ADS


Breaking News

71% ของธุรกิจในไทย เชื่อว่าจะต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าให้ได้ภายใน 5 ปี จากผลสำรวจ ”ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์” พบว่ามีเพียงแค่ 7% ของธุรกิจในไทยที่เป็นผู้นำทางด้านดิจิทัล

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – วันที่ 2 ตุลาคม 2561

สรุปประเด็นข่าว
  • มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัล
  • 7 ใน 10 ของธุรกิจในไทยโดยประมาณ กังวลว่าจะต้องพยายามอย่างหนักเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าได้ภายในเวลา 5 ปี
  • 33 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในไทยหวั่นกลัวว่าองค์กรของตนจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังภายในอีก 5 ปี
  • บรรดาผู้นำธุรกิจ ระบุการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Digital Privacy) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity) คืออุปสรรคใหญ่ที่สุดที่กีดขวางการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัล จากรายงานดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ Dell Technologies Digital Transformation Index (the DT Index) ทั้งนี้ DT Index ซึ่งสำเร็จลุล่วงด้วยการประสานความร่วมมือกับอินเทล ได้จับความก้าวหน้าในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ พร้อมประเมินเกี่ยวกับความหวังและความกลัวของผู้นำธุรกิจที่มีต่อมุมมองในเรื่องของดิจิทัล โดยผลการศึกษาเผยว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจในไทย เชื่อว่าองค์กรของตนคงต้องพยายามเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าภายในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี ในขณะที่อีก 33 เปอร์เซ็นต์หวั่นเกรงว่าตนจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง

การคำนวณของ DT Index อิงตามศักยภาพขององค์กรธุรกิจที่สามารถมองเห็นได้ในประเด็นต่อไปนี้ โดยเทียบกับคุณลักษณะสำคัญของธุรกิจดิจิทัล กลยุทธ์ด้านไอทีที่มีอยู่เดิม กลยุทธ์ในการปฏิรูปคนทำงาน (workforce transformation) และแผนงานด้านการลงทุน
ในระยะเวลา 2 ปี หลังจากที่เริ่มเปิดตัว DT Index ไปในปี 2016 เดลล์ เทคโนโลยีส์ และอินเทลได้ขยายขอบเขตของการวิจัยให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่า 2 เท่า จาก 16 ประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 42 ประเทศ พร้อมกับได้ทำการเปรียบเทียบองค์กรธุรกิจถึง 4,600 แห่ง โดยมีการแบ่งกลุ่มดังต่อไปนี้

การเปรียบเทียบเพื่อแบ่งกลุ่ม
รายละเอียด
การวิเคราะห์ ระดับประเทศในปี 2018
(ประเทศไทย)
ผู้นำด้านดิจิทัล
(Digital Leaders)
มีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ในหลากหลายรูปแบบ และถูกปลูกฝังอยู่ในดีเอ็นเอของธุรกิจ
7%
ผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล
(Digital Adopters)
มีแผนงานด้านดิจิทัลที่เป็นจริงเป็นจัง มีการลงทุนและมีนวัตกรรมในองค์กร
40%
ผู้ที่กำลังประเมินดิจิทัล
(Digital Evaluators)
ตอบรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป มีการวางแผนและลงทุนสำหรับอนาคต

25%
ผู้ตามในเรื่องดิจิทัล
(Digital Followers)

ลงทุนด้านดิจิทัลน้อยมาก เพิ่งเริ่มต้นวางแผนคร่าวๆ สำหรับอนาคต
23%
ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล
(Digital Laggards)

ไม่มีแผนงานด้านดิจิทัล มีการลงทุนและความริเริ่มที่จำกัดในองค์กร
5%

ตามดัชนี DT Index พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทย ได้รับกการจัดแบ่งประเภทให้อยู่ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) โดยบริษัทเหล่านี้ มีแผนงานและนวัตกรรมที่ล้ำหน้าในองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปองค์กร (transformation)

