรุป หอการค้าฯ เร่ง! “Connect the Dots DESIGN THE FUTURE รวมพลัง สร้างสรรค์ อนาคต”

บทสรุปผู้บริหารการประชุมหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39-
Connect the Dots Design the Future
     คณะกรรมการหอการค้าไทย วาระประจำปี 2564-2565 ได้กำหนดนโยบาย Connect the Dots โดยมุ่งเน้นให้หอการค้าไทย เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อมุ่งสู่ยกระดับเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งหอการค้าไทยได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้แก่สมาชิกและผู้ประกอบการทั่วประเทศ โดยผ่านการขับเคลื่อนผ่าน 3 Value Chain ได้แก่ 1) การค้าและ การลงทุน 2) เกษตรและอาหาร และ 3) การท่องเที่ยวและบริการ พร้อมทั้ง ยึดแนวทางที่หอการค้าไทยเคยดำเนินงานมาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจ “การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใน 99 วันแรก” เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่น แก้ปัญหาระยะสั้น ทั้งการจ้างงานและปัญหาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากไปสู่การฟื้นตัวอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี การฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัดนั้น หอการค้าไทยได้จัดลำดับความสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำหรับดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ภายใน 99 วันแรกของการทำงานของคณะกรรมการหอการค้าไทย โดยมี 3 ภารกิจสำคัญ คือ
1) เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศ 
2) เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ด้วย Digital Transformation เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
3) แก้ไขกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้สะดวก
     การประชุมหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 ได้ตั้งกรอบการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจอย่างยั่งยืน ให้สอดรับกับการก้าวไปข้างหน้าของประเทศและผู้ประกอบการ ซึ่งในปีนี้ หอการค้าไทย ได้ให้ความสำคัญกับ การรวมพลัง สร้างสรรค์ อนาคต ภายใต้กรอบสัมมนา “Connect The Dots Design The Future” ซึ่งเป็นความตั้งใจของภาคเอกชน ที่จะรวมพลังกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปข้างหน้า โดยได้มีการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นในการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 เพื่อสรุปรวบรวมเป็นแนวทางและออกแบบภาพอนาคตของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่

เรื่องที่ 1  “CONNECT หอการค้า 5 ภาค เดินหน้าฝ่าวิกฤตเพื่อพลิกเศรษฐกิจไทย”
เรื่องที่ 2  “CONNECT SMEs ไทย ด้วย Digital Transformation”
เรื่องที่ 3  “โอกาสและทิศทางอนาคตประเทศไทยจากมุมมองของคนรุ่นใหม่”

