ถามตอบ เคลียร์ชัดเรื่องวัคซีนโควิด-19 ด้อยประสิทธิภาพจริงหรือ?
วัคซีนโควิด-19 ที่มีในไทยตอนนี้
ด้อยประสิทธิภาพจริงหรือ?
- ไม่จริง ปัจจุบันการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดแต่ละตัวไม่สามารถเปรียบเทียบกันตรง ๆ ได้ เนื่องจากมีการศึกษาในสถานที่ที่แตกต่างกัน สายพันธุ์ไวรัสต่างกัน กลุ่มทดลองมีความแตกต่างกัน ผลการทดลองจึงอาจไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนได้
- วัคซีนทุกตัวที่ผ่านการรับรองในระยะ 3 มีประสิทธิภาพในการป้องกันความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตจากโรคในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
- วัคซีนทุกตัวไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตาม
- วัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้มีประสิทธิภาพที่ดีพอในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ของการลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
- จากการเก็บข้อมูลสถิติในผู้ที่ฉีดวัคซีน "ซีโนแวค หรือ แอสตร้าเซนเนก้า" สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100%
- ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่าการเกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีนมาก
- กลุ่มอายุน้อยและเพศหญิงมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีนมากกว่า
- กลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวไม่ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น ในขณะที่หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการหนักกว่าคนปกติ จึงต้องมาฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค
- ยิ่งเวลานานไป โอกาสติดโรคจะเพิ่มมากขึ้น ยิ่งฉีดเร็วยิ่งดี ยิ่งมีภูมิต้านทานเร็วยิ่งดี
ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564
ถามตอบ เคลียร์ชัดเรื่องวัคซีนโควิด-19
- มีคนเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไหม?
ยังไม่พบรายงานการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน
- ฉีดเลย หรือรอก่อน?
ฉีดเลย การฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหน สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ 100% อีกทั้งเป็นการป้องกันสมาชิกในครอบครัวที่ยังไม่มีวัคซีนให้ใช้ได้ เช่น ในเด็ก
- เลือกยี่ห้อวัคซีนได้ไหม?
ให้เลือกวัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุดยี่ห้อใดก็ได้ เพราะทุกยี่ห้อมีประสิทธิภาพสูงและการได้วัคซีนเร็วที่สุดเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
- ฉีดแล้วมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ไหม?
ฉีดแล้วอาจติดเชื้อซ้ำได้แต่จะมีอาการไม่หนักหรือไม่มีอาการและสามารถฉีดเพิ่มในภายหลังเพื่อกระตุ้นภูมิได้
- ทำไมผู้สูงอายุและกลุ่ม 7 โรคเสี่ยงควรรีบฉีดวัคซีน?
เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อจะทำให้อาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ วัคซีนจะช่วยป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้
- ผลข้างเคียงของวัคซีนซีโนแวค
อาการแพ้รุนแรงพบได้ 1 ใน 100,000
อาการไข้ ปวดบวม แดงร้อน พบน้อยกว่า 10%
อาการชา เกิดขึ้นชั่วคราว เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ร่างกายไม่พร้อม ความกังวล พบได้ 2-3 วัน หรือ บางรายอาจเป็นได้นาน 1 สัปดาห์ และหายเป็นปกติ ยังไม่พบกรณีที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือเรื้อรัง
- ผลข้างเคียงของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
พบอาการแพ้รุนแรงได้ 1 ใน 100,000
อาการ ไข้ อ่อนเพลีย พบได้บ่อยส่วนใหญ่ไม่รุนแรงแต่บางคนอาจมีไข้สูงได้
มีรายงานพบลิ่มเลือดชนิดที่เกล็ดเลือดต่ำ ในต่างประเทศซึ่งยังไม่พบในประเทศไทย โอกาสเกิดคาดว่าน้อยกว่า 1 ในล้าน
- หากมีอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19?
ณ จุดฉีดวัคซีนจะมีแพทย์และเจ้าหน้าที่ เตรียมพร้อมให้การดูแลหากมีการแพ้เกิดขึ้น
ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564
ฉีด (วัคซีน) เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประชากรกลุ่มใหญ่ให้ครอบคลุมมากกว่า 70% ของประชากรทั่วประเทศ จะสามารถช่วยให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดีขึ้น
- ประเทศอังกฤษ มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถึง 70% ของประชากร ทำให้สามารถลดอัตราการการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน นำไปสู่จำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดเป็นศูนย์ราย ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีการชะลอการให้วัคซีนชั่วคราวเนื่องจากพะวงเรื่องลิ่มเลือด ทำให้ปัจจุบันอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงสูงอยู่
- เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม โอกาสที่ติดโรคโควิด-19 จะลดลง เพราะร่างกายมีระดับภูมิต้านทานเพิ่มสูงขึ้น
- ผลการศึกษาระยะที่ 3 วัคซีนป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ 100%
- หากปล่อยให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างจะทำให้ไวรัสมีโอกาสกลายพันธุ์ได้มากขึ้นและเชื้อกลายพันธุ์อาจดื้อวัคซีนได้
- เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ป้องกันตัวเรา ครอบครัวและชุมชนของเรา
- วัคซีนป้องกันการติดเชื้อในครอบครัว
- ประชาชนสามารถกลับมามีวิถีชีวิตปกติได้เร็วขึ้น
ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
- ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล