ADS


Breaking News

“ครูเบล” ผู้หญิงคนแรกรับ 16 ทุน 10 ประเทศใน 5 ปี เผย Passion คือสิ่งแรกที่ต้องมีสู่ความสำเร็จในชีวิต

“ครูเบล” ผู้หญิงคนแรกที่เคยได้รับ 16 ทุนแลกเปลี่ยน จาก 10 ประเทศ ภายในเวลา 5 ปี 

การที่เราจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวังขณะเล่าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย และยังสามารถออกแบบชีวิตตัวเองได้ สิ่งแรกที่ต้องมีคือ Passion หรือ แรงผลักดันในการลงมือทำในสิ่งที่ชอบ 

     คุณศุภนุช ชือรัตนกุล (ครูเบล) อดีตนักศึกษาทุนแลกเปลี่ยน 10 ประเทศ และเป็นครูติวสอบเข้า AEIS ที่ 1 ของการเรียนประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในช่วงอายุ 18 - 25 ปี เป็นช่วงเวลาของการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยและการหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับชีวิต ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อหา Passion ของตัวเอง  ตอนนั้นหากเห็นว่ามีการเปิดรับสมัครทุนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศหรือกิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจและมีประโยชน์ก็จะสมัครเข้าสอบทั้งหมดเพราะมองว่าคือโอกาสในการเรียนรู้ และสามารถสอบชิงทุนได้ 16 ทุน จาก 10 ประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี สำหรับทุนที่ทำให้มีประสบการณ์และได้เดินทางไปเยี่ยมสถานที่ต่าง ๆ คือ  CBD COP 10 – NAGOYA 2010 : International Youth Conference on Biodiversity ปี 2010 ที่เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ตรงกับสิ่งที่ตัวเองหลงใหลเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและการปลูกปะการัง 

      โครงการ CBD COP 10 – NAGOYA 2010 มีเยาวชน 31 คน ที่ได้รับคัดเลือกจากหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมโครงการ อาทิ บราซิล โคลัมเบีย อินโดยนีเซีย และไทย เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและร่วมออกกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมโลก โดยให้โจทย์มาว่า “หากมองไปในอีก 20 ปีข้างหน้า ต้องการจะเห็นอะไรดี ๆ กับสิ่งแวดล้อม” จากนั้นโครงการฯ จะนำแนวคิดที่ได้นั้นนำไปเสนอเป็นกฏหมายสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งก็มีหลายความคิดเห็นที่โดดเด่น เช่น เยาวชนไม่ต้องการให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) มากเกินไป หรือ การที่มีสัตว์สูญพันธุ์ถึง 40,000 ชนิดใน 1 ปี จะมีวิธีไหนที่จะให้สัตว์สูญพันธุ์น้อยลง เป็นต้น 

            “เบล” เป็น 1 คนจากประเทศไทย โดยเริ่มส่งใบสมัครไปที่โครงการนี้โดยตรง ทางโครงการฯ ก็จะมีการซักประวัติว่า เคยมีประสบการณ์ทำอะไรมาบ้างเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และเมื่อสอบสัมภาษณ์ผ่านเข้าไปได้แล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องอยู่ร่วมประชุมที่นาโกย่าเป็นเวลา 20 สัปดาห์ ซึ่งทางญี่ปุ่นก็ได้แสดงความยินดีกับประเทศไทย โดยให้ความเห็นว่า ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์สูงทางธรรมชาติ 

     สำหรับ 16 ทุนแลกเปลี่ยนที่ได้รับ จาก 10ประเทศ ในระยะเวลา 5 ปี ได้แก่ 

     ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ทุน 

Study of the U.S. Institutes for Student Leaders on Global Environmental Issues 

East Asia and Pacific ที่รัฐ Hawaii, Colorado และ Washington DC

ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ทุน 

ได้เข้าประชุมที่ Japan ASEAN Youth Conference ที่เมือง Tokyo & Sendai 

COP 10 : International Youth Conference on Biodiversity ปี 2010 ที่เมือง Nagoya

Denso Youth for Earth Action ที่เมือง Tokyo 

งาน Research on Seal tagging and co-management plan in Cape Erimo ที่เมือง Hokkaido

     ประเทศเวียดนาม ได้แก่ ทุน

งาน Denso Youth for Earth Action ที่เมือง Hanoi

ประเทศสิงค์โปร์ ได้แก่ ทุน 

JEEF Young Environmental Leadership Program in Asia

ประเทศมาเลเซีย ได้แก่ ทุน

ในงาน Intern at Sea Turtle Research Unit SEATRU ที่เกาะ Redang

ประเทศอินโดนิเซีย ได้แก่ ทุน

East Asia Climate Leadership Workshop ที่เมือง East Java

     ประเทศตุรกี ได้แก่ ทุน

350 Global Power Shift ที่เมือง Istanbul

ประเทศกัมพูชา ได้แก่ ทุน

Research on watershed funded by World Bank ที่เมือง Koh Kong

     ประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ ทุน

ได้เข้าร่วมงาน ASEAN Young Professionals Volunteers Corps ที่เมือง Manila 

LEAD ASEAN youth summit ที่เมือง Manila

     ประเทศไทย ได้แก่ ทุน 

Research Assistant for Coral Restoration Project, ที่เกาะหมาก จังหวัดตราด

กิจกรรมรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้เข้าร่วม 

- Saving Sharks, Saving Us campus Campaign 

- Thailand Power Shift 2013 Bootcamp  

- Me-Grant Youth Camp

        “ความคิดของเบล คือ เราไม่จำเป็นต้องเบียดเบียนสัตว์ให้สูญพันธุ์  หรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกัน ที่จะต้องถูกเบียดเบียนจนกระทบถึงการดำเนินชีวิตหรือไม่มีที่ยืนในสังคม ซึ่งตรงนี้อยากจุดประกายให้เด็กๆ ได้เห็น ได้ค้นหา Passion ทำในสิ่งที่ชอบ ชอบสิ่งไหนให้ลงมือทำ และอยากฝากถึงผู้ปกครองด้วยว่า หากเห็นว่าเด็กมีความฝันแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำเงินได้ ก็ควรให้การสนับสนุน เพราะความฝันของเด็กมักจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ซึ่งการสนับสนุนก็ไม่ได้แปลว่าเด็กเหล่านั้นจะต้องทำสิ่งนั้นไปตลอดชีวิต แต่เป็นการให้เขาได้มีประสบการณ์ในชีวิต ได้ลองผิดลองถูก ได้มีวิธีคิด และทักษะการแก้ไขปัญหาจากการได้ลงมือทำด้วยตัวเอง” ครูเบล กล่าวทิ้งท้าย