อนันดา ปฏิวัติวงการอสังหาฯ ปรับโครงสร้างสู่ Tech Company รายแรก ! เปิดตัว Ananda UrbanTech ยกระดับชีวิตเมืองยุคใหม่ให้ดียิ่งกว่า
บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ปฏิวัติวงการอสังหาฯรายแรก ประกาศตัวเป็น “Tech Company” ของวงการ ตอกย้ำความเป็นผู้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ พร้อมเปิดตัว Ananda UrbanTech ที่นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนา ยกระดับมาตรฐานในการขับเคลื่อนองค์กรและโครงการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดและผู้บริโภค สร้างสรรรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองให้มีความทันสมัยและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น พร้อมโชว์ศักยภาพ Ananda Campus สำนักงานที่ชาญฉลาดที่สุดในเอเชียที่พร้อมสร้างการเติบโตให้แก่อนันดาถึง 300% ในอีกสามปีข้างหน้า เปิดตัวโครงการนำร่อง บริการระบบ ฮอปคาร์ (Haupcar) ) หรือบริการ car-sharing ในโครงการ ไอดีโอ คิว จุฬา-สามย่าน และ ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท อีสท์เกสต์ เทคโนโลยีล้ำสมัยที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง เริ่มให้บริการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ พร้อมเสริมความแข็งแกร่งจับมือกับพันธมิตรแถวหน้า อาทิ Hubba , Seedstars , Sasin , Builk ฯลฯ ที่เชี่ยวชาญด้าน Startup มาร่วมกันคัดสรรนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆที่อนันดาฯสามารถนำมาพัฒนาใช้ในธุรกิจหลักได้ในอนาคต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Ananda UrbanTech ช่วยสร้างสรรไลฟ์สไตล์ใหม่ๆพร้อมยกระดับชีวิตคนเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา อนันดาฯ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี จนกลายเป็นผู้นำอสังหาริมทรัพย์ติดรถไฟฟ้าและผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยของคนเมืองในด้านต่างๆ อนันดาฯ ให้ความสำคัญในการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาผสานในทุกองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เริ่มตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการก่อสร้าง รวมไปถึงการเงิน การตลาด และ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในโครงการ ผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ ที่อนันดาฯ ตั้งใจนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าของเราและชีวิตคนเมือง
จากผลสำรวจทางสถิติในปีพ.ศ. 2478 พบว่า 500 บริษัทในสหรัฐมีอายุเฉลี่ย 90 ปี และสำรวจอีกครั้งเมื่อปีพ.ศ. 2548 พบว่าอายุเฉลี่ยของบริษัทใน Fortune 500 ได้ลดลงเหลือเพียง 15 ปี โดยมีแนวโน้มที่จะลดลงต่ำกว่า 10 ปีนับจากนี้ (Source : Professor Charles A. O’Reilly III, Stanford Business School YPO 2016 ) ดังนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งธุรกิจและความสำเร็จต่อไปในอนาคต บริษัทจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมและปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา” นายชานนท์กล่าว
โดยในระยะเวลา 5-10 ปีต่อจากนี้ เทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และยังมีผลต่อกระบวนการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น วิธีการก่อสร้าง การออกแบบ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ที่จะเข้ามาบูรณาการการใช้ชีวิต สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยประหยัดเวลา มีนวัตกรรมที่ช่วยดูแลสุขภาพ ช่วยดูแลเด็กและผู้สูงอายุ เรียกว่าเทคโนโลยีจะเข้าไปมีบทบาทในทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต
ดังนั้นบรรดาธุรกิจต่างๆ ต้องมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยอันดับแรกๆ ที่ผู้นำทางธุรกิจจะเลือกใช้เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตน และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่โครงการที่อยู่อาศัยจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เป็นแค่วัสดุในรูปทรงนั้นๆ ในสถานที่นั้นๆ สู่สิ่งที่สามารถอำนวยความสะดวกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของคนในชุมชนเมือง
