ADS


Breaking News

สรท. (TNSC) คาดส่งออกหดตัวเพิ่มเป็น -10% ห่วงบาทแข็ง ชี้ที่เหมาะสม 34.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ

คาดส่งออกหดตัว -10% แนะรัฐเร่งเยียวยาผลกระทบ COVID-19 พร้อมสร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท
และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน , นางจินตนา ศิริสันธนะ เลขาธิการ ดร.ชัยชาญ เจริญสุข กรรมการ และ นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ชั้น 32 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ เมื่อวันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.30-12.00 น. ระบุการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2563 มีมูลค่า 16,278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -22.50% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ ล้านบาท 524,584 หดตัว -20.91% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนพฤษภาคม 2563 มีมูลค่า 13,583 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -34.41 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 443,478 ล้านบาท หดตัว -33.08% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนพฤษภาคม 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 2,694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 81,105 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนพฤษภาคมการส่งออกหดตัวร้อยละ -27.19) ขณะที่ ภาพรวมช่วงเดือนม.ค.- พ.ค. ปี 2563 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 97,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -3.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 3,041,719 ล้านบาท หดตัว -5.18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 88,808 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -11.64 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 2,793,188 ล้านบาท หดตัว -13.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ช่วงเดือน ม.ค.- พ.ค. 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 9,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 248,531 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันน้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนม.ค. – พ.ค. การส่งออกขยายตัวร้อยละ -6.56)

การส่งออกในเดือนพฤษภาคม กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวที่ 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี คือ ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง แต่สินค้ากลุ่มที่หดตัวคือ ยางพารา น้ำตาลทราย ข้าว ขณะที่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวที่ -27.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ ทองคำ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขณะที่สินค้ากลุ่มที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 หดตัว -10% (ณ กรกฎาคม 63) บนสมมติฐานค่าเงิน 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2563 = 31.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.87 – 31.73 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ) โดยมีปัจจัยบวกสำคัญเพียงปัจจัยเดียว ได้แก่ 1) การส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูปและอาหาร และสินค้ากลุ่มเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป และอาหารกระป๋อง แปรรูป เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ผู้บริโภคมีอุปสงค์ในสินค้าอาหารเพื่อดำรงชีพช่วงการกักตัวและการฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) Global economic slowdown การหดตัวของอุปสงค์จากคู่ค้าต่างประเทศและอุปทานการผลิตภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวส่งผลให้ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบและอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทำให้เกิดภาวะหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงของการส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มสินค้ายานยนต์ ทั้งนี้ คงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งมีโอกาสที่จะกลับมาระบาดรอบ 2 และการประกาศใช้มาตรการ Lockdown ของประเทศคู่ค้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลกอีกครั้ง 2) ปัญหา International logistics อาทิ 2.1) อัตราค่าระวางปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ route อเมริกา จาก 2 สาเหตุ 1. อุปสงค์การส่งออกไปยังเส้นทางทรานส์แปซิฟิกที่เพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากปริมาณสินค้าที่เริ่มฟื้นตัวมาเท่ากับช่วงปกติ 2. สายเรือของไทยได้ Space Allocation ลดลง เนื่องจากมีการให้ Space ไปยังประเทศจีนมากกว่า เพราะสามารถทำราคาได้สูงกว่า ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ Space เรือที่ส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกาค่อนข้างแน่น ต้องจองระวางล่วงหน้า สายเรือจึงมีการปรับเพิ่มขึ้นของค่าระวาง และมีการเรียกเก็บค่า General Rate Increase (GRI) เพิ่มขึ้น 2.2) การจัดการโลจิสติกส์ในประเทศปลายทางยังคงมีอุปสรรค จากมาตรการ lockdown แต่ละประเทศทำให้เกิดส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าชะลอคำสั่งซื้อ 3) ความเสี่ยงการได้รับชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ (default risk) ของผู้ประกอบการส่งออก จากการชำระเงินล่าช้าหรือไม่ชำระเงินของคู่ค้า เนื่องด้วยผลกระทบของการระบาดโควิด-19 บางประเทศมีการออกกฎเพื่อช่วยผู้ประกอบการในประเทศตน ส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการส่งออกนำเข้าของไทย ขาดสภาพคล่อง 4) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากการไหลเข้าของเงินทุนสุทธิในตลาดพันธบัตรและตลาดทุน ประกอบกับการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์จากแนวโน้มการหดตัวทางเศรษฐกิจถึงร้อยละ -6.5 และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ ส่งผลให้เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 4 เดือน ที่ระดับ 30.97 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้า โดยเฉพาะในสถานการณ์ซึ่งผู้บริโภคทั่วโลกระมัดระวังการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น 5) ค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันในตลาดโลกต่ำกว่าปี 2562 จากการชะลอตัวของอุปสงค์การใช้น้ำมันทั่วโลกซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจาก COVID-19 แม้ว่าจะมีการลดกำลังการผลิตน้ำมันที่ 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน จนถึงเดือนกรกฎาคมของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร รวมถึงการผ่อนปรนมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งและเดินทางปรับตัวสูงขึ้นและ 6) ปัญหาภัยแล้งภายในประเทศที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากปริมาณน้ำที่ใช้ได้จริงจากเขื่อนใหญ่ภายในประเทศที่มีค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณอุปทานในสินค้าเกษตรที่ออกสู่ตลาดน้อยลง และคุณภาพของสินค้าลดลงเนื่องด้วยความเสียหายจากภัยแล้ง
อนึ่ง สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (IMD World Competitiveness Index) ประจำปี 2563 ซึ่งประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 29 จากทั้งหมด 63 ประเทศ และลดลงจากลำดับที่ 25 ในปี 2562 อาทิ ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ในส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศที่ถูกจัดอันดับสูงขึ้นส่งผลให้อันดับในปี 2563 อยู่ที่ 38 จาก 30 ในปี 2562 ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ จากอันดับที่ 20 มาอยู่อันดับที่ 23 ในปี 2563 ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ดีขึ้น 4 อันดับ จากอันดับที่ 27 ในปี 2562 มาอยู่ที่อันดับ 23 และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถูกจัดอันดับดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับที่ 45 มาอยู่ที่อันดับ 44 ในปี 2563 เป็นต้น การที่อันดับของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงตระหนักและให้ความสำคัญในด้านโลจิสติกส์ของประเทศ แต่คะแนนและอันดับในภาพรวมที่ลดลงสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงมีจุดที่ต้องพัฒนาในหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลการพัฒนาของประเทศต่อไป ทั้งนี้ สรท. เห็นถึงความสำคัญการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และการผลักดันการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง อีกทั้งการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อสนับสนุนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในทุกด้าน จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับประเทศไทย ดังนี้
1. ด้าน Economic Performance - 1.1) Domestic Economy สนับสนุนยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและการจัดการโลจิสติกส์ 1.2) International Trade ผลักดันข้อตกลง WTO’s Trade Facilitation Agreement (TFA) และการเจรจา FTA ส่งเสริมการค้า Trade to Localization มุ่งเน้นไปที่ประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN และ CLMV เร่งรัดการรับรองป่าไม้เศรษฐกิจตามมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council) และผ่อนคลายกฎระเบียบให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าให้สามารถจ่ายค่าภาระที่เกี่ยวเนื่องกับ supply chain ระหว่างประเทศเป็นสกุลต่างประเทศ 1.3) Inernational Investment ลดข้อจำกัดด้านพิธีการศุลกากร และอำนวยความสะดวกในการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า และ ยกเว้นการเรียกเก็บภาษีที่นำกลับมาจากต่างประเทศ 1.4) Employment ดำเนินมาตรการช่วยเหลือด้านประกันสังคมทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ และ 1.5) Price ลดและยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิต และลดภาระค่าขนส่งโลจิสติกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

