ADS


Breaking News

ด่วน! WannaCry แรง ร้าย กระจายทั่วโลก แคสเปอร์สกี้ แลป เตือนถ้าไม่อยากร้องไห้ ต้องรีบหยุดมัน!

     เพียงไม่กี่วันที่ผ่านมา โทรจันเอ็นคริปเตอร์ที่ชื่อ WannaCry ได้เริ่มระบาดและแพร่กระจายไปทั่วโลก คอสติน ไรอู ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป (ทีม GReAT) ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญตรวจพบเหตุการณ์โจมตีมากกว่า 45,000 รายการ ซึ่งจริงๆ แล้ว มีจำนวนมากกกว่านั้นแน่นอน  

เกิดอะไรขึ้นกันแน่?

     องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากต่างก็แจ้งการติดเชื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือโรงพยาบาลในอังกฤษที่ต้องหยุดการดำเนินงานทั้งหมด พบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อ Wannacry แล้วมากกว่าหนึ่งแสนเครื่องทั่วโลก 
     การโจมตีส่วนมากเกิดขึ้นในรัสเซีย แต่ที่ยูเครน อินเดีย และไต้หวัน ก็เสียหายมหาศาลเช่นเดียวกัน ในวันแรกของการโจมตี พบว่า มีประเทศที่ได้รับความเสียหายมากถึง 74 ประเทศ

    ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของสเปน (CCN-CERT) ออกประกาศแจ้งเตือนพร้อมระบุว่า การโจมตีแรนซัมแวร์ครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบต่อองค์กรมากมายหลายแห่งในสเปน สำนักงานการบริการด้านสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักรออกประกาศยอมรับว่า สถาบันสุขภาพ 16 แห่งติดเชื้อแรนซัมแวร์ตัวนี้แล้วเช่นกัน 
WannaCry คืออะไร

     WannaCry แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือเป็นเอ็กพลอต์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการติดเชื้อและแพร่กระจาย ส่วนที่สองคือส่วนที่เป็นเอ็นคริปเตอร์ที่ถูกดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์หลังจากที่ติดเชื้อแล้ว ซึ่งนับเป็นลักษณะที่แตกต่างชัดเจนระหว่าง WannaCry กับเอ็นคริปเตอร์ตัวอื่นๆ ในการทำให้คอมพิวเตอร์ติดเชื้อด้วยเอ็นคริปเตอร์ธรรมดานั้น ยูสเซอร์จะต้องทำพลาด เช่น กด link น่าสงสัย ปล่อยในไมโครซอฟท์เวิร์ดรันมาโครแปลกปลอม หรือดาวน์โหลดไฟล์แนบน่าสงสัยจากอีเมล แต่สำหรับ WannaCry แล้ว ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดเชื้อได้ โดยไม่ต้องทำอะไรเลย

WannaCry เอ็กพลอต์และการแพร่กระจาย

     ผู้คิดค้น WannaCry ได้ใช้ประโยชน์จากวินโดวส์เอ็กพลอต์ที่ชื่อว่า “EternalBlue” ซึ่งมีช่องโหว่ที่ไมโครซอฟท์ได้แพทช์ไว้ในซีเคียวริตี้อัพเดท MS17-010 วันที่ 14 มีนาคม 2017 การใช้เอ็กพลอต์นี้ จะสามารถรีโมทแอคเซสเข้าคอมพิวเตอร์และติดตั้งเอ็นคริปเตอร์ได้ทันที

     ถ้ายูสเซอร์อัพเดทแล้ว ช่องโหว่นี้ก็จะหายไป ไม่สามารถโดนรีโมทแอคเซสเข้ามาได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญของ GReAT ระบุว่า การแพทช์ช่องโหว่ไม่สามารถขัดขวางวิธีการอื่นๆ ของเอ็นคริปเตอร์ได้ ถ้ายูสเซอร์ทำพลาดอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น แพทช์ก็จะไม่ช่วยอะไร  

     เมื่อแฮกเข้าเครื่องได้สำเร็จ WannaCry จะพยายามแพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นทั่วเน็ตเวิร์กในแบบเวิร์ม ตัวเอ็นคริปเตอร์จะสแกนหาคอมพิวเตอร์ที่มีช่องโหว่เดียวกันเพื่อเอ็กพลอต์โดยอาศัย “EternalBlue” และโจมตีด้วยการเอ็นคริปต์ไฟล์ในเครื่อง

     ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ตอนที่ WannaCry ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดเชื้อ อาจจะแพร่ไปถึงเน็ตเวิร์กแลนทั้งระบบ และเอ็นคริปต์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กได้ ยิ่งเหยื่อเป็นบริษัทขนาดใหญ่มากเท่าใด มีคอมพิวเตอร์จำนวนมากแค่ไหน ก็จะยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น

WannaCry ตัวเอ็นคริปเตอร์

    ตัวเอ็นคริปเตอร์ของ WannaCry มีชื่อเรียกว่า WCrypt or WannaCry Decryptor (ชื่อหลอกว่าดีคริปเตอร์ แต่จริงๆ คือเป็นตัวเอ็นคริปเตอร์) ทำงานเหมือนเอ็นคริปเตอร์ตัวอื่นๆ คือการเข้ารหัสไฟล์ในคอมพิวเตอร์และเรียกร้องให้จ่ายเงินค่าไถ่เพื่อถอดรหัสคืนให้

