ADS


Breaking News

กรมวิทย์ฯ บริการ ประกาศมั่นใจผลการทดสอบยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการภาครัฐ และเอกชน 28 หน่วยงาน

กรมวิทย์ฯ บริการ สร้างความเชื่อมั่นผลการทดสอบยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการภาครัฐ และเอกชน 28 หน่วยงาน

      วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  จัดพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง รวม 28 หน่วยงาน โดยมีนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเปิดเวทีสัมมนา “ข้อกำหนด กฎระเบียบใหม่ของสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ” ณ ห้องภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทย์ฯ บริการ

         นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส  อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และการสนับสนุนให้มีมาตรฐานระดับสากล สอดรับกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล ด้วยเหตุนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure, NQI) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานระดับประเทศ ทั้งด้านการวิเคราะห์ทดสอบ การกำหนดและพัฒนามาตรฐานต่าง ๆ หน่วยรับรองระบบงานถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านมาตรฐาน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน  ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค กฎระเบียบ สภาพแวดล้อม ตลอดจนกลไกและรูปแบบธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงรองรับการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก 

      นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขยายศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. สู่ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย และจัดตั้งสำนักวิทยาศาสตร์บริการให้กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการทดสอบและเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งไม่เพียงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการในการส่งตัวอย่างทดสอบมายังส่วนกลาง แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ ทั้งหน่วยงานห้องปฏิบัติการภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง 

    ด้านนางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทย์ฯ บริการ กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่เข้ารับใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. ห้องปฏิบัติการ บริษัท โปรเจ็คฟิลด์ จำกัด

2. ห้องปฎิบัติการทดสอบ กองควบคุมคุณภาพ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานหนองแค

3. ห้องปฏิบัติการเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

4. ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ บริษัท เอชเอ็ม.โคลส (ประเทศไทย) จำกัด

5. ห้องปฏิบัติการศรีสะเกษ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

6. ห้องปฏิบัติการ บริษัท น้ำปลารุ่งโรจน์ จำกัด

7. ห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุ ยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

8. ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและทางชีวภาพ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

9. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหาร โรงงานต้นแบบสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10. ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

11. ห้องปฏิบัติการฝ่ายตรวจสอบสินค้าทางการเกษตร แผนกการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ บริษัท บูโร         เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด 

12. ห้องปฏิบัติการฝ่ายโลหะและแร่ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด

13. กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 

กรมวิชาการเกษตร

14. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท เคมีแมน จํากัด (มหาชน) โรงงานแก่งคอย

15. ห้องปฏิบัติการเคมี บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด

16. ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานทางเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

17. ห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหาร หน่วยเครื่องมือกลาง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

18. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ บริษัท ปิ่นทองกรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

19. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท ฟลุสสิค เคม จำกัด

20. ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส แอนด์ พี ฟอร์มูเลเตอร์ จำกัด

21. MYANMAR INSPECTION & TESTING SERVICES LABORATORY (MITS LABORATORY)

22. ห้องปฏิบัติการทดสอบศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

23. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ บริษัท โอกลา เทสติ้ง แอนด์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิส จำกัด

24. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์

25. ห้องปฏิบัติการรังสีมาตรฐานทุติยภูมิ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

26. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

27. ผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง แผนกวิจัยและพัฒนา บริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด

28. สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

      ทั้งนี้ หน่วยงานที่ได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล นอกจากจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพและความสามารถของหน่วยงานแล้ว ยังสร้างการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและประชาชนในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ โดยกรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างมาตรฐานให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อต่อยอดความเชื่อมั่นในธุรกิจและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อไป