เปิดฉาก ‘สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ ‘เพิ่มกิจกรรมทางกาย-การจัดการขยะ-พัฒนาพื้นที่เล่น-การแก้ปัญหายาเสพติด’
สช. เปิดฉากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ ด้วยพระคติธรรมประทานจากสมเด็จพระสังฆราชฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติคนใหม่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร) กล่าวปาฐกถา ขณะที่ประธาน คจ.สช.ประกาศ ผนึกกำลังภาคีทุกภาคส่วนจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะ ๔ ระเบียบวาระ ‘เพิ่มกิจกรรมทางกาย-จัดการขยะมูลฝอย-พัฒนาพื้นที่เล่น-ชุมชนแก้ปัญหายาเสพติด’ ด้านเลขาธิการ คสช. เดินหน้าทศวรรษ ๒ ยกระดับสมัชชาสุขภาพ เป็นเครื่องมือของสังคม
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ขึ้น ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ภายใต้แนวคิด “๑๐ ปี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ สู่สังคมสุขภาวะ” โดยมีผู้แทนจากเครือข่ายพื้นที่ ภาคประชาสังคม ชุมชนและเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพ ภาคราชการ การเมือง กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฉพาะประเด็น และผู้สนใจกว่า ๓,๐๐๐ คน
สำหรับการประชุมวันแรก (๒๐ ธ.ค.) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริ ณายก ได้ประทานพระคติธรรมแก่การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ จากนั้น พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติคนใหม่ กล่าวปาฐกถามีใจความสำคัญว่า 10 ปีของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า หลักการ แนวคิด และเทคนิค กระบวนการของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย เป็นกลไกสานพลังทางสังคมเพื่อพัฒนาสุขภาวะ และเป็นพื้นที่กลางในการเจรจาหาทางออกในประเด็นที่ขัดแย้ง จึงจะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการปฏิรูปต่อไป
ส่วน ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวย้ำว่า กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นเวทีที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ของทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะสามารถทำเรื่องที่ยากให้สำเร็จลุล่วงได้
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำคัญในวันแรก คือ พิธีประกาศธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และการลงนามขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สสส. สปสช.และ สช. เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่คณะสงฆ์และฆราวาสร่วมกันจัดทำกรอบและแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยยึดหลักการใช้ทางธรรมนำทางโลก กำหนดแนวทางการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์กันเอง การดูแลสุขภาพพระสงฆ์โดยญาติโยม และบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสุขภาวะชุมชน
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเปรียบเสมือนรูปธรรมความสำเร็จในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เป็นการสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับกลุ่มต่างๆ ในสังคมได้เข้ามาก่อรูปนโยบาย และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติร่วมกัน
สำหรับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ มีประเด็นที่ได้รับการเสนอเข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น ๔ ระเบียบวาระ ได้แก่ ๑.การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ๒.การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ๓.พัฒนาการพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา ๔.ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
“ทั้ง ๔ ระเบียบวาระนี้ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งสุขภาวะโดยรวมของคนไทย จำเป็นจะต้องมีกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะอย่างเร่งด่วน และเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนอย่างแท้จริง” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว
ทางด้าน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่า ตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมา เครื่องมือทั้ง ๔ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ อันประกอบด้วย สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และสิทธิด้านสุขภาพ ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม แต่การดำเนินงานในทศวรรษที่ ๒ จำเป็นต้องขยายผลให้งอกงามขึ้น โดยเฉพาะสมัชชาสุขภาพที่ต้องยกระดับขึ้นไปสู่จุดที่กลายเป็นเครื่องมือของชาติ
สำหรับทิศทางสำคัญของการปรับเปลี่ยน ได้แก่ ๑.สมัชชาสุขภาพต้องครบวงจร เมื่อขึ้นมติมาแล้วก็ต้องต่อยอดไปสู่การขับเคลื่อนได้จริง ที่สำคัญก็คือต้องมีความพิถีพิถันในการขึ้นมติ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์หรือข้อมูลวิชาการ และต้องเป็นเรื่องที่เร่งด่วน มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก อยู่ในวิสัยที่จะทำให้สำเร็จได้ และต้องมีเจ้าภาพของประเด็นที่ชัดเจน ๒.สมัชชาสุขภาพต้องมีระบบฐานสมาชิกที่ทันสมัย แน่นอน มั่นคง และชัดเจน ๓.สมัชชาสุขภาพจะต้องทำหน้าที่สานพลังข้ามกลุ่มต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจาต่อรองหาทางออกที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยไม่มีการเผชิญหน้าในฐานะคู่ขัดแย้งกัน
“ในประเด็นที่เย็น เราจะได้เห็นความเป็นนักสานพลังระหว่างภาคีต่างๆ ส่วนในประเด็นที่ร้อน เราจะได้เห็นบทบาทการเป็นกลไกไกล่เกลี่ยต่อรองเพื่อหาทางออกร่วมกัน ฉะนั้นทศวรรษที่สองนี้ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะต้องยกสถานะตัวเองให้เป็นเครื่องมือของชาติ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป” นายแพทย์พลเดช กล่าว