  2. Goverment Efficiency - 2.1) Public Finance พิจารณาการลงทุนเฉพาะโครงการที่มีผลตอบแทนคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 2.2) Tax Policy กำหนดนโยบายการเก็บภาษีตามขั้นบันไดสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก 2.3) Institutional Framework รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้อยู่ที่ 34.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และควบคุมส่วนต่างของอัตราเงินฝากและเงินกู้ให้อยู่ระดับที่เหมาะสม 2.4) Business Legislation เร่งรัดการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศให้ทันสมัยและรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และการค้าระหว่างประเทศ และพิจารณาการเปิดเสรีการขนส่งและโลจิสติกส์ และบังคับใช้ พรบ. แข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกันการเอาเปรียบจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศต่อผู้นำเข้า – ส่งออก และ 2.5) Societal Framework ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ โดยให้ความสำคัญของภาคเกษตรและธุรกิจชุมชนมากยิ่งขึ้น
3. Business Efficiency - 3.1) Productivity & Efficiency สนับสนุนพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะของ Cluster พัฒนาระบบ Automation เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงาน และพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (National Digital Trade Platform: NDTP) 3.2) Labor Market สนับสนุนด้านภาษีและงบประมาณฝึกอบรมให้กับแรงงาน และลดต้นทุนการจ้างแรงงานต่างด้าวตามกฎหมาย 3.3) Finance สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อ SMEs โดยมีการค้ำประกัน บสย. และการผ่อนปรนเงื่อนไขของธนาคารพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นเงื่อนไขตามรายสัญญา มาตรการกองทุนเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมภาคการผลิตและการส่งออก (Recovery Fund for Exporter) และ เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ E-payment และลดเงื่อนไขหรือกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำระบบมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ 3.4) Management Practices ส่งเสริมการพยากรณ์ความต้องการระวางขนส่งสินค้าล่วงหน้า เพื่อรองรับสถานการณ์ขาดแคลนระวาง และ 3.5) Attitudes & Values ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจธรรมาภิบาลในองค์กร (Good Governance)
4. Infrastructure - 4.1) Basic Infrastructure ปรับปรุงระบบ National Single Window (NSW) และพัฒนา Port Community System (PCS) ให้เป็นแบบ Single Submission และพัฒนา User Interface ให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้และมีขั้นตอนที่ชัดเจน 4.2) Technological Infrastructure ผลักดันการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้าในอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยเชื่อมโยงการประกอบธุรกรรมทางการค้ารูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) 4.3) Scientific Infrastructure ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร และสนับสนุนงบประมาณ Research & Development สำหรับ S-Curve และ อุตสาหกรรมเกษตร 4.4) Health & Environmental ส่งเสริมการคำนวณ Carbon Footprint ของภาคอุตสาหกรรม เกษตร และโลจิสติกส์ และ 4.5) Education  ยกระดับหลักสูตรการพัฒนาบุคคลากรด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น เป็นต้น