ไวรัสตับอักเสบ C...รักษาได้...โอกาสหายสูง
“โรค” กับ “โลก” เป็นของคู่กันมาช้านาน แม้เราจะไม่ต้องการ แต่ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะ “มะเร็งตับ” ที่เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย และอันดับ 3 ในเพศหญิง แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่ประมาณ 20,000 ราย อัตราการเสียชีวิตประมาณ 15,000 รายต่อปี สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไวรัสตับอักเสบ B และ C ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ B และ C ที่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งตับกัน
ไวรัสตับอักเสบ B และ C ติดต่อโดยทางเลือด น้ำเหลือง สารคัดหลั่ง เพศสัมพันธ์ การสักเจาะร่างกาย ใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือติดต่อจากแม่สู่ลูก
ปัจจุบัน พบคนไทยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ C จนถึงขั้น ไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ผู้ติดเชื้อประมาณ 15-25% สามารถหายได้เอง แต่ส่วนใหญ่ 75-85% จะไม่หายและกลายเป็น ไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง หรือ พาหะของโรค ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C มีส่วนน้อยที่เกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ภายใน 10 ปีแรกจะไม่มีอาการ แต่มีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ โดยไม่รู้ตัว ไม่ได้ตรวจเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด
เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ C
ผู้ที่ได้รับเชื้อจะทราบได้โดยการตรวจเลือด เช่น 1. ตรวจการทำงานของตับ พบระดับ AST (SGOT) และ ALT (SGPT) ผิดปกติ และ 2. ตรวจหาภูมิต่อต้านไวรัสตับอักเสบ C (Anti-HCV) ในรายที่ผลเป็นบวกควรยืนยันด้วยการตรวจหา HCV RNA อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบ C รักษาได้ มีโอกาสหายสูง โดยโอกาสรักษาให้หายได้ด้วยยา ซึ่งปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ C โดยตรง ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง และใช้เวลาในการรักษาสั้นกว่าเดิม แต่ถึงกระนั้น การรักษาจะให้ผลแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบ C ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ แพทย์จะประเมินผลการรักษาเป็นระยะ เพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาท วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อโอกาสในการเจอความผิดปกติและหาทางรักษาแต่เนิ่นๆ นั่นเอง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ C หรือเรื่องสุขภาพอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษาจากทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด (โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (จังหวัดสมุทรปราการ) โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์) โรงพยาบาลพิษณุเวช (จังหวัดพิษณุโลก) และโรงพยาบาลสหเวช (จังหวัดพิจิตร)) และสามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่ www.princhealth.com
ไวรัสตับอักเสบ B และ C ติดต่อโดยทางเลือด น้ำเหลือง สารคัดหลั่ง เพศสัมพันธ์ การสักเจาะร่างกาย ใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือติดต่อจากแม่สู่ลูก
ปัจจุบัน พบคนไทยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ C จนถึงขั้น ไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ผู้ติดเชื้อประมาณ 15-25% สามารถหายได้เอง แต่ส่วนใหญ่ 75-85% จะไม่หายและกลายเป็น ไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง หรือ พาหะของโรค ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C มีส่วนน้อยที่เกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ภายใน 10 ปีแรกจะไม่มีอาการ แต่มีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ โดยไม่รู้ตัว ไม่ได้ตรวจเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด
เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ C
ผู้ที่ได้รับเชื้อจะทราบได้โดยการตรวจเลือด เช่น 1. ตรวจการทำงานของตับ พบระดับ AST (SGOT) และ ALT (SGPT) ผิดปกติ และ 2. ตรวจหาภูมิต่อต้านไวรัสตับอักเสบ C (Anti-HCV) ในรายที่ผลเป็นบวกควรยืนยันด้วยการตรวจหา HCV RNA อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบ C รักษาได้ มีโอกาสหายสูง โดยโอกาสรักษาให้หายได้ด้วยยา ซึ่งปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ C โดยตรง ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง และใช้เวลาในการรักษาสั้นกว่าเดิม แต่ถึงกระนั้น การรักษาจะให้ผลแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบ C ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ แพทย์จะประเมินผลการรักษาเป็นระยะ เพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาท วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อโอกาสในการเจอความผิดปกติและหาทางรักษาแต่เนิ่นๆ นั่นเอง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ C หรือเรื่องสุขภาพอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษาจากทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด (โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (จังหวัดสมุทรปราการ) โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์) โรงพยาบาลพิษณุเวช (จังหวัดพิษณุโลก) และโรงพยาบาลสหเวช (จังหวัดพิจิตร)) และสามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่ www.princhealth.com