รวมสมอง ร่วมใจ "สู้ภัย COVID-19" เรียนรู้สู้โควิด
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการดูข้อมูลลักษณะผู้ป่วย COVID-19 ที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ป่วยรายหลัง ๆ จะเห็นได้ชัดเจนว่ามักเป็นผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมที่มีคนมาก ๆ ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งในสถานที่เช่นนั้น จะมีความเสี่ยงสูงมากเนื่องจากความแออัด ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการติดต่อกันระหว่างคนที่อยู่ใกล้ชิดได้ง่าย และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
ถ้ามีผู้ป่วยจำนวนไม่มาก การติดตามสืบสวนเพื่อการควบคุมโรค จะทำได้ไม่ยากนัก สถานการณ์ของเราขณะนี้ คือการพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนที่ส่วนใหญ่ทราบที่มาของโรคชัดเจน แต่หากการระบาดมากขึ้น ก็จะเป็นการยากในการสอบสวนหาสาเหตุ ดังนั้น การที่จะควบคุมโรคได้ ประชาชนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ ช่วยเหลือในการควบคุมโรคด้วยการไม่เข้าไปร่วมกิจกรรมในสถานที่ที่แออัด มีคนมาก ๆ งดหรือเลื่อนการเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าหน่วยงานสามารถจัดการให้ทำงานที่บ้านได้ ควรทำ
การเดินทางไปในที่สาธารณะทั่ว ๆ ไป ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าเข้าไปในที่แออัด เช่น รถโดยสารปรับอากาศที่คนแน่น อาจจะจำเป็นที่จะต้องสวมหน้ากากอนามัย
ถ้าเดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กระทรวงสาธารสุขประกาศเป็นเขตติดโรค หรือแม้แต่ประเทศที่มีผู้ป่วยมาก แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นเขตติดโรคแต่มีผู้ป่วยจำนวนมาก หรือได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ ก็ควรที่จะแยกตัวเองอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน แยกห้องน้ำ ห้องนอน แยกรับประทานอาหาร ล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่ หรือ alcohol hand rub ก็ได้)
ระหว่างการกักตัวไม่ควรเดินทางออกไปนอกพื้นที่โดยไม่มีความจำเป็น
ถ้าไม่มีอาการใด ๆ ยังไม่ต้องไปขอรับการตรวจหาเชื้อ การตรวจเมื่อไม่มีอาการแล้วไม่พบเชื้ออาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าไม่เป็นโรคนี้ แล้วทำให้ขาดความระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ ในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมาก แออัด กลับจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคด้วย
ในระหว่างกักตัว ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ ไอ เหนื่อยง่าย ให้ไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้อง ระหว่างเดินทาง ควรสวมหน้ากากอนามัย และทำความสะอาดมือทันทีที่ทำได้
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรติดต่อกับทางโรงพยาบาลเพื่อขอรับยาที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางเข้ามารับยาเอง นอกจากท่านมีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
ส่วนข้อปฏิบัติอื่น ๆ อาจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก website ของกรมควบคุมโรค www.ddc.go.th หรือสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย www.idthai.org
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เป็นธรรมดาของการออกศึกที่เราหวังผู้นำที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและอาวุธที่มีประสิทธิภาพ เรายังต้องการกองหลังและกองหนุนที่มีวินัยในการควบคุมหมู่คณะ ไม่ให้เสียขวัญและไม่ให้เกิดช่องโหว่สำหรับศัตรูเข้ามาโจมตีได้ง่าย คำแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อเรียนรู้จะอยู่กับโควิดและพิชิตมันในที่สุด มีดังนี้
เชื้อนี้ไม่ชอบอากาศที่ร้อนและแสงแดด ถ้าเราสามารถยันมันไว้ได้ตลอดหน้าร้อน เมื่อเข้าฤดูฝนโอกาสที่โรคระบาดหนักจะลดลง
ประชาชนต้องปรับกิจวัตรประจำวันให้ใช้บ้านและที่พักเป็นตำแหน่งอยู่หลัก ลดการออกนอกที่พัก ไม่ว่าจะเป็นการงาน การเรียน การสังสรรค์ หรือการชุมนุมของผู้คนทุกประเภท
