วช. เปิดเวทีเสวนา “กู้วิกฤตชาติ PM2.5” แก้ปัญหา PM2.5 ในอนาคต
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) อาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม อาศรมความคิดด้านสุขภาพ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา และกลุ่มวิจัยโครงการและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดการเสวนาเรื่อง “กู้วิกฤตชาติ PM2.5 ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการปฏิรูประบบการจัดการมลพิษทางอากาศของประเทศ โดยเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ในอนาคต เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุม 801 อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวในพิธีเปิดการเสวนา ว่า
วช. ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม ผ่านแผนงานเรื่อง PM 2.5 ที่ วช. ให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมภายใต้แผนงานวิจัยท้าทาย โดยเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นแกนหลัก ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดำเนินโครงการ “ประเทศไทยไร้หมอกควัน (Haze Free Thailand)” ตั้งแต่ปี 2559”
เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง หมอกควันอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการเผาไหม้ของผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาหมอกควันทุกปี และเพื่อลดปัญหาดังกล่าว วช. จึงมีมาตรการ การแก้ไขปัญหาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (หลังจากเกิดเหตุ) ระยะกลาง (ป้องกันก่อนเกิดเหตุ) และระยะยาว (หลังเกิดเหตุ และแก้ไขเพื่อให้เกิดความยั่งยืน) รวมทั้งการติดตามคุณภาพอากาศด้วยเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 และ PM10 แบบเซ็นเซอร์ “DustBoy” และระยะต่อไป วช. จะการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม โดยการพัฒนาระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ (NRCT Air Quality Information Center: NRCT AQIC) ผ่านเว็บไซต์ https://pm2_5.nrct.go.th รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการ Flagship เรื่อง Air Quality (PM2.5) อย่างเป็นระบบทั้งในส่วนนโยบายการวิจัยและนวัตกรรม โดยความร่วมมือกับภาคการศึกษา ภาคเอกชน และภาคประชาชน
การเสวนาในครั้งนี้ คาดว่าจะได้แนวทางที่เหมาะสมในการศึกษาวิจัย ค้นคว้า หากลไก ในการติดตามและและเฝ้าระวังว่าปัญหามลพิษทางอากาศทั้งระบบและแนวทางแก้ไข อย่างเป็นรูปธรรมในในอนาคต เพื่อเสนอต่อรัฐบาล ในการจัดทำเป็นแผนแม่บท โดยเฉพาะมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศตั้งแต่แหล่งต้นกำเนิดในทุกมิติและทุกภาคส่วน เช่น ภาคการขนส่งและคมนาคม ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคครัวเรือน และการแก้ปัญหาฝุ่นข้ามพรมแดน อีกทั้งแก้ปัญหาโดมความร้อนเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ
นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวในพิธีเปิดการเสวนา ว่า
วช. ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม ผ่านแผนงานเรื่อง PM 2.5 ที่ วช. ให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมภายใต้แผนงานวิจัยท้าทาย โดยเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นแกนหลัก ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดำเนินโครงการ “ประเทศไทยไร้หมอกควัน (Haze Free Thailand)” ตั้งแต่ปี 2559”
เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง หมอกควันอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการเผาไหม้ของผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาหมอกควันทุกปี และเพื่อลดปัญหาดังกล่าว วช. จึงมีมาตรการ การแก้ไขปัญหาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (หลังจากเกิดเหตุ) ระยะกลาง (ป้องกันก่อนเกิดเหตุ) และระยะยาว (หลังเกิดเหตุ และแก้ไขเพื่อให้เกิดความยั่งยืน) รวมทั้งการติดตามคุณภาพอากาศด้วยเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 และ PM10 แบบเซ็นเซอร์ “DustBoy” และระยะต่อไป วช. จะการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม โดยการพัฒนาระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ (NRCT Air Quality Information Center: NRCT AQIC) ผ่านเว็บไซต์ https://pm2_5.nrct.go.th รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการ Flagship เรื่อง Air Quality (PM2.5) อย่างเป็นระบบทั้งในส่วนนโยบายการวิจัยและนวัตกรรม โดยความร่วมมือกับภาคการศึกษา ภาคเอกชน และภาคประชาชน
การเสวนาในครั้งนี้ คาดว่าจะได้แนวทางที่เหมาะสมในการศึกษาวิจัย ค้นคว้า หากลไก ในการติดตามและและเฝ้าระวังว่าปัญหามลพิษทางอากาศทั้งระบบและแนวทางแก้ไข อย่างเป็นรูปธรรมในในอนาคต เพื่อเสนอต่อรัฐบาล ในการจัดทำเป็นแผนแม่บท โดยเฉพาะมาตรการป้องกันและลดมลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศตั้งแต่แหล่งต้นกำเนิดในทุกมิติและทุกภาคส่วน เช่น ภาคการขนส่งและคมนาคม ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคครัวเรือน และการแก้ปัญหาฝุ่นข้ามพรมแดน อีกทั้งแก้ปัญหาโดมความร้อนเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