ด้วยเหตุผลนี้ อนันดาฯ จึงได้ดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารพร้อมแต่งตั้งคณะผู้บริหารขึ้นมาเพื่อรับหน้าที่เป็นการเฉพาะ และเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนบริษัทไปสู่การเป็น Tech Company โดยได้มีการแต่งตั้งผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ ได้แก่ ดร. เชษฐ์ ยง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายนวัตกรรม (Chief Innovation Officer) มีหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมการเป็น 'Think Tank' หรือ ศูนย์รวมทางความคิดเพื่อเสริมเข้ากับนวัตกรรมทั้งหมด และ ดร. จอห์น มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ เป็นผู้มีบทบาทอันหลากหลายและเป็นผู้วางแผนกลยุทธ์นวัตกรรมใหม่ของบริษัท
“Ananda UrbanTech” เป็นการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตระหนักดีว่าเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกพื้นที่และทุกประเภทของเทคโนโลยี จึงทำให้ต้องเร่งสร้าง Solutions ใหม่ๆ ที่สามารถเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล
อนันดาฯ ให้การสนับสนุนและริเริ่มนวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ๆที่จะเริ่มมีให้เห็นในปีนี้ และบางส่วนได้มีการริเริ่มไปก่อนหน้านี้โดยจะมีการขยายผลเพิ่มขึ้น ประเดิมก้าวแรกด้วยเทคโนโลยีใหม่เพื่อความสะดวกสบาย ได้แก่ การจับมือกับ Haupcar Co, ผู้ให้บริการ ฮอปคาร์ (Haupcar) ซึ่งเป็นการให้บริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยระบบ car-sharing ให้บริการรถเช่าในรูปแบบการบริการตนเอง โดยเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการใช้รถร่วมกันผ่านทางสมาร์ทโฟน ที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถขับรถหรือ แบ่งปันรถยนต์ใช้ระหว่างกันได้ตลอดเวลาซึ่งเป็นการตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองที่สะดวกสบายอย่างแท้จริง
“กลยุทธ์ที่สำคัญของอนันดาฯ คือการบริหารจัดการการเข้าถึงความรู้ด้านเทคโนโลยี และการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากนวัตกรรมที่มีอัตราการล้มเหลวสูงเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นสองประการ ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารจัดการนวัตกรรมจากภายนอก ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. การสนับสนุนระบบ Ecosystem หรือ ระบบนิเวศน์ของนวัตกรรม ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนผู้ริเริ่มนวัตกรรมอื่นๆ ในระบบนิเวศน์มากกว่าการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกหรือกิจกรรมการแข่งขันให้ผู้ริเริ่มนวัตกรรมอื่นๆ โดยอนันดาฯ จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นมากกว่าการลงมือทำเอง ซึ่งจะสนับสนุนการบ่มเพาะทางธุรกิจ และการเฟ้นหาธุรกิจใหม่ๆ มากกว่าการทำโดยลำพัง สิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ความคิด ความรู้ และผู้คนได้อย่างกว้างขวางโดยมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง
การสนับสนุน Ecosystem เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและก้าวสู่การเป็น UrbanTech Company ตลอดจนสร้างสรรค์บริการต่างๆ ให้สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง ซึ่งอนันดาฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับแถวหน้าอย่าง Hubba Thailand ในการสร้าง Ecosystem ที่ดีที่สุดให้แก่สตาร์ทอัพไทย และให้การสนับสนุน Startup, Incubator (โครงการที่ช่วยบ่มเพาะ Startup ตั้งแต่เริ่มต้นมีไอเดียจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด) และ Accelerators (โครงการที่ช่วยผลักดันให้ Startup