อย่างไรก็ตาม ผลการรายงานยังเผยให้เห็นว่า เกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทยังอยู่ใน 2 กลุ่มหลัง ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้ กำลังก้าวไปอย่างช้าๆ หรือไม่ก็ยังไม่มีแผนงานด้านดิจิทัลเลย
อุปสรรคที่กีดขวางการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
จากการวิจัย พบว่า 96 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทยในปัจจุบัน กำลังเผชิญกับอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

อุปสรรคสูงสุด 5 อันดับที่กีดขวางการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ได้แก่
  1. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  2. วัฒนธรรมด้านดิจิทัลที่ยังไม่แข็งแรงพอ ขาดความสอดคล้อง และการประสานความร่วมมือภายในบริษัท
  3. ขาดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลที่สอดคล้องกัน
  4. ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานให้ทันต่อธุรกิจ
  5. ขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร

อุปสรรคเหล่านี้ เป็นปัจจัยขัดขวางความพยายามในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ตัวอย่างเช่น 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจในไทย เชื่อว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลควรแพร่หลายและครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรได้มากกว่านี้ ในขณะที่ 61 เปอร์เซ็นต์ เห็นพ้องว่าองค์กรตนควรจะปฏิรูปเองมากกว่ารอให้ถูกปฏิรูปภายใน 5 ปี

“เราพูดถึงการมาอยู่ในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้วในปัจจุบัน ทำให้เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป” นายอโณทัย เวทยากร รองประธาน เดลล์ อีเอ็มซี อินโดจีน กล่าว “ยุคถัดไปของดิจิทัลมาถึงแล้ว และมันกำลังเปลี่ยนวิถีในการใช้ชีวิต ในการทำงานและการทำธุรกิจ ซึ่งหมายความว่าเวลาคือสิ่งสำคัญ การปฏิรูปที่แท้จริงต้องเกิดขึ้นในตอนนี้ และจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง”

การเอาชนะความท้าทาย

การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจกำลังเดินหน้าเพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับการคุกคามในการที่จะถูกเอาชนะจากผู้เล่นที่ไวกว่าและมีนวัตกรรมเหนือกว่า เราเห็นเรื่องดังกล่าวได้จากประเด็นต่อไปนี้

  • 69 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยเร่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
  • 68 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจสร้างระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไว้ในทุกอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และอัลกอริธึมทั้งหลาย
  • 65 เปอร์เซ็นต์ กำลังพยายามอย่างหนักในการพัฒนาทักษะรวมถึงความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร เช่นการสอนให้พนักงานเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ด
  • 52 เปอร์เซ็นต์ แบ่งปันความรู้ในทุกฟังก์ชันงาน ด้วยการเตรียมพร้อมให้ผู้นำด้านไอที มีทักษะทางธุรกิจ และให้ผู้นำธุรกิจมีทักษะไอทีในขณะเดียวกัน

บริษัทต่างๆ กำลังหันมาหาเทคโนโลยีเกิดใหม่และระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ (และสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่น) ในการปฏิรูป

แผนการลงทุนที่วางไว้ภายใน 1 ถึง 3 ปีข้างหน้า

  • 73 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทย ตั้งใจที่จะลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • 63 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนด้านมัลติ-คลาวด์
  • 61 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนด้านการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้แนวทางมุ่งเน้นที่การประมวลผลเป็นหลัก รวมถึงศักยภาพและการดำเนินการที่เหมาะสมและคุ้มค่าในเรื่องของเวิร์กโหลด
  • 56 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  • 55 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทยตั้งใจว่าจะลงทุนในเทคโนโลยี IoT

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจจำนวนมากกำลังวางแผนกระทั่งว่าจะทดลองใช้เทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มเกิด โดย 55 เปอร์เซ็นต์ กำลังจะลงทุนด้าน blockchain ในขณะที่อีก 44 เปอร์เซ็นต์ จะลงทุนในระบบที่มีกระบวนการรับรู้ได้เอง (cognitive systems) และ 40 เปอร์เซ็นต์จะลงทุนใน VR/AR