จากการระดมความคิดเห็นสามารถสรุปผลจากการสัมมนา ดังนี้

เรื่องที่ 1  เรื่อง “CONNECT หอการค้า 5 ภาค เดินหน้าฝ่าวิกฤตเพื่อพลิกเศรษฐกิจไทย” 
หอการค้าไทย ได้ดำเนินการจัดเสวนาระดมความคิดเห็นสมาชิกหอการค้าจังหวัดทั้ง 5 ภูมิภาค เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกหอการค้าทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในการแสดงมุมมองต่อการพัฒนาประเทศ นำมาบูรณาและสามารถนำแผนงานมาดำเนินการขับเคลื่อน อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ภาค และ Strategic Move ให้มีบริบทสอดคล้องกับร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) โดยสามารถกำหนดโครงการที่สำคัญเร่งด่วนต่อการยกระดับเศรษฐกิจภูมิภาค ดังนี้
ภาคใต้
โครงการ ANDAMAN ECONOMIC TOURLISIM (เขตเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวอันดามัน) 
โครงการ ANDAMAN GO GREEN
สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 (พ.ศ. 2568)
สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialized Expo 2028 ณ จังหวัดภูเก็ต
ภาคตะวันออก
โครงการพัฒนา SMEs ให้สามารถขายสินค้าไปยังต่างประเทศผ่านช่องทาง Cross Border e-Commerce (CBEC)
โครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor :EFC) และพัฒนาโครงการต่อเนื่องกับโครงการมหานครผลไม้
เร่งรัดการก่อสร้างถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ระยะที่ 2
เพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตร โดยการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ หรือการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) 
สร้างแต้มต่อให้กับธุรกิจ SMEs ในการเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
โครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม (จ.ระยอง)
ภาคกลาง
ยกระดับเกษตรแนวใหม่มูลค่าสูงทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) โดยการสร้างผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ (ปวช - ป ตรี , Short Course) / จัดตั้ง Value Creation Trader และ ขยายช่องทางการตลาดออนไลน์และออฟไลน์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน - สปป.ลาว
ภาคเหนือ
เสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน และ SMEs (ยกระดับมาตรฐาน)
โครงการนำร่องเปิดด่านการค้าชายแดนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม-จีน / ไทย-จีน และ ไทย-อินเดีย
     ทั้งนี้ จากการเสวนาฯ ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดย 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุด ได้แก่ 1) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 2) การปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ และ 3) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งหอการค้าไทย และเครือข่าย จะนำประเด็นที่ได้ไปขับเคลื่อน connect กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เรื่องที่ 2  เรื่อง “CONNECT SMEs ไทย ด้วย Digital Transformation”
     หอการค้าไทย ได้จัดเสวนา เรื่อง “CONNECT SMEs ไทย ด้วย Digital Transformation” โดยมี สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ เพื่อนำมาขับเคลื่อนและยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ไทยด้วยเครื่องมือ Digital Transformation ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs โดยปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวน SMEs จำนวน 3,134,442 ราย สร้างการจ้างงาน 12 ล้านคน และสร้าง GDP คิดเป็น 5.38 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 34.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด อย่างไรก็ดี SMEs ของไทยยังประสบปัญหาขาดศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันหลายด้าน อาทิ ขาดเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล หนี้สินมาก ผลิตภาพต่ำ มีการส่งออกน้อย และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ทั้งนี้ จากการเสวนามีข้อเสนอต่อการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ด้วย Digital Transformation ดังนี้   
1) ขับเคลื่อน Thailand Trade Platform ในการช่วยเหลือ SMEs โดยเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้เทคโนโลยี ให้สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างทั่วถึง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
2) ปรับกฎหมายและระเบียบการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สามารถดูแลงบบูรณาการของ SMEs เพื่อช่วยขับเคลื่อนแผนส่งเสริม SMEs ให้มีประสิทธิภาพ

เรื่องที่ 3 เรื่อง “โอกาสและทิศทางอนาคตประเทศไทยจากมุมมองของคนรุ่นใหม่”
หอการค้าไทย ร่วมกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเครือข่าย จัดเวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “โอกาสและทิศทางอนาคตประเทศไทยจากมุมมองของคนรุ่นใหม่” เน้นการเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580 และใช้แนวทาง Design Thinking โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ช่วยทำหน้าที่ระดมความเห็นจากคนรุ่นใหม่ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ซึ่งได้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน ดังนี้  
1) ด้าน Product & Service for the Future การพัฒนาสินค้าและบริการ เน้นการเพิ่มมูลค่า การพัฒนาผู้ประกอบการของประเทศ และการออกแบบพัฒนา Digital Platform   เพื่ออำนวยความสะดวกในอนาคต
2) ด้าน People for the Future การมองทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ควรจะต้องมีการเตรียมวางแผนการพัฒนา ทั้งในเรื่องการศึกษา การพัฒนาความสามารถ Reskill, Upskill รวมถึง Learn Unlearn Relearn การพัฒนาบุคลากรในองค์กร การส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวีต (Life-Long Learning) รวมถึงการพัฒนามนุษย์ถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ
3) ด้านการ Connect to the World เพราะการเชื่อมโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศให้เป็นที่รู้จักได้มากขึ้น ผ่านสิ่งที่เรามี เช่น การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ บริการ วัฒนธรรม รวมทั้ง การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีโอกาสเติบโตและก้าวเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
4) ด้าน Social Issues in the Future จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม การกระจายรายได้ ความยากจนข้ามรุ่น และความคุ้มครองทางสังคม
5) ด้าน Our Planet in the Future การพัฒนาเศรษฐกิจ ความเจริญปัจจุบัน จะต้องมีการพัฒนาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

