“เบาหวาน...รู้จักเพื่อป้องกัน รู้ทันเพื่อควบคุม”
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง วรรณี นิธิยานันท์
นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่ งประเทศไทยฯ
โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่
สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) และองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมี ความตระหนักในการป้องกั นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังและมี จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี สำหรับในปี 2559 นี้ ประเด็นการรณรงค์วันเบาหวานโลก คือ "Eyes on Diabetes" โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคั ญของการคัดกรองโรคเบาหวาน และการคัดกรองภาวะแทรกซ้ อนจากเบาหวาน การพบโรคเบาหวานในระยะเริ่มแรก และให้การรักษาที่รวดเร็ วจะลดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งแต่ละโรคมีค่าใช้จ่ ายในการรักษาสูงมาก และทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิ ตก่อนวัยอันควร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่ งประเทศไทยฯ ได้ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้ มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ รายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมี จำนวน 415 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 มีผู้เสียชีวิ ตจากโรคเบาหวานจำนวน 5 ล้านคน ในปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน สำหรั บประเทศไทยจากรายงานของสำนั กนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่ อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556-2558 เท่ากับ 8.80, 15.48 และ 19.59 ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุ ขภาพประชาชนไทยอายุ 15ปีขึ้นไปโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2557 พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 คิดเป็นจำนวนมากถึง 4.8 ล้านคน เทียบกับปี 2552 ซึ่งพบเพียงร้อยละ 6.9 หรือมีคนเป็นโรคเบาหวาน 3.3 ล้านคน
และข้อมูลจากสำนั กงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิ จและสังคมแห่งชาติในปี พ.ศ.2551 พบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ ป่วยนอกในการรั กษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรั กษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3 ล้านคน/ปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้ นประมาณ 47,596 ล้านบาท/ปี นอกจากนี้หนึ่งในโรคแทรกซ้อนที่ พบบ่อยที่เกิดจากโรคเบาหวานคือ โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease – CKD) โดยพบความชุกของโรคไตเรื้อรั งในผู้ป่วยเบาหวาน สูงถึงร้อยละ 17.5 เมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage renal Disease – ESRD) ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้ องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต โดยปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการบำบั ดทดแทนไตโดยการล้างไตทางช่องท้ อง หรือการฟอกเลือดด้วยเครื่ องไตเทียมเฉลี่ยประมาณ 240,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมถึ งค่าใช้จ่ายด้วยยา ค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ งชาติต้องใช้งบประมาณการล้ างไตเป็นการเฉพาะ แยกจากงบบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว (Capitation) โดยในปีงบประมาณ 2558 สูงถึง 5,247 ล้านบาท และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6,318 ล้านบาท ในปี 2559 ซึ่งถ้ารวมงบประมาณสำหรับบริ การผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในสิทธิ อื่นๆ ได้แก่ สิทธิประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการแล้วรั ฐจำเป็นต้องใช้งบสูงกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี
สำหรับค่าใช้จ่ายในการรั กษาพยาบาล จะสามารถลดลงได้หากสามารถป้องกั นไม่ให้จำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่ มขึ้น ผู้ป่วยได้รับการรักษาและมี การใช้ยารักษาโรคเบาหวานที่ถู กต้องเหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลื อดให้ได้ตามเป้าหมายซึ่ งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้ อนจากเบาหวานในอนาคตได้ คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้มีการประกาศบัญชียาหลักแห่ งชาติ เพื่อให้ผู้ป่ วยเบาหวานสามารถเข้าถึงยาได้อย่ างทั่วถึง นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติ กรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็ จะสามารถช่วยให้ห่ างไกลจากโรคเบาหวานและควบคุ มโรคเบาหวานได้ ดังคำขวัญเพื่อการรณรงค์วั นเบาหวานโลกของสมาคมโรคเบาหวานแ ห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “เบาหวาน...รู้จักเพื่อป้องกัน รู้ทันเพื่อควบคุม”