ADS


Breaking News

อาเซียน ไชน์ (ASEAN SHINE) โครงการริเริ่มระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนามาตรฐาน การทดสอบและด้านประสิทธิภาพทางพลังงานให้เป็นหนึ่งเดียว กระตุ้นการเติบโตทางการค้าและการประหยัดพลังงานอย่างมหาศาล สู่ ”ยุคทองของอาเซียน”

     โครงการอาเซียน ไชน์ (ASEAN SHINE) นับเป็นโครงการระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนาและกำหนดมาตรฐานด้านประสิทธิภาพทางพลังงานให้เป็นหนึ่งเดียว ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ประมาณ 80% คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 1,749,000 ยูโร หรือประมาณ 72 ล้านบาท บริหารจัดการโดยสมาคมทองแดงนานาชาติและมีการช่วยเหลือทางเทคนิคจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานการทดสอบและประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้ให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะนำไปสู่การประหยัดพลังงานได้กว่า 21,500 ล้านบาท และช่วยกระตุ้นการค้าให้แก่อาเซียนได้มากถึงร้อยละ 4.55 โดยเริ่มจากเครื่องปรับอากาศ และปัจจุบันมีการพัฒนาไปถึงหลอดไฟ และความพยายามในการขยายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในอนาคต อาทิ ตู้เย็น ทีวี หม้อแปลงไฟฟ้า และ มอเตอร์ เป็นต้น
เปิดเออีซี... เปิดเสรีการค้าภายในอาเซียน
     โครงการอาเซียน ไชน์ เป็นกรอบยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ริเริ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม คือภูมิภาคอาเซียน หากประสบความสำเร็จจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตลาดสินค้าอาเซียน ส่งเสริมประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นการสร้างมาตรฐานระดับสูงแก่ภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค สอดคล้องและส่งเสริมการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีที่ผ่านมา (AEC) ปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เข้าสู่ชุมชนการค้า เกิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก มีการถ่ายโอนความรู้และความเชี่ยวชาญไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพทางพลังงาน
         ผลสำเร็จ
ในช่วงพ.ศ. 2556-2559 มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ ASEAN SHINE และความสำเร็จที่ได้มีมากมาย อาทิ เช่น
  • มีการปรับประสานมาตรฐานการทดสอบให้สอดคล้องกันในอาเซียน ตามมาตรฐานสากล ISO 5151-2010
  • มีการรับรองแผนในระดับภูมิภาคที่เน้นกลยุทธ์การปรับประสานมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ  (Minimum Energy Performance Standards) ให้เป็นหนึ่งเดียวและสอดคล้องกันในอาเซียน ในที่ประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานของอาเซียนครั้งที่ 33
  • กระทรวงที่รับผิดชอบด้านพลังงานของประเทศในอาเซียนปัจจุบันกำลังร่างแผนระดับประเทศขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนในระดับภูมิภาค
  • มีการฝึกอบรมเพิ่มพูลความรู้ให้กับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ และห้องทดสอบต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน
  • มีการพัฒนาโปรแกรมช่วยเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ โดยชี้ให้ผู้บริโภคเห็นถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และตัดสินใจเลือกเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงในที่สุด จากผู้ผลิต มาสู่ผู้บริโภค
ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ได้รับมาตรฐานการรับรองด้านพลังงาน

     นอกจากการปรับมาตรฐานและประสิทธิภาพพลังงานอาเซียนให้สอดคล้องกันรวมถึงการพัฒนาศักยภาพของห้องทดสอบและผู้ผลิตแล้ว   การส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีจิตสำนึก และมีความรู้ด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์  ก็นับเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอีกด้านหนึง โครงการได้ออกแบบสร้างแอพพลิเคชั่นชื่อว่า “เอซี ซีเล็ก” (AC Select) ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศ ได้คำนวณถึงความคุ้มค่าและตัดสินใจซื่อเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงทีมีราคาแพงขึ้น แต่ให้ผลความคุ้มค่าและประหยัดเงินในระยะยาวได้อย่างถูกต้อง แอพพลิเคชั่นนี้สามารถดาวโหลดไปใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การเลือกใช้วัสดุบางประเภทในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า สามารถช่วยประหยัดพลังงาน
การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ มีผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้า

     “โครงการอาเซียน ไชน์ นับเป็นการก้าวไปสู่ยุคทองของอาเซียนในการเป็นผู้นำทางด้านพลังงาน และความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ในยุคที่พลวัตทางเศรษฐกิจเคลื่อนมาสู่ทวีปเอเชีย เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ผู้ให้ทุน ผู้บริหารโครงการ รัฐบาล ผู้ผลิต รวมไปถึงภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ให้ความร่วมมือในส่วนของตนเพื่อความสำเร็จในระดับประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของภูมิภาคอาเซียนโดยรวม
คุณกิตติศักดิ์ สุขวิวัธน์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวทิ้งท้าย  
# #                   
เกี่ยวกับ ASEAN SHINE (www.aseanshine.org)
มาตรฐาน  ASEAN SHINE ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากโครงการหลัก EU SWITCH-Asia มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงในอาเซียน ผ่านวิธีปรับมาตรฐานการทดสอบ และกำหนดนโยบายประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ  (Minimum Energy Performance Standards) ให้เป็นหนึ่งเดียว  ในระดับภูมิภาคและ และการเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น