     พร้อมทั้ง ได้ดำเนินการจัดการประกวด YEC Pitching : YEC’s Business SPIN UP ซึ่งเป็นการจัดการประกวด YEC Pitching อย่างต่อเนื่องเป็น ปีที่ 6 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าไทย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอไอเดียธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยจะเป็นไอเดียธุรกิจใหม่ (NEW IDEA) หรือต่อยอดจากธุรกิจหลัก (SPIN-OFF) เพื่อเปลี่ยนผ่านธุรกิจของตนเอง       และช่วยสนับสนุนและผลักดันให้ผู้ประกอบการสร้างแนวคิดใหม่ในการต่อยอดธุรกิจของตนเอง ในสภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยปีนี้มี YEC จากทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมประกวด จำนวน 46 โครงการ และมีผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ คือ โครงการ Cen Solution : YEC หอการค้าจังหวัดนนทบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการ Up Square TECH Platform : YEC หอการค้าจังหวัดสงขลา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการ One Move ERP : YEC กรุงเทพฯ
รางวัล Popular Vote โครงการ สบายดีลำปาง : YEC หอการค้าจังหวัดลำปาง

     ทั้งหมดนี้ คือ สรุปผลประชุมการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 Connect The Dots Design The Future : รวมพลัง สร้างสรรค์ อนาคต ซึ่งพวกเราหอการค้าไทย มุ่งหวัง    จะทำงานเชื่อมโยงกับรัฐบาล ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในทุกมิติ พร้อมทั้ง ร่วมกันออกแบบอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทย ให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกันในอนาคต ตามแนวคิด “Connect The Dots” เพื่อให้ประเทศไทยกลับมาฟื้นตัว เปิดประเทศได้อย่างรวดเร็ว และสร้างอนาคตประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป.

สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ 

รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอจากหอการค้าฯ กว่าพันราย

“Connect the Dots DESIGN THE FUTURE รวมพลัง สร้างสรรค์ อนาคต”


นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทย ร่วมกับหอการค้าทั่วประเทศและเครือข่าย จัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 ในวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Connect the Dots: Design the Future รวมพลัง...สร้างสรรค์อนาคต” โดยจะเป็นการรวมพลังกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปข้างหน้า และมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน มีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยกันออกแบบภาพอนาคตของประเทศไทย ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้มาตรการควบคุมการระบาดอย่างเคร่งครัด โดยได้มีการหารือกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เพื่อให้เป็นงานตัวอย่าง หลังการผ่อนคลายการเปิดประเทศ

ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมแล้วกว่า 1,000 ราย ประกอบด้วย คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัด กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และทูตพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้สมาชิกและประชาชนทั่วไปได้เข้าฟังการบรรยายของรัฐมนตรีท่านต่าง ๆ สดไปพร้อมกัน ผ่าน facebook live ได้ที่ เพจ Thaichamber

การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีหลายท่านมาร่วมปาฐกถาพิเศษ อาทิ การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทาย (BCG และ พลังงาน) โดยรองนายกฯ สุพัฒนพงษ์ การเชื่อมโยงธุรกิจไทยกับต่างประเทศด้วยแนวทางการค้ายุคใหม่ จากรองนายกฯ จุรินทร์ ประเทศไทยกับการฟื้นตัวหลังโควิด–19 โดย รมว.คลัง เป็นต้น ซึ่งทุกหัวข้อในการสัมมนา ผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้ทราบ Highlight ที่สำคัญ ๆ รวมไปถึงการ Design The Future ที่จะเป็นการออกแบบอนาคตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย

“หอการค้าไทยคาดหวังว่าผลที่ได้จากการสัมมนานี้ จะเป็นแรงที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นตัวจุดประกายให้กับทุกภาคส่วนได้มีส่วนในการสร้างความร่วมมือให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ทั้งในด้านสินค้าและการบริการ เกิดการกระจายรายได้ และยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นในทุกจังหวัด ได้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ จะเห็นว่าการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมากขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายและโอกาสอีกมากที่รอเราอยู่ในปีหน้า เนื่องจากบริบทของโลกหลายอย่างได้เปลี่ยนไปจากเดิม อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี แนวโน้มของโลกที่ให้ความสำคัญกับ BCG (Bio Circular Green) ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีโอกาสที่สำคัญ เช่น การเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีหน้า การเชื่อมรถไฟลาว-จีน ซึ่งเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายการค้าไปสู่ระดับสากลได้มากขึ้น ดังนั้น
สิ่งสำคัญคือ “ต้องร่วมมือกัน” เพื่อให้เกิดความพร้อม สำหรับโอกาสที่กำลังจะกลับมา” นายสนั่น กล่าว