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายและนอนหลับให้เพียงพอ ล้างมือบ่อยๆ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้วคิดดีทำดี ถ้าไม่สบายโดยเฉพาะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ให้โทรศัพท์ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อพิจารณาไปทำการตรวจรักษา และเมื่อถึงโรงพยาบาลให้ข้อมูลโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิดของท่านโดยละเอียด
สอดส่องดูแลสมาชิกครอบครัวหรือสมาชิกร่วมที่พัก ที่มีปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อโควิดแล้วอาการรุนแรงง่าย ได้แก่ โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ผู้สูงอายุ คนที่อ้วนมาก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ หากเจ็บป่วยโดยเฉพาะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ให้รีบปรึกษาแพทย์
ถ้าจำเป็นต้องออกนอกที่พักไปในที่สาธารณะ จัดเตรียมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า สวมใส่และถอดทิ้งให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุและวัสดุทุกชนิด ถ้าหลีกเลี่ยงการสัมผัสไม่ได้ให้ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือสบู่ทุกครั้ง ไม่สัมผัสถูกต้องตัวผู้อื่น ถ้าเป็นได้พยายามให้อยู่ห่างกันแต่ละคนราว 1 เมตร ไม่ใช้สิ่งของทุกชนิดร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและมีระบบระบายอากาศที่ไม่ดี
ติดตามข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ อย่างมีสติ ไม่ส่งต่อข้อมูลที่ไม่มีแหล่งยืนยันชัดเจน ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของหน่วยงานด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด
ใส่ใจดูแลผู้คนใกล้ตัวหรือเพื่อนบ้าน ที่มีประวัติเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิดแล้วอาการไม่รุนแรงแพทย์อนุญาตให้มาสังเกตอาการต่อที่บ้าน โดยช่วยเหลือเกื้อกูลเท่าที่ทำได้และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติที่ทำให้สังคมรังเกียจ เราจะต้องนำพาสมาชิกในชาติทุกคนให้ผ่านจุดวิกฤตนี้ไปได้ด้วยกันให้มากที่สุด
สนับสนุนกิจกรรมจิตอาสาที่ทำได้ในที่พัก เช่น การจัดหาและจัดทำหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากแจกจ่ายให้ประชาชนที่ขาดแคลนสนับสนุนกิจกรรมการจัดเตรียมทรัพยากรสุขภาพของโรงพยาบาล
ผู้ที่แข็งแรงดีต้องช่วยกันไปบริจาคเลือดให้โรงพยาบาลมีใช้เพียงพอ
ดูแลสุขภาพตัวเองและคนรอบข้างให้ดี หากมีโรคเรื้อรังแต่อาการคงที่ดีให้ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอรับยาและเลื่อนนัดโดยตัวผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาล หากเจ็บป่วยเฉียบพลันเล็กน้อยให้รักษาตัวตามคำแนะนำสุขภาพที่หาได้ในสื่อต่าง ๆ หรือโทร.ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านก่อน การไปใช้บริการที่โรงพยาบาลในช่วงนี้ นอกจากเพิ่มความเสี่ยงการรับเชื้อของตัวท่านแล้ว จะทำให้ระบบการรับมือเชื้อโควิดของโรงพยาบาลทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ถ้ามีผู้ป่วยจำนวนไม่มาก การติดตามสืบสวนเพื่อการควบคุมโรค จะทำได้ไม่ยากนัก สถานการณ์ของเราขณะนี้ คือการพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนที่ส่วนใหญ่ทราบที่มาของโรคชัดเจน แต่หากการระบาดมากขึ้น ก็จะเป็นการยากในการสอบสวนหาสาเหตุ ดังนั้น การที่จะควบคุมโรคได้ ประชาชนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ ช่วยเหลือในการควบคุมโรคด้วยการไม่เข้าไปร่วมกิจกรรมในสถานที่ที่แออัด มีคนมาก ๆ งดหรือเลื่อนการเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าหน่วยงานสามารถจัดการให้ทำงานที่บ้านได้ ควรทำ
การเดินทางไปในที่สาธารณะทั่ว ๆ ไป ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าเข้าไปในที่แออัด เช่น รถโดยสารปรับอากาศที่คนแน่น อาจจะจำเป็นที่จะต้องสวมหน้ากากอนามัย
ถ้าเดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กระทรวงสาธารสุขประกาศเป็นเขตติดโรค หรือแม้แต่ประเทศที่มีผู้ป่วยมาก แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นเขตติดโรคแต่มีผู้ป่วยจำนวนมาก หรือได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ ก็ควรที่จะแยกตัวเองอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน แยกห้องน้ำ ห้องนอน แยกรับประทานอาหาร ล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่ หรือ alcohol hand rub ก็ได้)
ระหว่างการกักตัวไม่ควรเดินทางออกไปนอกพื้นที่โดยไม่มีความจำเป็น