อนึ่ง งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๖๐ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ภายใต้แนวคิด “๑๐ ปี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ สู่สังคมสุขภาวะ” โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลาย โดยเฉพาะการเสวนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ อาทิ สุขภาวะชาวสวนยาง การส่งเสริมกีฬามวยไทยเด็ก...ยุติมวยเด็กหาเงิน การผลักดัน พ.ร.บ.เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย “ทุกข์เศร้าใต้เงาเพศภาวะ : รากเหง้าของภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงและการบำบัดที่ยั่งยืน” เป็นต้น
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ขึ้น ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ภายใต้แนวคิด “๑๐ ปี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ สู่สังคมสุขภาวะ” โดยมีผู้แทนจากเครือข่ายพื้นที่ ภาคประชาสังคม ชุมชนและเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพ ภาคราชการ การเมือง กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฉพาะประเด็น และผู้สนใจกว่า ๓,๐๐๐ คน
ส่วน ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวย้ำว่า กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นเวทีที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ของทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะสามารถทำเรื่องที่ยากให้สำเร็จลุล่วงได้
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำคัญในวันแรก คือ พิธีประกาศธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และการลงนามขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สสส. สปสช.และ สช. เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่คณะสงฆ์และฆราวาสร่วมกันจัดทำกรอบและแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยยึดหลักการใช้ทางธรรมนำทางโลก กำหนดแนวทางการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์กันเอง การดูแลสุขภาพพระสงฆ์โดยญาติโยม และบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสุขภาวะชุมชน
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเปรียบเสมือนรูปธรรมความสำเร็จในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เป็นการสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับกลุ่มต่างๆ ในสังคมได้เข้ามาก่อรูปนโยบาย และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติร่วมกัน
สำหรับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ มีประเด็นที่ได้รับการเสนอเข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น ๔ ระเบียบวาระ ได้แก่ ๑.การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ๒.การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ๓.พัฒนาการพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา ๔.ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
“ทั้ง ๔ ระเบียบวาระนี้ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งสุขภาวะโดยรวมของคนไทย จำเป็นจะต้องมีกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะอย่างเร่งด่วน และเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนอย่างแท้จริง” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว
ทางด้าน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่า ตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมา เครื่องมือทั้ง ๔ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ อันประกอบด้วย สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และสิทธิด้านสุขภาพ ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม แต่การดำเนินงานในทศวรรษที่ ๒ จำเป็นต้องขยายผลให้งอกงามขึ้น โดยเฉพาะสมัชชาสุขภาพที่ต้องยกระดับขึ้นไปสู่จุดที่กลายเป็นเครื่องมือของชาติ
สำหรับทิศทางสำคัญของการปรับเปลี่ยน ได้แก่ ๑.สมัชชาสุขภาพต้องครบวงจร เมื่อขึ้นมติมาแล้วก็ต้องต่อยอดไปสู่การขับเคลื่อนได้จริง ที่สำคัญก็คือต้องมีความพิถีพิถันในการขึ้นมติ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์หรือข้อมูลวิชาการ และต้องเป็นเรื่องที่เร่งด่วน มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก อยู่ในวิสัยที่จะทำให้สำเร็จได้ และต้องมีเจ้าภาพของประเด็นที่ชัดเจน ๒.สมัชชาสุขภาพต้องมีระบบฐานสมาชิกที่ทันสมัย แน่นอน มั่นคง และชัดเจน ๓.สมัชชาสุขภาพจะต้องทำหน้าที่สานพลังข้ามกลุ่มต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจาต่อรองหาทางออกที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยไม่มีการเผชิญหน้าในฐานะคู่ขัดแย้งกัน
“ในประเด็นที่เย็น เราจะได้เห็นความเป็นนักสานพลังระหว่างภาคีต่างๆ ส่วนในประเด็นที่ร้อน เราจะได้เห็นบทบาทการเป็นกลไกไกล่เกลี่ยต่อรองเพื่อหาทางออกร่วมกัน ฉะนั้นทศวรรษที่สองนี้ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะต้องยกสถานะตัวเองให้เป็นเครื่องมือของชาติ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป” นายแพทย์พลเดช กล่าว
อนึ่ง งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๖๐ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ภายใต้แนวคิด “๑๐ ปี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ สู่สังคมสุขภาวะ” โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลาย โดยเฉพาะการเสวนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ อาทิ สุขภาวะชาวสวนยาง การส่งเสริมกีฬามวยไทยเด็ก...ยุติมวยเด็กหาเงิน การผลักดัน พ.ร.บ.เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย “ทุกข์เศร้าใต้เงาเพศภาวะ : รากเหง้าของภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงและการบำบัดที่ยั่งยืน” เป็นต้น