วินเทจ วิศวกรรม ลุยธุรกิจพลังงานทางเลือก จับมือ กรีน เอิร์ธ พาวเวอร์ ร่วมพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่พม่า
บริษัท วินเทจ วิศวกรรม ลงทุน 666 ล้าน จับมือพันธมิตรบริษัท
พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด
ลุยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์
ตอกย้ำความมั่นใจในธุรกิจพลังงานทางเลือกหลังเข้าถือหุ้นบริษัท SMI
ผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียเมื่อปีที่ผ่านมา
นายโสรัจ โรจนเบญจกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (ที่ 5 จากซ้าย) เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่เราทราบกันดีว่านับวันน้ำมันดิบมีปริมาณสำรองที่เหลือน้อยมาก และอาจจะหมดภายในเวลาไม่กี่สิบปีนี้ ดังนั้นการค้นหาพลังงานทางเลือกจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการต่อยอดธุรกิจ และเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจจากธุรกิจหลักมาก ซึ่งจากการทื่ทางบริษัทฯ เข้าถือหุ้นบริษัท SMI ผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียจำนวน 4 เหมือง คือ เหมืองบนเกาะกาลิมันตัน (Kalimantan) ตอนกลาง จำนวน 1 เหมือง, เหมืองบนเกาะสุมาตรา(Sumatra) จำนวน 1 เหมือง, เหมืองบนเกาะกาลิมันตันใต้ (South Kalimantan) จำนวน 2 เหมือง ในสัดส่วน 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าการลงทุน 600 ล้านบาท โดยมีอายุสัมปทาน 7 ปี และมีปริมาณสำรองถ่านหิน 50 ล้านตัน และในปีนี้บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากเหมืองที่ลงทุนไปอย่างชัดเจน นอกจากนี้บริษัทยังมีความสนใจในธุรกิจพลังงานทดแทนอื่นๆ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และชีวมวล ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ทางบริษัทฯ จึงได้มีแนวคิดในการเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้าง และพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งกำเนิดพลังงาน ที่สำคัญยังมีความเชื่อมั่นในทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ความสามารถทางด้านพลังงานทางเลือกร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่ใน ประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทจึงมีมติอนุมัติซื้อหุ้นของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของไลเซนซ์ (License) ในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 30,908 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว ภายหลังการทำรายการ ในราคาซื้อหุ้นละ 21,549.50 บาท รวมเป็นราคาซื้อหุ้นของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว ทั้งสิ้น 666,051,946 บาท จากนายศุภศิษฏ์ โภคินจารุรัศมิ์ และ / หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น
ด้าน นายศุภศิษฏ์ โภคินจารุรัสมิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติ และมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับทางบริษัท วินเทจ วิศวกรรม ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานด้านวิศวกรรมระบบ MEP (Mechanical, Electrical & Plumbing)ชั้นนำของไทย ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ควบคุมงานบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ และเจ้าของโครงการ อันได้แก่ บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมชั้นนำ และหน่วยงานราชการจำนวนมาก เชื่อว่านี่จะเป็นการเติมเต็มผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ชัดเจน และแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะจากที่เราทราบกันดีว่าศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของพม่านั้นยังค่อนข้างจำกัด ที่ปัจจุบันสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 4,500 เมกะวัตต์ต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศไทยที่ผลิตได้ถึง 35,000 เมกะวัตต์ต่อปี จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนี้
อนึ่งในปัจจุบัน บริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาชน) มีปริมาณงาน (Backlog) 600 ล้านบาท และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการยื่นเสนอราคาอีกหลายโครงการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ภายในสิ้นปีนี้
นายโสรัจ โรจนเบญจกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (ที่ 5 จากซ้าย) เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่เราทราบกันดีว่านับวันน้ำมันดิบมีปริมาณสำรองที่เหลือน้อยมาก และอาจจะหมดภายในเวลาไม่กี่สิบปีนี้ ดังนั้นการค้นหาพลังงานทางเลือกจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการต่อยอดธุรกิจ และเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจจากธุรกิจหลักมาก ซึ่งจากการทื่ทางบริษัทฯ เข้าถือหุ้นบริษัท SMI ผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียจำนวน 4 เหมือง คือ เหมืองบนเกาะกาลิมันตัน (Kalimantan) ตอนกลาง จำนวน 1 เหมือง, เหมืองบนเกาะสุมาตรา(Sumatra) จำนวน 1 เหมือง, เหมืองบนเกาะกาลิมันตันใต้ (South Kalimantan) จำนวน 2 เหมือง ในสัดส่วน 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าการลงทุน 600 ล้านบาท โดยมีอายุสัมปทาน 7 ปี และมีปริมาณสำรองถ่านหิน 50 ล้านตัน และในปีนี้บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากเหมืองที่ลงทุนไปอย่างชัดเจน นอกจากนี้บริษัทยังมีความสนใจในธุรกิจพลังงานทดแทนอื่นๆ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และชีวมวล ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ทางบริษัทฯ จึงได้มีแนวคิดในการเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้าง และพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งกำเนิดพลังงาน ที่สำคัญยังมีความเชื่อมั่นในทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ความสามารถทางด้านพลังงานทางเลือกร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่ใน ประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทจึงมีมติอนุมัติซื้อหุ้นของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของไลเซนซ์ (License) ในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 30,908 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว ภายหลังการทำรายการ ในราคาซื้อหุ้นละ 21,549.50 บาท รวมเป็นราคาซื้อหุ้นของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว ทั้งสิ้น 666,051,946 บาท จากนายศุภศิษฏ์ โภคินจารุรัศมิ์ และ / หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น
ด้าน นายศุภศิษฏ์ โภคินจารุรัสมิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติ และมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับทางบริษัท วินเทจ วิศวกรรม ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานด้านวิศวกรรมระบบ MEP (Mechanical, Electrical & Plumbing)ชั้นนำของไทย ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ควบคุมงานบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ และเจ้าของโครงการ อันได้แก่ บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมชั้นนำ และหน่วยงานราชการจำนวนมาก เชื่อว่านี่จะเป็นการเติมเต็มผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ชัดเจน และแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะจากที่เราทราบกันดีว่าศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของพม่านั้นยังค่อนข้างจำกัด ที่ปัจจุบันสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 4,500 เมกะวัตต์ต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศไทยที่ผลิตได้ถึง 35,000 เมกะวัตต์ต่อปี จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนี้
อนึ่งในปัจจุบัน บริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาชน) มีปริมาณงาน (Backlog) 600 ล้านบาท และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการยื่นเสนอราคาอีกหลายโครงการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ภายในสิ้นปีนี้