ความร่วมมือขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด กลุ่มคลัสเตอร์โรงงาน
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้นำคณะผู้บริหารสมาคมการค้า ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยง (นายเชง นิรุตตินานนท์ นายนคร นิรุตตินานนท์ และนายอมรพันธ์ อร่ามวัฒนานนท์) พร้อมด้วย นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง (ดร.ผณิศวร ชานาญเวช) อุปนายกฯ (นายอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์) เลขาธิการฯ (นายชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ) และกรรมการ (นายพรศักดิ์ ถาวรทวีวงษ์ และคุณเอกราช พรรณสังข์) ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร (นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เพื่อหารือถึงแนวทางดำเนินการตามคำสั่งจังหวัดสมุทรสาคร ที่ 2013/2564 เรื่อง ให้โรงงานหรือสถานประกอบการ จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (Factory Accommodation Isolation: FAI) ตลอดจน แนวทางการจัดการและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 จากผู้ป่วยกระจายไปยังแหล่งชุมชนและพื้นที่สาธารณะ และทราบว่าจังหวัดอยู่ระหว่างจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองที่มีจำนวนมากขึ้นในขณะนี้แต่ยังขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนาม โดยขอให้ภาคเอกชนช่วยสนับสนุนเครื่องตรวจวัดออกซิเจนและปรอทวัดไข้
จัดซื้อเครื่องมือวัดอุณหภูมิและเครื่องวัดออกซิเจน จำนวน 6,000 ชิ้น ให้จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสงขลา จำนวน 1,700,000 บาท เมื่อวันที่ 10 และ 16 สิงหาคม 2564 เพื่อสาธารณสุขจังหวัดจะนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยตามวัตถุประสงค์ต่อไป
สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยเตียงสีเหลือง เตียงแดงสีแดง อุปกรณ์ทางการแพทย์ และสิ่งของที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสงขลา โดยได้ดำเนินการ ดังนี้
รพ.กระทุ่มแบน เครื่อง Oxygen High Flow เครื่องเล็ก จำนวน 15 เครื่อง จำนวนเงิน 3,825,000 บาท
รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เครื่อง Oxygen High Flow เครื่องเล็ก จำนวน 10 เครื่อง จำนวนเงิน 2,555,000 บาท เครื่องใหญ่จำนวน 3 เครื่อง จำนวนเงิน 1,830,000 บาท
จัดตั้งโรงพยาบาลสนามสีเหลือง (รพ.ทองอุไร) จังหวัดสมุทรสาคร จำนวนเตียง 200 เตียง จำนวนเงิน 6,000,000 บาท เพื่อรองรับกลุ่มแรงงานในคลัสเตอร์โรงงาน
รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ อ.นาทวี ไปที่การปรับปรุงพัฒนาระบบการระบายอากาศและการป้องการติดเชื้อ/ระบบ Telemedicine เพื่อสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย/เครื่องตรวจและติดตามชีพแบบรวมศูนย์ และจำนวนเตียงระดับสีแดง 16 เตียง จำนวน 3,000,000 บาท
สนับสนุนสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และของใช้ที่จำเป็นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง จำนวน 300,000 บาท
---------
จัดทำโดย คณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน และคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย