ดีแทค-รักบ้านเกิด-กรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศผลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2559 สนับสนุนการทำเกษตรแบบครบวงจร เพื่อทางรอดที่ยั่งยืนของเกษตรกรไทย
จากซ้าย นายวิชัย เบญจรงคกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ.เบญจจินดา โฮลดิ้ง
นางสาวภาณี บุณยเกื้อกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร
นางสาวศิริวิมล
กิตะพาณิชย์ เกษตรกรผู้ได้รับรางวั ลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายอายุ จือปา เกษตรกรผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรผู้ได้รับรางวั ลรองชนะเลิศอันดับ
1 นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และนายบุญชัย เบญจรงคกุล
ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่ วยกันสำนึกรักบ้านเกิด
7
ธันวาคม 2559 –
บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรั กบ้านเกิด และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศผลรางวัลเกษตรกรสำนึกรั กบ้านเกิด ประจำปี
2559 โดยเกษตรกรผู้ได้รับรางวั ลชนะเลิศ ที่มุ่งเน้ นการทำเกษตรแบบครบวงจรคือ นายอายุ จือปา วัย
31 ปี ชาวเขาเผ่าอาข่าจากจังหวัดเชี ยงราย ผู้ตั้งปณิธานน้ อมนำแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวั นให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด
แนวคิดสำคั ญในการทำเกษตรแบบครบวงจร ประกอบด้วย 1.ทักษะการบริหารจัดการพื้นที่ เกษตรกรรม แรงงาน ทุน การเพาะปลูก
เพาะเลี้ยง และผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร 2.ทักษะการแปรรูปให้สอดคล้องกั บความต้องการของผู้บริโภค เป็นไปตามระบบมาตรฐานสินค้ าเกษตรและอาหาร โดยอยู่บนพื้นฐานการใช้องค์ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานการใช้นวัตกรรม และมุ่งมั่นยกระดับผลิตภัณฑ์ การเกษตรให้มีคุณภาพมากขึ้น
และ 3.ทักษะที่แสดงถึงความเป็ นเกษตรกรมืออาชีพ วางแผนในเชิงธุรกิจและการตลาด ตลอดจนความพร้อมในการแบ่งปั นบทเรียนและถ่ายทอดประสบการณ์ ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ สาธารณะ
นายอายุ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์จากกาแฟคุ ณภาพดีแบรนด์
‘อาข่า อ่ามา’
เกิดและเติบโตในชนเผ่าอาข่า ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุ ณของสมเด็จพระศรีนคริ นทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิพลอดุลยเดช
พระราชทานที่อยู่ ที่ทำกิน ความรู้ และอนาคตที่ดีให้
จากการริเริ่มปลูกพืชผัก ผลไม้เมืองหนาว ชา กาแฟ ที่เป็นพันธุ์พระราชทาน
มาสู่การสร้างเครือข่ายส่งเสริ มให้ชาวบ้านผลิตกาแฟ พัฒนาสายพันธุ์ให้ดีขึ้น และมีส่วนผลักดันให้กาแฟจากชุ มชนบ้านแม่จันใต้ผงาดขึ้นเวที โลกได้อย่างไม่อายใคร ปัจจุบันเขาดูแลกระบวนการผลิตตั้ งแต่ต้นน้ำ จากวิธีการปลูก การใช้น้ำ การตาก การเก็บ กลางน้ำ คือ การแปรรูป และทำบรรจุภัณฑ์
ไปจนถึงปลายน้ำ คือ การจำหน่ายให้ผู้บริ โภคโดยการทำธูรกรรมการเงินผ่ านระบบออนไลน์
รองชนะเลิศอันดับ
1
คือ นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ จากจังหวัดมหาสารคาม เกษตรกรผู้หยิบยกปรัชญาเศรษฐกิ จพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างเป็ นรูปธรรม ผ่านการทำฟาร์มผักออร์แกนิก
‘แก้วพะเนาว์ ยัง สมาร์ท ฟาร์เมอร์’ ปฏิวัติแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ หันหลังให้อาชีพเกษตรกร นำประสบการณ์ของนักเรียนแลกเปลี่ ยนที่ประเทศอิสราเอล เริ่มจากการปรับสภาพดิน บริหารจัดการน้ำ และปรับระบบนิเวศ จนสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติ ของพ่อแม่และชาวบ้านที่เคยมองว่ าอาชีพนี้ลำบาก
รองชนะเลิศอันดับ
2
คือ นางสาวศิริวิมล กิตะพาณิชย์ จากจังหวัดเชียงราย ทำเกษตรครบวงจร ปลูกข้าวและผักอินทรีย์ ภายใต้แบรนด์
‘ไร่รื่นรมย์’ ใช้นวัตกรรมพลังงานทางเลือก จัดสรรพื้นที่และแปลงปลูกอย่ างเป็นระบบ และมีกระบวนการผลิตที่มีประสิ ทธิภาพ
นายบุญชัย เบญจรงคกุล
ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่ วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า “มูลนิธิฯ ขอแสดงความยินดีกับเกษตรกรทั้ง 10 ท่าน ผู้เป็นต้นแบบของเกษตรกรที่พั ฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่
แนวคิดเกษตรครบวงจร มีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่เข้มข้ นเป็นพิเศษ โดยพิจารณาตั้งแต่ขั้ นตอนแรกของการทำเกษตร
คือ การคิดวิเคราะห์ วางแผนการจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก
เพิ่มจำนวนและคุณภาพของผลผลิต ลดต้นทุน ลดเวลา ลดการสูญเสียทรัพยากร
ไปสู่การจัดจำหน่ายถึงมือผู้บริ โภค
หรือเรียกว่า ‘จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ’
เป็นแนวทางให้เกษตรกรรุ่นใหม่ นำไปปรับใช้และสามารถเป็นที่พึ่ งพาแก่เพื่อนเกษตรกรและชุมชนได้ อย่างดีเยี่ยม”
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “กรมส่งเสริมการเกษตร มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมให้ เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งเน้นให้ระบบการผลิ ตทางการเกษตรมีคุณภาพ
ได้มาตรฐาน สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรได้รั บผลตอบแทนที่ดีขึ้น พร้อมทั้งผลักดันให้เกษตรกรเป็น
Smart Farmer ทำการผลิตทางการเกษตรในลักษณะ Smart Agriculture
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Young Smart Farmer
ซึ่งเป็นอนาคตเกษตรกรรมไทยให้ สามารถเชื่อมโยงภาคเกษตรเข้ากั บนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่”
“ความร่วมมือกับดีแทค และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึ กรักบ้านเกิด ในการจัดประกวดเกษตรกรสำนึกรั กบ้านเกิด
ก่อให้เกิดการพัฒนา และเชิดชูเกษตรกรต้นแบบที่มี ความภาคภูมิใจในอาชีพ นอกจากนั้น ความร่วมมือกับดีแทคในการส่ งเสริมการเรียนรู้การใช้ เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยการจัดอบรม
‘การเกษตรเชิงพาณิชย์’ ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศยั งบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้การพัฒนาภาคเกษตรไทยเกิ ดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน”
นายสมชายกล่าวเพิ่มเติม
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า
“หนึ่งในเป้าหมายหลักของดีแทคคื อ การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาให้ เกษตรกรไทยก้าวไปสู่ความเป็น
Smart Farmer เนื่องจากเราเป็นประเทศที่มี ฐานการผลิตเชิงเกษตรกรรม ที่ผ่านมา ดีแทคได้ร่วมกับภาครัฐ สนับสนุนการทำการเกษตรโดยนำนวั ตกรรมมาใช้ประโยชน์ ติดอาวุธให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ ต้องการพัฒนาศักยภาพ โดยได้ร่วมกับกรมส่งเสริ มการเกษตร จัดอบรมหลักสูตรการเกษตรเชิ งพาณิชย์ให้กับ
Young Smart Farmer ที่กรมฯ เป็นผู้คัดเลือกจากทั่ วประเทศไปแล้วกว่า
3,000 คน ซึ่งสร้างช่องทางให้ เกษตรกรรอดพ้นจากวงจรราคาสินค้ าเกษตรตกต่ำได้”
“ในอนาคตอันใกล้นี้ ดีแทควางโรดแมพโดยมุ่งเน้ นการทำเกษตรแบบแม่นยำ และสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพด้ านการเกษตร
หรือ Agri Tech นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ มาใช้ในการแก้ปัญหาสำคั ญทางการเกษตร หรือการสร้างธุรกิจใหม่ทางด้ านการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีอิ นเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)
ดีแทคยังมีแผนที่จะสนับสนุนให้ เกิดความร่วมมือระหว่าง Agri Tech
กับ Smart Farmer ที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ ทางการเกษตรที่มีอยู่ผสานกั บเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้วิ ทยาการด้ านการเกษตรของไทยกลายเป็นผู้ นำแนวหน้าของโลก ซึ่งจะเป็นการช่วยผลักดันโมเดล
“ประเทศไทย 4.0” ของรัฐบาล เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิ จไปสู่
Value- Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้ วยนวัตกรรมในที่สุด”
นายลาร์สกล่าวปิดท้าย
รายชื่อเกษตรกรที่เข้ารอบสุดท้ าย
10
ท่าน
ลำดับ
|
ชื่อ
–
สกุล
|
จังหวัด
|
ผลิตภัณฑ์ และจุดเด่น
|
1
|
คุณสุจิตรา จันทะศิลา
|
ศรีสะเกษ
|
ปลูกพริก หอมแดง และกระเทียม พัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรู
|
2
|
คุณศุภชัย เณรมณี
|
อ่างทอง
|
ฟาร์มผักศุภัสสร พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่
|
3
|
คุณโอภาส หรดี
|
ลพบุรี
|
มีไร่ดอกทานตะวันสำหรับนักท่
|
4
|
คุณศิวกร โอ่โดเชา
|
เชียงใหม่
|
ปลูกพลับ สาลี่และอโวคาโด้อินทรีย์ ผลิตกาแฟคั่ว และกาแฟคั่วทำมือ ในชุมชนดั้งเดิมเผ่าปกาเกอะญอ ที่มีอายุมากกว่า 300 ปี
|
5
|
คุณศรัณยา กิตติคุณไพศาล
|
เชียงใหม่
|
ปลูกข้าว ปลูกผัก และทำการเกษตร ณ เชิงดอยหลวงเชียงดาว สูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตร สร้างเครือข่ายตลาดผู้บริโภคผ่
|
6
|
คุณประกิต โพธิ์ศรี
|
ระยอง
|
เพาะพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง สร้างสายพันธุ์ใหม่
|
7
|
คุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์
|
มหาสารคาม
|
นักปลูกผัก ผู้คิดค้นรูปแบบบริหารจัดการน้ำ
|
8
|
คุณอายุ จือปา
|
เชียงราย
|
ปลูกและพัฒนากาแฟอาข่า อ่ามา ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีจากพื้นที่
|
9
|
คุณศิริวิมล กิตะพาณิชย์
|
เชียงราย
|
ปลูกข้าวอินทรีย์ ผักอินทรีย์ เลี้ยงสัตว์ ใช้นวัตกรรมพลังงานทางเลือก จัดสรรพื้นที่และแปลงปลูกอย่
|
10
|
คุณอรณี สำราญรื่น
|
กาฬสินธุ์
|
ปลูกหญ้าเพื่อจำหน่ายแบบสด ท่อนพันธุ์
หญ้าสับ หญ้าหมัก พร้อมสร้างแหล่งเรียนรู้
|