ถ้าไม่มีอาการใด ๆ ยังไม่ต้องไปขอรับการตรวจหาเชื้อ การตรวจเมื่อไม่มีอาการแล้วไม่พบเชื้ออาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าไม่เป็นโรคนี้ แล้วทำให้ขาดความระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ ในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมาก แออัด กลับจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคด้วย
ในระหว่างกักตัว ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ ไอ เหนื่อยง่าย ให้ไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้อง ระหว่างเดินทาง ควรสวมหน้ากากอนามัย และทำความสะอาดมือทันทีที่ทำได้
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรติดต่อกับทางโรงพยาบาลเพื่อขอรับยาที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางเข้ามารับยาเอง นอกจากท่านมีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เป็นธรรมดาของการออกศึกที่เราหวังผู้นำที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและอาวุธที่มีประสิทธิภาพ เรายังต้องการกองหลังและกองหนุนที่มีวินัยในการควบคุมหมู่คณะ ไม่ให้เสียขวัญและไม่ให้เกิดช่องโหว่สำหรับศัตรูเข้ามาโจมตีได้ง่าย คำแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อเรียนรู้จะอยู่กับโควิดและพิชิตมันในที่สุด มีดังนี้
เชื้อนี้ไม่ชอบอากาศที่ร้อนและแสงแดด ถ้าเราสามารถยันมันไว้ได้ตลอดหน้าร้อน เมื่อเข้าฤดูฝนโอกาสที่โรคระบาดหนักจะลดลง
ประชาชนต้องปรับกิจวัตรประจำวันให้ใช้บ้านและที่พักเป็นตำแหน่งอยู่หลัก ลดการออกนอกที่พัก ไม่ว่าจะเป็นการงาน การเรียน การสังสรรค์ หรือการชุมนุมของผู้คนทุกประเภท
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายและนอนหลับให้เพียงพอ ล้างมือบ่อยๆ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้วคิดดีทำดี ถ้าไม่สบายโดยเฉพาะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ให้โทรศัพท์ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อพิจารณาไปทำการตรวจรักษา และเมื่อถึงโรงพยาบาลให้ข้อมูลโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิดของท่านโดยละเอียด
สอดส่องดูแลสมาชิกครอบครัวหรือสมาชิกร่วมที่พัก ที่มีปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อโควิดแล้วอาการรุนแรงง่าย ได้แก่ โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ผู้สูงอายุ คนที่อ้วนมาก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ หากเจ็บป่วยโดยเฉพาะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ให้รีบปรึกษาแพทย์
ถ้าจำเป็นต้องออกนอกที่พักไปในที่สาธารณะ จัดเตรียมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า สวมใส่และถอดทิ้งให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุและวัสดุทุกชนิด ถ้าหลีกเลี่ยงการสัมผัสไม่ได้ให้ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือสบู่ทุกครั้ง ไม่สัมผัสถูกต้องตัวผู้อื่น ถ้าเป็นได้พยายามให้อยู่ห่างกันแต่ละคนราว 1 เมตร ไม่ใช้สิ่งของทุกชนิดร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและมีระบบระบายอากาศที่ไม่ดี
ติดตามข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ อย่างมีสติ ไม่ส่งต่อข้อมูลที่ไม่มีแหล่งยืนยันชัดเจน ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของหน่วยงานด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด
ใส่ใจดูแลผู้คนใกล้ตัวหรือเพื่อนบ้าน ที่มีประวัติเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิดแล้วอาการไม่รุนแรงแพทย์อนุญาตให้มาสังเกตอาการต่อที่บ้าน โดยช่วยเหลือเกื้อกูลเท่าที่ทำได้และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติที่ทำให้สังคมรังเกียจ เราจะต้องนำพาสมาชิกในชาติทุกคนให้ผ่านจุดวิกฤตนี้ไปได้ด้วยกันให้มากที่สุด
สนับสนุนกิจกรรมจิตอาสาที่ทำได้ในที่พัก เช่น การจัดหาและจัดทำหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากแจกจ่ายให้ประชาชนที่ขาดแคลนสนับสนุนกิจกรรมการจัดเตรียมทรัพยากรสุขภาพของโรงพยาบาล
ผู้ที่แข็งแรงดีต้องช่วยกันไปบริจาคเลือดให้โรงพยาบาลมีใช้เพียงพอ
#COVID19
#โควิด19
#ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
#RCPT
#โควิด19
#ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
#RCPT