การประชุมในครั้งนี้ จะมีการระดมสมองและจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยรวบรวมเป็นสมุดปกขาว เสนอให้กับนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งท่านนายกฯ จะมารับสมุดปกขาวด้วยตนเองในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ย.) พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “จับมือ รวมใจ พาไทยรอด” ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมต่อไป

คำกล่าวปาฐกถา เปิดงาน สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564

โดย นายสนั่น อังอุบลกุล

ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

--------------------------------------

พี่น้องชาวหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ทุกท่าน

 

ผมขอใช้โอกาสนี้ กล่าวขอบคุณ ทุกๆ ท่าน ในนามของ คณะกรรมการหอการค้าไทย 

สร้างความเชื่อมั่น ร่วมกันสร้างสรรค์ ช่วยกัน ผลักดัน 

เป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้หอการค้าไทย และ เครือข่าย รวมพลังฝ่าวิกฤติโควิด-19 ฟื้นฟู เศรษฐกิจไทย 

Connect the Dots จึงเป็น Solution ที่ทำให้ Mission Impossible ให้เป็น possible   เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ ตั้งต้นการทำงาน ด้วยคำว่า WHY หรือ ทำไม

 1. ทำไมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเชื่องช้า 

2. ทำไมความเชื่อมั่นในการลงทุนกับภาคธุรกิจ ทั้งในและนอกประเทศถดทอย 

3. ทำไมการจัดหาวัคซีน จึงไม่เพียงพอ 

จาก 3 ประเด็นข้างต้น เป็นที่มาและจุดยืนของ หอการค้าไทย ที่จะต้องเร่งเชื่อมการทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้ประสานกัน ภายใต้แนวคิด Connect the Dots 

ภารกิจ 99 วันแรก ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย จึงเกิดขึ้นด้วย 3 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่ 

1. เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชน 

    • เราเป็นองค์กรเอกชนแรกๆ ที่เน้นยํ้าให้รัฐบาล จัดหา และกระจายวัคซีน ถึง 100 ล้านโดส  

2. เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ด้วย Digital Transformation

    • เราได้ร่วมมือกับกลุ่มค้าปลีก และธนาคารในการ ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า 

    • ร่วมกับธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อให้ สมาชิกของเราโดยเฉพาะในวงเงิน 1 หมื่น ล้านบาท 

    • เป็นเงินทุนหมุนเวียน ของกิจการ ภายใต้ โครงการ มีที่มีเงิน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือน ธันวาคม

    • ทั้งนี้ ผมก็ต้องให้เครดิต กับ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ 

    • และหลังจากนี้ หอการค้าไทย จะยังคงดำเนินการผลักดันให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างจริงจัง          

    • หอการค้าไทย ยังมุ่งเน้นในการใช้ Application TCC Connect ให้เป็นประโยชน์ สานต่อจากที่
คุณกลินท์ สารสิน ที่ได้เริ่มไว้  

3. Ease of Doing Business 

   • เร่งรัด การลดกฎระเบียบ และกฎหมาย ที่ล้า หลัง เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ผู้ประกอบการให้เกิดความรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่าย อย่างเป็นรูปธรรม 

   • เช่น การลด หรือ ยกเลิก ใบอนุญาต และ ค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น 

   • การปรับปรุงกฎเกณฑ์ พ.ร.บ. โรงแรม และ การเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร เป็นต้น 

   • ด้วย 3 ประเด็นดังกล่าว ถือเป็นที่ประจักษ์ และสัมฤทธิ์ผล จนได้รับความเชื่อถือจากทุกภาคส่วน 

   • ทั้งนี้ จากความร่วมมือของหอการค้า และ ภาครัฐ ที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด นำมาสู่การเปิดประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา   

