กอ.รมน.ร่วม วช.ยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมมุ่งสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน เสริมศักยภาพชุมชนทั่วประเทศ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มมวลชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและภาคประชาชนทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม โดย กอ.รมน.และวช.ร่วมจัดกิจกรรม Kick-off เปิดตัว ”โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน โดยการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองบัวดง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน
ในการนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม Kick-off ร่วมกับ พลตรีกฤษณะ วัชรเทศ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฎิบัติที่ 1 กอ.รมน. โดยมี นาย สมชัย คล้ายทับทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ
พร้อมนี้ ผู้บริหารของกอ.รมน.และจังหวัดศรีสะเกษ คณะนักวิจัย และกลุ่มมวลชนจากจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อุดรธานี มหาสารคาม และอุบลราชธานีเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1(ศปป.1) กอ.รมน. และวช. เดินหน้าแผนระยะแรกเพื่อขยายผลทั่วประเทศ ใน 269 พื้นที่ โดยประมวลผลความต้องการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและโจทย์การเสริมสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ตรงความต้องการใช้งานของกลุ่มมวลชน
ซึ่งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปเพิ่มศักยภาพและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชนใน 5 ผลงาน ได้แก่
1) เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุน สู่ชุมชน 6 พื้นที่ ใน 6 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2) ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ สู่ชุมชน 10 พื้นที่ ใน 8 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
3) ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกหรือพาราโบล่าโดม สู่ชุมชน 4 พื้นที่ ใน 4 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร
4) เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สู่ชุมชน 18 พื้นที่ ใน 13 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
5) เครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ สู่ชุมชน 231 พื้นที่ ใน74 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและกลุ่มมวลชนของ กอ.รมน. ในพื้นที่ขยายผลนำร่อง จาก ชุมชนตาโกน อ.เมืองจันทร์,ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนพระเจ้า อ.วังหิน,ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสงยาง อ.ศิลาลาด จากจ.ศรีสะเกษ ได้ร่วมนำเสนอผลการนำนวัตกรรมเครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ไปใช้งานในชุมชนระยะแรกพบว่า สามารถลดระยะเวลาการผลิต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี พร้อมนี้ได้นำผลิตภัณฑ์ไปใช้เป็นปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรในเรื่องการเพาะปลูก รวมทั้งยังสามารถช่วยเสริมรายได้ในการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อีกด้วย
ในการนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม Kick-off ร่วมกับ พลตรีกฤษณะ วัชรเทศ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฎิบัติที่ 1 กอ.รมน. โดยมี นาย สมชัย คล้ายทับทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ
พร้อมนี้ ผู้บริหารของกอ.รมน.และจังหวัดศรีสะเกษ คณะนักวิจัย และกลุ่มมวลชนจากจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อุดรธานี มหาสารคาม และอุบลราชธานีเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1(ศปป.1) กอ.รมน. และวช. เดินหน้าแผนระยะแรกเพื่อขยายผลทั่วประเทศ ใน 269 พื้นที่ โดยประมวลผลความต้องการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและโจทย์การเสริมสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ตรงความต้องการใช้งานของกลุ่มมวลชน
ซึ่งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปเพิ่มศักยภาพและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชนใน 5 ผลงาน ได้แก่
1) เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุน สู่ชุมชน 6 พื้นที่ ใน 6 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2) ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ สู่ชุมชน 10 พื้นที่ ใน 8 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
3) ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกหรือพาราโบล่าโดม สู่ชุมชน 4 พื้นที่ ใน 4 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร
4) เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สู่ชุมชน 18 พื้นที่ ใน 13 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
5) เครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ สู่ชุมชน 231 พื้นที่ ใน74 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและกลุ่มมวลชนของ กอ.รมน. ในพื้นที่ขยายผลนำร่อง จาก ชุมชนตาโกน อ.เมืองจันทร์,ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนพระเจ้า อ.วังหิน,ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสงยาง อ.ศิลาลาด จากจ.ศรีสะเกษ ได้ร่วมนำเสนอผลการนำนวัตกรรมเครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ไปใช้งานในชุมชนระยะแรกพบว่า สามารถลดระยะเวลาการผลิต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี พร้อมนี้ได้นำผลิตภัณฑ์ไปใช้เป็นปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรในเรื่องการเพาะปลูก รวมทั้งยังสามารถช่วยเสริมรายได้ในการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อีกด้วย