ที่มีผลิตภัณฑ์สามารถเติบโตขยายธุรกิจออกไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น) ที่มีอยู่แล้วแทนที่จะมาแข่งขันกันเองเพื่อได้แลกเปลี่ยนไอเดีย แรงบันดาลใจ และคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่อนันดาฯ ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัด Hackathon, Tech Meet-up, Techsauce summit เป็นต้น โดยที่ผ่านมาอนันดาฯ ให้การสนับสนุน Digital Ventures หนึ่งในพันธมิตรเพื่อประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและพนักงานของบริษัท นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น งานเปิดตัว LINE Finance, การประชุมและฝึกอบรมร่วมกับ Seedstars และให้การสนับสนุนการเดินทางร่วมกับทีมบริหารระดับสูง ของอนันดาฯ เพื่อเดินทางไปศึกษาอบรมที่ Silicon Valley's Singularity University นำมาซึ่งกลยุทธ์ในการสนับสนุนและผลักดันให้เหล่าสตาร์ทอัพได้สามารถเข้าถึงเครือข่าย เทคโนโลยี และ Know-How ต่างๆ เพื่อเป็น UrbanTech Startup ที่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และล่าสุด อนันดาฯ และศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการ แห่งศศินทร์ (Sasin Center for Entrepreneurship) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตกลงความร่วมมือกันเพื่อดำเนินงานวิจัยระบบนิเวศน์นวัตกรรมท้องถิ่น เพื่อความร่วมมือที่ดีขึ้นของชุมชนอีกด้วย 2. การจัดตั้งเงินกองทุน ( Fund of Fund ) ซึ่งเป็นการลงทุนในกองทุนต่างๆทั่วโลก ทั้งในด้านนวัตกรรมใหม่ๆ และเพื่อร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ 3. การบริหารกิจการร่วมทุน ( Corporate Venture Capital) คือ การร่วมลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพและมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาเสริมธุรกิจขององค์กรในอนาคตได้ และอีกหนึ่งกลยุทธ์ คือ การบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร ซึ่งจะเป็นโครงสร้างของวิธีการจัดการนวัตกรรมโดยบริษัทของอนันดาฯเอง มีอยู่สองวิธี คือ วิธีที่ความคิดใหม่ๆจะถูกประเมินและดำเนินการอย่างไร และมีวิธีการอย่างไรที่จะค้นหาคำตอบในการแก้ปัญหาสำหรับลูกค้า และหน่วยธุรกิจต่างๆของอนันดาฯ ให้จงได้”
อนันดาฯ ไม่เพียงปรับเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจเท่านั้น หากรวมไปถึงการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานมีความพร้อมเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างองค์กรสู่ Tech Company อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่อนันดาฯ ดำเนินการมาแล้ว 2-3 ปีก่อนหน้านี้ โดยอันดับแรกคือการทำงานภายใต้บรรยากาศบ้านหลังใหม่ที่มีความทันสมัยมากที่สุดที่อาคาร FYI Center ถนนพระราม 4 ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ภายใต้ชื่อ Ananda Campus ที่ต้องการเปลี่ยนให้เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการประสานความร่วมมือกัน ( Collaboration ) มีพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน ทั้งเพื่อการทำงาน จุดพักผ่อนส่วนรวม และมุมทำงานส่วนตัว โดยนอกจากห้องทำงานกับห้องประชุมแล้ว ก็ยังมีมุมให้พนักงานเลือกพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย เพื่อลดปัญหาการสื่อสารภายใน รองรับการขยายตัวของธุรกิจ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคนในบริษัทซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับออฟฟิศระดับเวิร์ลคลาสในต่างประเทศ
นอกจากนี้ อนันดาฯ ได้สร้างสรรค์พื้นที่การทำงานให้เป็น Smart Office ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่นี้ โดยเป็นสำนักงานที่ชาญฉลาดที่สุดในเอเชีย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อาทิ Samsung , Cisco , Fujisu เราได้รวบรวมเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีการขายนอกทวีปอเมริกาเหนือมาก่อนมาไว้ที่นี่ สำนักงานนี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการเติบโตของบริษัทได้ถึง 300% ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน นั่นหมายถึง เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทุกคน
โดยอนันดาฯ เป็นบริษัทแรกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่ได้เริ่มใช้ Workplace by Facebook เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้พนักงานในองค์กรสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น (Collaboration) เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing ) และติดตามข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ภายในบริษัทในตลอดเวลา
อนันดาฯ ในฐานะผู้นำวงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง ผู้นำตลาดคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้วางตำแหน่งเป็นเพียงผู้ประกอบการอสังหาฯ เท่านั้น หากแต่ยังมุ่งมั่นเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาการใช้ชีวิตของคนเมือง หรือ Urban Living Solutions ผ่านกลยุทธ์ UrbanTech เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถยกระดับการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างเป็นรูปธรรมรายแรกของไทย นำมาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนของคนเมือง
HUBBA
HUBBA คือ องค์กรที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างระบบนิเวศของสินค้า และบริการให้เจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งในแง่ของการเพิ่มผลผลิตสินค้า และผลประกอบการ
HUBBA มาจากคำว่า “Hub” (ศูนย์รวม) ในภาษาอังกฤษ และคำว่า “บ้า” (Crazy/Ba) ในภาษาไทย ให้บริการสมาชิกกว่า 12,000 คนจาก 6 ทวีปทั่วโลก ในการสร้างพื้นที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม เปลี่ยนพื้นที่ทำงานในรูปแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ที่สมาชิกสามารถใช้ความคิดสร้างสรรรค์และนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรูปแบบของธุรกิจตัวเองได้
ภารกิจของ HUBBA คือการสร้างโลกแห่งสถานที่ทำงานที่ดีกว่า โดยเพิ่มความใส่ใจ แรงบันดาลใจ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากชุมชน เพื่อให้ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นประสบความสำเร็จได้อย่างในระดับมืออาชีพ ตลอดจนการสร้างสินค้าและบริการที่หลากหลายในระบบนิเวศ เช่น การสร้างพื้นที่ให้เช่าสำหรับสถานที่ทำงาน บริการรับจัดกิจกรรม (Event) สถาบันเพื่อการเรียนรู้ (HUBBA Academy) เป็นต้น
HUBBA ประเทศไทย คือ สถานที่ให้เช่าพื้นที่ทำงานแห่งแรกของเมืองไทย ที่ได้แนวความคิดมาจากพื้นที่ทำงานในสไตล์ของ Silicon Valley ตั้งอยู่ในย่านเอกมัย และทองหล่อ ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบจากสำนักงานทั่วไปให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานที่คนในชุมชนสามารถสร้างความสัมพันธ์ และเครือข่าย (Connection) ร่วมกันระหว่างสมาชิกได้ เกิดการแบ่งปันไอเดียและแชร์ประสบการณ์ที่เป็นความชำนาญเฉพาะทางของแต่ละบุคคล สร้างแรงจูงใจและเก็บเกี่ยวความรู้จากเพื่อนร่วมสมาชิกเพื่อนำมาต่อยอดธุรกิจได้
Haupcar
Haupcar (ฮอปคาร์) เป็นผู้ผลิตแพลตฟอร์มและให้บริการ car-sharing รายแรกของไทย ให้คุณเดินทางไปกับรถส่วนตัวได้อย่างรวดเร็วและสะดวก เหมือนคุณเป็นเจ้าของรถ ประหยัดค่าเดินทางให้คุณจ่ายตามเวลาที่จองขับได้ตั้งแต่ 30 นาที ถึง 1 วัน และจ่ายตามระยะทางที่ขับ ราคารวม น้ำมัน ประกัน การดูแลรักษา และที่จอดรถ ทั้งเร็ว ทั้งง่าย ทั้งประหยัด
Haupcar Co, คือผู้บุกเบิกรายแรกๆ ที่ใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือเป็นครั้งแรก สำหรับรถเช่าระยะสั้นในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นโดยพี่น้อง 2 คนที่จบการศึกษาจากอเมริกาและอังกฤษ Haupcar เป็นการให้บริการรถเช่าแบบบริการตนเองขั้นสูง ที่รู้จักกันว่าเป็นการใช้รถร่วมกันผ่านทางสมาร์ทโฟน ซึ่งอนุญาตให้ทุกคนขับรถหรือแบ่งปันรถยนต์ใช้ระหว่างกันได้ตลอดเวลา ลูกค้าเพียงแค่เลือกและใช้รถคันที่พวกเขาต้องการ ณ จุดให้บริการที่ใกล้ที่สุดพร้อมทั้งปลดล็อครถด้วยสมาร์ทโฟนหรือบัตร Haupcar ด้วยการ์ดและการประกัน คุณเพียงแค่จ่ายตามชั่วโมงและระยะทางที่คุณขับตามจริง
Haupcar ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2559 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดย นายธนวัฒน์ วิชัยพัฒนาพานิชย์ และ นายกฤษณ์ วิชัยพัฒนาพานิชย์ การให้บริการรถร่วม Haupcar ได้เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2559 โดยใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน ใช้งานได้ทั้งระบบ iOS และ Android รูปแบบธุรกิจ Haupcar คล้ายกับ Zipcar ที่เป็นการแบ่งปันการใช้รถร่วมกันที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นศูนย์บริการรถยนต์ของโลก เป็นทางเลือกหนึ่งของรถเช่าแบบดั้งเดิมและยังมีการถือครองเป็นเจ้าของรถ
Haupcar คิดราคา 49-55 บาทต่อ 30 นาทีและหลังจากนั้นคิดราคา 5.50 บาทต่อกิโลเมตร หรือคิดค่าใช้จ่าย 1,300-1,500 บาทต่อวัน และ 5.50 บาทต่อกิโลเมตรในกรณี100กิโลขึ้นไป ลูกค้าที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Haupcar โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
Haupcar มีให้บริการหลายแห่ง อาทิเช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และแหล่งใจกลางเมืองใกล้เส้นรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯอีก 5 แห่ง ได้แก่- อารีย์, อโศก, สีลม, สาทรและกรุงธนบุรี ปัจจุบันอนันดาฯได้เปิดตัวโครงการนำร่องบริการระบบ ฮอปคาร์ ในโครงการ ไอดีโอ คิว จุฬา-สามย่าน และ ไอดีโอ โมบิ อีสท์เกสต์
Ananda Campus
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง : อาคาร เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ชั้น 11-12 ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
พื้นที่ทั้งหมด 8,225 ตารางเมตร
พื้นที่ส่วนสำนักงาน 5,741 ตารางเมตร
พื้นที่ห้องประชุม 900 ตารางเมตร
พื้นที่ส่วนสันทนาการ 1,100 ตารางเมตร
จำนวนห้องประชุม 45 ห้อง (450 ที่นั่ง)
ห้องประชุม แบ่งเป็นขนาด XS,S, M, L, XL ตามจำนวนที่นั่งของการใช้งาน โดยใช้ชื่อห้องประชุมตามชื่อสถานีรถไฟฟ้า
วัฒนธรรมองค์กร (Ananda Culture)
- เน้นการประสานความร่วมมือกัน (Collaboration)
- เปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้พื้นที่ Town Hall สำหรับกิจรรมสันทนาการ หรือร่วมแบ่งปันความรู้และเรื่องราวดี ๆ ระหว่างกัน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ ๆ
- พนักงานสามารถระบุเลือกที่นั่งได้ตามความต้องการในแต่ละวัน ด้วยคอนเซปต์โต๊ะทำงานแบบ Hot-Desk ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน และลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารภายใน
- ส่วนสันทนาการ (Recreation)
- สร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีด้วยต้นไม้ ทั้งบริเวณพื้นที่ส่วนรวมและกระจายอยู่ทั่วสำนักงาน ช่วยเพิ่มออกซิเจนและอากาศที่บริสุทธิ์ให้กับพนักงาน
- มีระบบปรับอากาศ (Fresh Air) เพื่อลดและตรวจสอบค่าของคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สร้างอากาศที่ดีให้กับพนักงาน
- จัดเตรียมอาหารกลางวันและคาเฟ่เพื่อสุขภาพจากร้าน Kloset สำหรับพนักงานทุกคน
- มุมพักผ่อนส่วนตัว (Nap Pod)
- มีมุมพักผ่อนหรือทำงานส่วนตัว (Quiet Zone) สร้างสมาธิที่ดีในการทำงาน
- สร้างสมดุลย์ให้กับการทำงาน (Work and Play)
- พื้นที่ทำงานส่วนตัวหลากหลายรูปแบบ (Private Working Zone) โต๊ะส่วนกลางที่สามารถใช้เป็นที่ประชุมกลุ่มย่อยได้โดยไม่ต้องเข้าห้องประชุม หลุดจากกรอบการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ และเพิ่มแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
- กำแพงที่สามารถขีดเขียน หรือสร้างงานศิลปะได้ตามต้องการ (Inspiration wall)
- บรรยากาศการทำงานแบบผ่อนคลาย (Casual Environment)
- สร้างบรรยากาศการทำงานให้รู้สึกผ่อนคลาย ด้วยงานศิลปะบนกำแพง (Wall Art) จากศิลปินสตรีทอาร์ท (Street Art) โดย Rukkit , P7 , Wais One
- แต่งกายแบบลำลอง (Smart Casual) และรองเท้าผ้าใบ (Sneakers) ลดความเป็นทางการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบคนรุ่นใหม่
สำนักงานที่ชาญฉลาดที่สุดในเอเชีย (Smart Office)
- การลงทะเบียนทางออนไลน์ (Smart Registration System)
ระบบการลงทะเบียนเพื่อจองโต๊ะทำงาน และห้องประชุมผ่านแอพพลิเคชั่นทางสมาร์ทโฟน เว็บไซต์ หรือ คิออส (Smart Kiosk) ช่วยให้พนักงานมีความสะดวกสบายในการจองห้องประชุม และสามารถจองห้องประชุม หรือเลือกที่นั่งทำงานได้แม้ไม่ได้อยู่ออฟฟิศ
- ห้องประชุมที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ทันสมัยและเทคโนโลยี (Smart Meeting Room)
- ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference - WebEx) ผ่านอุปกรณ์กล้องในห้องประชุม คอมพิวเตอร์ หรือมือถือ ระบบถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทางเข้ามาประชุม และเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารสำหรับผู้ประชุมที่อยู่กันคนละสถานที่
- กระดานอัจฉริยะ (E-board) ที่สามารถจับวาง หรือโยกย้ายเนื้อหาโดยใช้การสัมผัสจากหน้าจอ สร้างบรรยากาศการประชุมแบบมีส่วนร่วม (Interact) ผู้เข้าประชุมสามารถเชื่อมต่อเนื้อหาการประชุมจากอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต ต่อเข้ากับหน้าจอกระดาน E-Board ได้ทันทีโดยไม่ต้องเชื่อมต่อสาย (Wireless Screen Sharing – WePresent)
- โซลูชั่นการพิมพ์แบบอัจฉริยะ (Smart Printing Solution)
- การสั่งงานพิมพ์ผ่านสมาร์ทโฟน (Mobile Printing) โดยการผ่านระบบซอฟแวร์ชื่อ Send Anywhere หรือ Cloud ช่วยในการจัดเตรียมงานพิมพ์และสั่งพิมพ์ได้จากเครื่องสมาร์ทโฟนแม้ไม่ได้อยู่ออฟฟิศ พร้อมรับงานได้ทันทีที่หน้าเครื่องพิมพ์เมื่อเดินทางมาถึง
- ฟังก์ชั่นรักษาความปลอดภัยของเอกสารสำคัญ (Secure Print) เอกสารจะถูกพิมพ์ก็ต่อเมื่อผู้สั่งงานแตะบัตรพนักงานที่ตัวเครื่องพิมพ์ ช่วยป้องกันเอกสารสูญหายหรือข้อมูลสำคัญในเอกสารถูกเปิดเผย
- ฟังก์ชั่นแก้ไขเอกสารที่หน้าเครื่องพิมพ์ (Smart UX) ช่วยให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลากลับไปแก้ไขงานที่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีก
- Jabber แอพพลิเคชั่นที่รวบรวมเอาทุกการสื่อสารมาไว้ในโปรแกรมเดียว
No | Keyword | Description |
1 | Startup | Tech Startup คือ ธุรกิจขนาดเล็กที่เริ่มต้นจากการมองเห็นปัญหารอบตัวที่อยากจะแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้น จึงใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยคิดค้นหนทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีรูปแบบธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และสามารถทำซ้ำได้ |
2 | Urban Tech | เทคโนโลยีที่เข้ามาแก้ปัญหา และทำให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองดีขึ้น |
3 | Ecosystem support | Ananda จะสนับสนุน ecosystem ที่มีอยู่ ไม่จะเป็นการสนับสนุนและจับมือร่วมกับ Incubator และ Accelerator ที่มีอยู่ เพื่อจะนำความรู้ ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในการให้คำปรึกษา และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ Startup คอมมูนิตี้ |
4 | Our Fund of Funds strategy | Ananda ในฐานะของ Limited Partner (LP) มีความตั้งใจที่ลงทุนในกองทุนต่างๆ ทั่วโลก นอกจากเป็นการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ๆ ยังเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงดีลต่างๆ ที่น่าสนใจและผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ |
5 | Our Corporate Venture Capital | Ananda เป็น Corporate VC ที่จะลงทุนโดยตรงในบริษัทที่มีศักยภาพ และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาเสริมธุรกิจขององค์กร หรือทีมที่ต้องการสนับสนุน |
6 | Incubator | โครงการที่ช่วยบ่มเพาะ Startup ตั้งแต่เริ่มต้นมีไอเดีย จนกระทั่งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด |
7 | Accelerator | โครงการที่ช่วยผลักดันให้ Startup ที่มีผลิตภัณฑ์สามารถเติบโตขยายธุรกิจออกไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น |