    WannaCry เข้ารหัสไฟล์ได้หลายประเภท รวมถึงไฟล์เอกสารไมโครซอฟท์ออฟฟิศ รูปภาพ วิดีโอ และไฟล์อื่นๆ ที่เก็บข้อมูลสำคัญของยูสเซอร์ เมื่อเข้ารหัสแล้วจะเปลี่ยนนามสกุลไฟล์เป็น .WCRY และยูสเซอร์ไม่สามารถเปิดไฟล์นั้นได้อีก จากนั้น ตัวโทรจันก็จะเปลี่ยนภาพบนหน้าจอเดสท็อปเป็นข้อมูลการติดเชื้อและขั้นตอนให้ยูสเซอร์ทำตามหากต้องการได้ไฟล์คืน นอกจากนี้ ยังส่งไฟล์ข้อความระบุคำเตือนเดียวกันนี้ไปยังโฟลเดอร์ต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่ายูสเซอร์จะต้องเห็นข้อความเรียกค่าไถ่นี้แน่นอน
     โดยทั่วไปโจรไซเบอร์จะเรียกเงินค่าไถ่เป็นเงินบิตคอยน์ ค่าไถ่เริ่มต้นจะกำหนดไว้ที่ $300 แต่มักจะเพิ่มเงินค่าไถ่ขึ้นอีกเรื่อยๆ ล่าสุด WannaCry เรียกค่าไถ่สูงถึง $600 หรือประมาณ 20,000 บาท นอกจากนี้ยังขู่ว่าต้องจ่ายเงินค่าไถ่ภายใน 3 วัน และจะถอดรหัสไฟล์ให้ใน 7 วัน แคสเปอร์สกี้ แลป ไม่แนะนำให้ยูสเซอร์จ่ายค่าไถ่เป็นอันขาด เนื่องจากไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่า โจรไซเบอร์จะถอดรหัสไฟล์ให้ตามที่บอก และยังพบเหตุการณ์ที่โจรไซเบอร์ลบข้อมูลยูสเซอร์ทิ้ง ทำให้ไม่สามารถถอดรหัสไฟล์ได้เลย

จะป้องกันตัวเองจาก WannaCry ได้อย่างไร

     โชคร้ายที่ไม่มีวิธีการถอดรหัสไฟล์ที่ถูก WannaCry เข้ารหัสไว้ วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ติดเชื้อได้ตั้งแต่แรก นั่นคือ
  • ถ้ายูสเซอร์ใช้งานโซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ แลป อยู่แล้ว แนะนำให้สแกนแบบแมนวลสำหรับพื้นที่สำคัญ  (critical area) และเมื่อโซลูชั่นตรวจเจอมัลแวร์ MEM:Trojan.Win64.EquationDrug.gen ให้รีบูตระบบทันที
  • ให้ยูสเซอร์เปิดฟีเจอร์ System Watcher ของแคสเปอร์สกี้ แลป เพื่อช่วยตรวจสอบมัลแวร์ใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
  • รีบอัพเดทซอฟต์แวร์ของวินโดวส์ คือ ตัวซีเคียวริตี้อัพเดท Microsoft Security Bulletin MS17-01 โดยเฉพาะวินโดวส์รุ่นที่ไม่ซัพพอร์ตแล้วอย่าง Windows XP หรือ Windows 2003
  • แบ็คอัพไฟล์อย่างสม่ำเสมอ และเก็บสำรองข้อมูลในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถ้ายูสเซอร์มีไฟล์แบ็คอัพล่าสุดอยู่ เมื่อโดน WannaCry โจมตี ก็จะไม่ถึงขั้นหายนะ แต่ต้องเสียเวลาหลายชั่วโมงเพื่อติดตั้งระบบใหม่ ยูสเซอร์ของแคสเปอร์สกี้ แลป หากไม่ต้องการแบ็คอัพข้อมูลเอง สามารถเลือกใช้ฟีเจอร์แบ็คอัพอัตโนมัติของ Kaspersky Total Security ได้
  • เลือกใช้แอนตี้ไวรัสที่น่าเชื่อถือ Kaspersky Internet Security สามารถตรวจจับ WannaCry ได้ทั้งจากในเครื่องและตอนพยายามแพร่กระจายทั่วเน็ตเวิร์ก ฟีเจอร์ System Watcher เป็นโมดูลบิ้วต์อิน ที่จะช่วยย้อนกลับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเข้ารหัสไฟล์ได้

โซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับมัลแวร์ที่ใช้ในการโจมตี WannaCry ครั้งนี้ในชื่อต่างๆ ต่อไปนี้
  • Trojan-Ransom.Win32.Scatter.uf
  • Trojan-Ransom.Win32.Scatter.tr
  • Trojan-Ransom.Win32.Fury.fr
  • Trojan-Ransom.Win32.Gen.djd
  • Trojan-Ransom.Win32.Wanna.b
  • Trojan-Ransom.Win32.Wanna.c
  • Trojan-Ransom.Win32.Wanna.d
  • Trojan-Ransom.Win32.Wanna.f
  • Trojan-Ransom.Win32.Zapchast.i
  • Trojan.Win64.EquationDrug.gen
  • Trojan.Win32.Generic (the System Watcher component must be enabled)

ข้อมูลเพิ่มเติม
  • WannaCry: Are you safe?
https://blog.kaspersky.com/wannacry-ransomware/16518/
  • WannaCry ransomware used in widespread attacks all over the world
https://securelist.com/blog/incidents/78351/wannacry-ransomware-used-in-widespread-attacks-all-over-the-world/

###
เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป
     แคสเปอร์สกี้ แลปก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kasperesky.com