   • ต่อจากนี้ไป เราจะมัวแต่วาง strategy อย่าง เดียวคงไม่พอ execution จะเป็นตัวตอบโจทย์ เพราะเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

   • ไม่ใช่แค่โควิด-19 เท่านั้น แต่ไข้หวัดนกก็ ส่อแววระบาดซํ้าอีก จะเห็นได้ว่าทุกอย่างมีความผันผวนตลอดเวลา เราเรียกวิกฤตินี้ว่า VUCA 

    V-Volatility     ความผันผวนสูง 

    U-Uncertainty ความไม่แน่นอนสูง 

    C-Complexity ความซับซ้อนสูง 

    A-Ambiguity   ความคลุมเครือสูง 

   • ฉะนั้น เราต้องปรับตัว และมองเห็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ในภายภาคหน้า  

 1. โอกาสด้านการค้า และการลงทุน 

     • ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ ไทยยังถือเป็นประเทศที่น่าลงทุน ฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับ พวกเราที่จะต้องช่วยกันสร้างสิ่งจูงใจ ให้ชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเมืองไทยให้มากที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC 

    • ใช้ข้อตกลง RCEP ที่จะมีผล เริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ปีหน้าให้เป็นประโยชน์ 

    • สำหรับ CPTPP ในขณะนี้ หอการค้าไทย ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง เชื่อมโยงทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ให้หันหน้าเข้าหากัน ทำงานร่วมกัน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนและประเทศชาติในอนาคต

     • เราต้องส่งเสริมการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศให้มากขึ้น โดยความร่วมมือจากทางภาครัฐ และเอกชนที่ได้ลงทุนในต่างประเทศแล้ว 

     • สำหรับด้านการค้าชายแดนและข้ามแดน แม้ว่าในปีนี้ได้เจอปัญหาจากโควิด-19 ก็ยังสามารถเติบโตได้ดี ยิ่งถ้าเราช่วยกันผลักดันอย่างจริงจัง ให้สามารถเปิดด่านต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การค้าในพื้นที่ชายแดน เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ CLMV ได้ผ่อนคลาย มาตรการต่างๆ และเริ่มทยอยเปิดประเทศ 

      • สำหรับการส่งออกปีนี้ จะโตได้ถึง 12 - 14% และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า ทั้ง ๆ ที่ เราต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลน ตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่ยังคงสูงอยู่  

2. โอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นให้นานาชาติบนเวที APEC 

     • ในปีหน้า รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC ภายใต้ Theme “Open Connect Balance” โดยหอการค้าไทย ก็มีบทบาทหลักในการจัดประชุม CEO Summit ในช่วง เวลาเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทย มีโอกาสในการขยายธุรกิจ ไปในเวทีนานาชาติมากยิ่งขึ้น 

    • นอกจากนี้ ภาคธุรกิจก็จำเป็นต้องนำนวัตกรรมมาเพิ่มโอกาส และให้ความสำคัญ ถึงผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตาม แนวทาง BCG ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals 

3. โอกาสด้านการท่องเที่ยว 

     • ในปี 2562 ประเทศไทยเคยมีนักท่องเที่ยว ต่างชาติถึง 40 ล้านคน สร้างรายได้ถึง 2.2 ล้านล้านบาท 

     • ถัดจากนั้นเพียงปีเดียว การระบาดของ โค วิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวหายไปเกือบหมด 

     • และในปีนี้ ตั้งแต่เดือน มกราคม - กันยายน ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. เข้ามาไทย เพียง 85,000 คน

    • จากการเปิดประเทศที่ผ่านมา ททท. ได้ตั้ง สมมติฐานว่า ในเดือน พฤศจิกายน และ ธันวาคม จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา เดือนละ 3 แสนคน

    • ประกอบกับ คนไทยก็ได้ออกมาท่องเที่ยวในประเทศกันอย่างคึกคัก เชื่อว่าในปีนี้จะทำให้ GDP โตได้ถึง 1.5%  

    • หากสถานการณ์ มีแนวโน้มดีขึ้น ททท. คาดว่า ปี 2565 ประเทศไทยจะมีโอกาส เห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเกือบ 10 ล้านคน

