พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดงาน CEPSI 2016 “ความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน: ทางเลือกและความท้าทายของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า”
วันที่ 24 ตุลาคม 2559 — พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานประชุมใหญ่เชิงวิชาการอุตสาหกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 21 หรือ The 21st Conference of Electric Power Supply Industry (CEPSI 2016) ภายใต้แนวคิด “ความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน: ทางเลือกและความ ท้าทายของอุตสาหกรรมไฟฟ้า” จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ สมาพันธ์อุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกตะวันตก (The Association of the Electricity Supply Industry of East Asia and the Western Pacific: AESIEAP) ระหว่างวันที่ 23 – 27 ตุลาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เปิดเวทีให้ผู้นำองค์กรด้านพลังงานระดับโลก และผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากกว่า 40 ประเทศแลกเปลี่ยนความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิชาการของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในสาขาต่างๆ เล็งปั้นไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานของภูมิภาค
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การพัฒนาภาคพลังงานเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของทุกประเทศ ในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับชาติ ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ต้องตระหนัก การจัดประชุมใหญ่เชิงวิชาการอุตสาหกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 21 หรือ CEPSI 2016 ภายใต้แนวคิด “ความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน: ทางเลือกและความ ท้าทายของอุตสาหกรรมไฟฟ้า” โดย กฟผ. และสมาพันธ์ AESIEAP จึงเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้เรียนรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิชาการของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในสาขาต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและบุคลากรในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานของภูมิภาค” พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กล่าว
“ในส่วนของ กฟผ. เรากำลังขับเคลื่อนโดยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม อาทิพลังงานสะอาดจากถ่านหิน โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ- กุญแจสู่การบูรณาการพลังงานทดแทน การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ผมมีความเชื่อมั่นว่าพลังงานสีเขียวและพลังงานสะอาด จะเป็นทางเลือกที่เรามุ่งมั่นที่จะเดินไปให้ถึง และสามารถที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของความมั่นคง และยั่งยืนด้านพลังงานได้อย่างแน่นอน” นายกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ กล่าวสรุป
กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในงาน CEPSI 2016 มีหลากหลายกิจกรรมที่ล้วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากทั่วโลก อาทิ Mr. Marco Baroni จาก The International Energy Agency (IEA), Prof. Dr. Jochen Kreusel Head of Sector Initiative Smart Grids, ABB Group และท่านอื่นๆ อีกมากมาย ในหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มพลังงานโลกในปี 2559 ความท้าทายของแหล่งพลังงานทดแทน การกักเก็บพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า โลกใหม่อันกล้าหาญของพลังงานส่วนบุคคล โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ- กุญแจสู่การ บูรณาการพลังงานทดแทน การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า (Web2Energy) และโครงการตัวอย่างอื่นๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ – การสร้างระบบไฟฟ้าแห่งอนาคต นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการที่น่าสนใจจากองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้าระดับโลก เช่น นวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและ Smart Grid จาก กฟผ. และหุ่นยนต์ YuMi หุ่นยุนต์อัจฉริยะที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้จาก ABB ตลอดจนการจัดเยี่ยมชม (TECHNICAL VISIT) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จ.นนทบุรี และฝ่ายโรงงานและอะไหล่ โรงงานหนองจอก ของ กฟผ.
ขอบคุณภาพจาก egat.co.th
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การพัฒนาภาคพลังงานเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของทุกประเทศ ในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับชาติ ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ต้องตระหนัก การจัดประชุมใหญ่เชิงวิชาการอุตสาหกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 21 หรือ CEPSI 2016 ภายใต้แนวคิด “ความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน: ทางเลือกและความ ท้าทายของอุตสาหกรรมไฟฟ้า” โดย กฟผ. และสมาพันธ์ AESIEAP จึงเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้เรียนรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิชาการของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในสาขาต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและบุคลากรในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานของภูมิภาค” พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กล่าว
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมบูธต่างๆภายในงาน
ด้าน นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ. และประธานสมาพันธ์ AESIEAP กล่าวว่า อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าทุกวันนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยง ภาคพลังงานจึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการเลือกใช้เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง ยิ่งไปกว่านั้น ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังพัฒนาเป็นศูนย์กลางตลาดพลังงานโลก ดังนั้น สมาพันธ์ AESIEAP จึงต้องร่วมมือกันสร้างความเชื่อมั่นให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
ผลงานวิจัยรถไฟฟ้าดัดแปลง จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การจัดประชุมใหญ่เชิงวิชาการอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ครั้งที่ 21 (CEPSI 2016) ภายใต้แนวคิด “ความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน: ทางเลือกและความท้าทายของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า” นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับสมาชิกสมาพันธ์ AESIEAP ที่จะได้มาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันแนวคิดในเรื่องของพลังงานทดแทน เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบและปัญหาที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ผ่านการอภิปราย การนำเสนอรายงาน และการจัดนิทรรศการ นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในอุตสาหกรรมไฟฟ้าระดับโลกอีกด้วย“ในส่วนของ กฟผ. เรากำลังขับเคลื่อนโดยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม อาทิพลังงานสะอาดจากถ่านหิน โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ- กุญแจสู่การบูรณาการพลังงานทดแทน การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ผมมีความเชื่อมั่นว่าพลังงานสีเขียวและพลังงานสะอาด จะเป็นทางเลือกที่เรามุ่งมั่นที่จะเดินไปให้ถึง และสามารถที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของความมั่นคง และยั่งยืนด้านพลังงานได้อย่างแน่นอน” นายกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ กล่าวสรุป
กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในงาน CEPSI 2016 มีหลากหลายกิจกรรมที่ล้วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากทั่วโลก อาทิ Mr. Marco Baroni จาก The International Energy Agency (IEA), Prof. Dr. Jochen Kreusel Head of Sector Initiative Smart Grids, ABB Group และท่านอื่นๆ อีกมากมาย ในหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มพลังงานโลกในปี 2559 ความท้าทายของแหล่งพลังงานทดแทน การกักเก็บพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า โลกใหม่อันกล้าหาญของพลังงานส่วนบุคคล โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ- กุญแจสู่การ บูรณาการพลังงานทดแทน การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า (Web2Energy) และโครงการตัวอย่างอื่นๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ – การสร้างระบบไฟฟ้าแห่งอนาคต นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการที่น่าสนใจจากองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้าระดับโลก เช่น นวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและ Smart Grid จาก กฟผ. และหุ่นยนต์ YuMi หุ่นยุนต์อัจฉริยะที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้จาก ABB ตลอดจนการจัดเยี่ยมชม (TECHNICAL VISIT) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จ.นนทบุรี และฝ่ายโรงงานและอะไหล่ โรงงานหนองจอก ของ กฟผ.
ขอบคุณภาพจาก egat.co.th