8 | MVP | ย่อมาจาก Minimum Viable Product หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ Startup พัฒนาขึ้นโดยมีฟีเจอร์หรือคุณลักษณะพิเศษน้อยที่สุดที่สามารถนำไปใช้ทดสอบตลาดได้ |
9 | Lean Startup | วิธีการทำธุรกิจ Startup โดยเน้นที่คุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ เริ่มจากเจาะลึกที่ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคให้ได้ เพื่อที่จะลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่สำคัญหรือทำให้ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรออกไปซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใช้ไม่ได้ต้องการจริง ช่วยแก้ปัญหาที่ต้องลงทุนทั้งเวลาและเงินในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือฟีเจอร์เสร็จแล้ว แต่ไม่ตอบโจทย์ จึงไม่มีผู้ใช้จนบางรายอาจต้องล้มเลิกกิจการไป |
10 | Pivot | การเปลี่ยนแปลงทิศทางหลังจาก Startup พัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คิดไว้ จึงต้องเปลี่ยนแปลงตัวผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้จริง |
11 | Traction | การมีคนมาใช้บริการผลิตภัณฑ์ของเรา อาจหมายถึง คนเข้าเว็บไซต์ คนสมัครใช้บริการ และอื่นๆ |
12 | Product/Market FIT | การที่ Startup สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ตลาดนั้นๆ ได้ดี จนมีกลุ่มลูกค้าของตัวเอง |
13 | Seed Round Investment | Seed round หมายถึง การลงทุนใดๆ ก็ตามในธุรกิจ Startup รอบเบื้องต้น เพื่อให้เริ่มนำเงินไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเข้าสู่ตลาดในช่วงแรก |
14 | Series A | การระดมทุนของบริษัท Startup จะมีการแบ่งรอบออกเป็นหลายระดับ โดยมีชื่อเรียกเป็น Series ต่างๆ เช่น การลงทุนระดับ Series A เป็นการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นกว่ารอบ Seed Round เพื่อนำเงินใช้ในการขยายธุรกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักมีเงินระดมทุนประมาณ 1 - 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แลกกับหุ้นของบริษัทตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้ยังมี Series B, Series C และ Series D เป็นชื่อเรียกของรอบระดมทุนที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ |
15 | Angel Investor | Angel Investor คือ นักลงทุนรายอิสระหรือกลุ่มนักลงทุนอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุนในธุรกิจใดๆ โดยแลกกับการเข้ามาถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ |
16 | VC | VC ย่อมาจาก Venture Capital หมายถึง ธุรกิจร่วมลงทุนในรูปแบบของบริษัทหรือกองทุน โดยในที่นี่เป็นการลงทุนในธุรกิจขนาดเล็กที่มีโอกาสการเติบโตสูงอย่าง Startup |
17 | Corporate VC | Corporate VC ย่อมาจาก Corporate Venture Capital คือหน่วยงานขององค์กรขนาดใหญ่ที่เข้ามาลงทุนใน Startup โดยแลกกับการเข้ามาถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ ซึ่งจะคอยให้การสนับสนุน Startup ในเรื่องเงินทุน การสร้างเครือข่าย รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดและอื่นๆ องค์กรอาจแบ่งหน่วยงานออกมาดูแลเรื่องนี้หรืออาจแยกออกมาตั้งเป็นอีกบริษัทใหม่เลยก็ได้ |
18 | LP | Limited Partners เรียกย่อๆ ว่า LP หมายถึงนักลงทุนที่ร่วมลงทุนในกองทุนของ Venture Capital หรือ VC อาจเป็นนักลงทุนรายบุคคลหรือสถาบันอื่นที่เข้ามาลงทุนก็ได้ |
19 | Due diligence | Due diligence คือ การตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะของกิจการก่อนที่จะลงทุน หรือเข้าซื้อกิจการของ Startup โดยวิเคราะห์ทั้ง 3 ด้านคือ การเงิน กฎหมาย และ ธุรกิจ เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจ Startup นั้นเป็นการลงทุนที่ประเมินมูลค่า (Valutation) โดยคาดการณ์การเติบโตของ Startup ในอนาคต ดังนั้นการทำ Due Diligence จะเน้นไปที่ตรวจหาความเสี่ยงของธุรกิจ Startup แต่ละราย เพื่อหาวิธีการแก้ไขและลดความเสี่ยงก่อนที่จะเข้าไปร่วมลงทุน ทำให้มีโอกาสเติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ |
No | Keyword | Description |
20 | Equity | Equity หมายถึง หุ้นของบริษัท Startup ในกรณีที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในบริษัท ซึ่ง Startup จะมีการแลกหุ้นบางส่วนของบริษัทกับเงินที่ได้รับจากนักลงทุนซึ่งสัดส่วนหุ้นแลกก็จะแตกต่างกันไปตามมูลค่าบริษัท และจำนวนเงินที่จะขอแลก |
21 | Term sheet | เมื่อนักลงทุนมีความสนใจในตัวธุรกิจ Startup และต้องการร่วมลงทุน จะต้องมี Term sheet เพื่อบอกเงื่อนไขและข้อเสนอของนักลงทุนต่อบริษัท Startup |
22 | Exit | Exit หมายถึงการขายธุรกิจให้กับบริษัทอื่น หรือการออกสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการที่ Startup ขายบริษัทได้เช่นนี้ก็เป็นหนึ่งในวิธีการหาผลตอบแทนของธุรกิจแบบ Startup |
23 | Startup Ecosystem | ระบบนิเวศน์ของ Startup ที่ช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนวงการ Startup อาทิ Incubator, Accelerator, องค์กรขนาดใหญ่, ภาครัฐ, Startup Community เป็นต้น |
24 | Lean Canvas | แผนภาพที่ปรับมาจาก Business Model Canvas ให้เหมาะกับ Startup โดยโฟกัสที่การแก้ปัญหา, โซลูชั่น, จุดวัดผล และ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน |
25 | Unicorn | ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทเกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1 billion) เช่น Uber Airbnb |
26 | Spin-offs | บริษัทใดบริษัทหนึ่งที่มีการแยกหน่วยงานออกมาตั้งอีกเป็นบริษัทลูก |
27 | Hackathon | หนึ่งในรูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบการแข่งขัน มีการให้โจทย์กับผู้เข้าร่วมแข่งขันเพื่อพัฒนาแอปฯ หรือบริการตามโจทย์ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 2-3 วัน |
28 | Growth Hacking | การทำการตลาดเพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้เพิ่มแบบก้าวกระโดด โดยเน้นใช้ต้นทุนต่ำและมีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญ |
29 | Monetize | การหารายได้จากธุรกิจสตาร์ทอัพของเรา วิธีการหาเงินนี้มักถูกถามถึงเมื่อคุณนำเสนอผลงานให้กับนักลงทุน เช่น สตาร์ทอัพของคุณหารายได้อย่างไร |
30 | Disruption | ในวงการ startup เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ ถึงการปฏิวัติ/เปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจและบริการแบบเดิมๆ เช่น Messaging App เข้ามาเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติการส่งข้อความแบบสั้น (SMS) |
31 | Bootstrapped | การเริ่มต้นธุรกิจด้วยการใช้ทุนของทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งเอง |
32 | Leveraged Buyout | LBO คือ การเข้าซื้อหุ้นของกิจการ โดยใช้เงินกู้เป็นแหล่งเงินทุน |
33 | Entrepreneur | ผู้ประกอบการ (ในที่นี้เป็นผู้ประกอบการทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นธุรกิจแบบ Startup) |
34 | Entrepreneur in residence (EIR) | ตำแหน่งหนึ่งใน Venture Capital , Accelerator, Incubator โดยดึงตัวเอาผู้ประกอบการมาช่วยธุรกิจ |
35 | Lead investor | การลงทุนครั้งหนึ่งอาจมีการร่วมลงทุนกันระหว่างนักลงทุนหลายๆ ราย และนักลงทุนที่เป็นนักลงทุนหลักในครั้งนั้น เรียกว่า Lead Investor |
36 | Vesting | กลไกในการทยอยให้หุ้นตามเวลา เพื่อรักษาบุคลากร |
37 | Deck (Pitch Deck) | คำที่ถูกนำมาใช้ ซึ่งเป็น presentation ที่ startup นำไปเสนองานเพื่อ pitching |
38 | Freemium | โมเดลการคิดค่าใช้จ่าย ที่เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ฟรีส่วนหนึ่ง และเก็บค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการฟีเจอร์มากขึ้น |
39 | Market Penetration | ส่วนแบ่งตลาด |
40 | Scaleable | ช่วงของการขยายธุรกิจ |
41 | Sweat Equity | คือ หุ้นที่ได้จากแรงงาน แทนที่จะเป็นหุ้นจากการลงเงินในบริษัท |