    • โดยหลังจากนี้ ทุกคนต้องช่วยกันสร้าง การท่องเที่ยวคุณภาพสูง Quality Tourism และจากการจัดอันดับ กรุงเทพมหานคร ถือเป็นเมืองแห่งการ Workation เหมาะสมที่สุด สำหรับเป็นที่ทำงานและพักผ่อนไปด้วย ตรงกับที่ Mr. Brain Chesky CEO Air BNB มองพฤติกรรมของคน หลังจากนี้ว่า People are traveling any time คนจะเที่ยวได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอวันหยุด People are traveling everywhere. คนจะเที่ยวได้ทุกพื้นที่ ไม่จำกัดแต่เฉพาะใน เมือง People are staying longer. คนจะอยู่แต่ละที่นานขึ้น   

    • สอดคล้องกับ หอการค้าไทย ที่เราได้ขับเคลื่อน Happy Model พร้อมผลักดันแนวคิด ไทยเท่ ที่ได้ดำเนินกันมาตั้งแต่สมัย ท่าน ประธานอาวุโส คุณกลินท์ สารสิน 

4. โอกาส ด้านการจับจ่ายใช้สอย และการจ้าง งานในประเทศ 

    • เราจะต้องให้ความสำคัญ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อสร้าง Local Consumption ด้วยกัน 

    • ทั้งนี้ หอการค้าไทย มีส่วนผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการ
เราเที่ยวด้วยกัน โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และเราก็ได้อยู่ในช่วงกำลังผลักดันให้รัฐบาล นำโครงการช๊อปดีมีคืน กลับมาใช้ให้ทันใน เดือนธันวาคมนี้

     • จากการที่รัฐบาลได้ขยายเพดานหนี้จาก 60 เป็น 70% จะทำให้ในครึ่งปีหน้า จะมีเม็ดเงิน ไม่ตํ่ากว่า 5 แสนล้านบาท มาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ 

 ซึ่งหอการค้าไทย ก็จะได้ร่วมทำงานกับภาครัฐ เพื่อหามาตรการที่ตอบโจทย์ และตรงจุดต่อ ไป 

     • ในขณะเดียวกัน จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ การ restock ราคาน้ำมัน และ
การควบคุมมลภาวะในภาคการผลิต ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนและ ราคา สินค้าที่ขยับตัวสูงขึ้น      

    • หอการค้าไทย ได้ส่งสัญญาณในเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ไปแล้ว และขอให้ผู้ประกอบการ
ได้ช่วยกันประคับประคอง ราคาสินค้าในช่วงนี้เท่าที่จะทำได้ 

   • สำหรับความท้าท้ายด้านเทคโนโลยี Mind Set เดิม ๆ ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะ เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันโดยตรง ไม่ใช่แค่ Internet of Things แต่เป็น Internet of Everything (อยู่ในมือถือหมด) 

    • ทั้งเรื่อง การสื่อสาร การเงิน การค้าขาย การท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันอยู่บน Platform Online ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนที่ตํ่า 

    • ทั้งนี้ เราต้องยอมรับว่า นี่คือโลกของยุคคนรุ่นใหม่ ที่จะใช้เทคโนโลยีมาเสริมการให้การขับเคลื่อนประเทศ 

    • ฉะนั้น ในปีหน้า หอการค้าไทย จะเน้นการเพิ่มบทบาทของคนรุ่นใหม่ในทุกมิติ หากคนรุ่นใหญ่ และคนรุ่นใหม่ หรือ YEC ของเรา ได้ทำงานเสริมซึ่งกันและกัน 

    • ก็จะเกิดพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนองค์กร โดยเฉพาะหอการค้าไทย อันเป็นที่รักและ หวงแหนของเรา ช่วยกันพลิกโฉมเศรษฐกิจ ไทยไปด้วยกัน 

    • นี่คือ การ Connect the Dots…. Design the Future ของเรา 

    • ผมขอขอบคุณ คณะกรรมการ และสมาชิกทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันทำงานอย่างสมัครสมาน สามัคคี
ซึ่งนี้ ถือเป็น Culture ที่มีความโดดเด่นขององค์กรของเรา 

    • บัดนี้ ได้เวลาอันสมควร ผมขอเปิดงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 Connect the Dots : Design the Future รวมพลัง... สร้างสรรค์ อยาคต

ขอขอบคุณทุกท่าน ครับ