“นับว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับธุรกิจ เรากำลังมาถึงจุดที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ที่เทคโนโลยี และธุรกิจ รวมถึงมนุษยชาติมาร่วมกันสร้างโลกที่เชื่อมต่อมากยิ่งขึ้น มีคุณภาพยิ่งขึ้น” นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ อีเอ็มซี ประเทศไทย กล่าว “อย่างไรก็ตาม องค์กรที่วางเทคโนโลยีไว้เป็นศูนย์กลาง จะได้รับคุณประโยชน์จากโมเดลธุรกิจดิจิทัล รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจัดการทุกสิ่งได้ในแบบอัตโนมัติและทำให้ลูกค้าพึงพอใจ นี่คือสาเหตุที่การปฏิรูปสู่ดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง”
ระเบียบวิธีวิจัย

ในช่วงซัมเมอร์ปีนี้ Vanson Bourne ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยอิสระ ได้ทำการสำรวจผู้นำธุรกิจ 100 รายในประเทศไทย จากองค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อวัดสถานภาพขององค์กรใน ดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์  โดย Vanson Bourne ได้แบ่งกลุ่มองค์กรตามความมุ่งมั่นพยายามในเรื่องดิจิทัล ด้วยการประเมินในเรื่องของกลยุทธ์ด้านไอที ความริเริ่มในการปฏิรูปคนทำงาน และความสามารถที่รับรู้ได้โดยเทียบจากคุณลักษณะสำคัญที่ธุรกิจดิจิทัลต้องมี โดยผลการวิจัยทั่วโลก (จากฐานผู้เข้าร่วมสำรวจ 4,600 คนจาก 42 ประเทศ) จะออกในช่วงต้นปี 2019

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  • อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ประจำปี 2016 ได้ที่ https://www.delltechnologies.com/en-us/perspectives/digital-transformation-index.htm
  • อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม Dell Technologies Realizing 2030 ได้ที่ www.delltechnologies.com/realizing2030
  • ติดตามข่าวสารล่าสุดได้ทางทวิตเตอร์ @DellTech, @Dell และ @DellEMC

คุณลักษณะของธุรกิจดิจิทัล
**ในปี 2015 บรรดาผู้นำธุรกิจได้นิยามคุณลักษณะสำคัญด้านดิจิทัลที่องค์กรธุรกิจต้องมี เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ในยุคถัดไป เหล่านี้ได้แก่
  • สร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความคล่องตัว
  • จับโอกาสใหม่ได้จากการคาดการณ์
  • แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ
  • มอบประสบการณ์ที่โดดเด่นและเป็นส่วนตัว
  • พร้อมเสมอสำหรับการดำเนินงานในแบบเรียลไทม์

เดลล์ เทคโนโลยีส์

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่มอบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการสร้างอนาคตดิจิทัลให้แก่องค์กรธุรกิจ ทั้งปฏิรูปไอที และให้การปกป้องข้อมูลที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ เดลล์ เทคโนโลยีส์ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าทุกขนาดองค์กรใน 180 ประเทศ - เริ่มตั้งแต่ 99 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่จัดอันดับใน Fortune 500 ไปจนถึงลูกค้ารายย่อย – ด้วยสายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดตั้งแต่เทคโนโลยีปลายทาง (Edge) สู่ส่วนกลางที่สำคัญ (Core) ตลอดจนถึงคลาวด์ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ เดลล์ เดลล์ อีเอ็มซี พิโวทอล อาร์เอสเอ ซิเคียวเวิร์คส์ เวอร์ทุสสตรีม และวีเอ็มแวร์

เกี่ยวกับแวนสัน บอร์น


แวนสัน บอร์นเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระในการทำวิจัยด้านการตลาดสำหรับภาคเทคโนโลยี ชื่อเสียงขององค์กรมาจากการวิเคราะห์ที่มีพื้นฐานจากงานวิจัยที่แข็งแกร่ง และน่าเชื่อถือ ซึ่งมีรากฐานอยู่อยู่บนหลักการในการทำวิจัยอย่างถูกต้องแม่นยำ และความสามารถในการแสวงหาความคิดเห็นจากผู้มีอำนาจการตัดสินใจในระดับอาวุโสทั้งในฟังก์ชันการทำงานทั้งในด้านเทคนิค และธุรกิจ ในทุกภาคธุรกิจ และในทุกตลาดสำคัญต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมที่ www.vansonbourne.com.