6 จินตภาพใหม่ โดยผู้นำการศึกษ เพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่เยาวชนและประชากรวัยแรงงาน
ผู้นำการศึกษาเสนอ 6 จินตภาพใหม่เพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่เยาวชนและประชากรวัยแรงงาน
เมื่อ : 21 ต.ค. 2567 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ยูเนสโก กรุงเทพฯ และกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) แสดงวิสัยทัศน์ถึงระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ได้มากขึ้นและยั่งยืน ในการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 3
21 ตุลาคม 2567 – “จินตภาพใหม่การศึกษา ร่วมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน” เป็นประเด็นสำคัญในการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 3 ซึ่งจัด โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ยูเนสโก กรุงเทพฯ และกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ที่อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 260 คน ณ สถานที่จัดงาน ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้นำเยาวชน พร้อมกับผู้เข้าร่วมอีกกว่า 3000 คนผ่านทางออนไลน์ เพื่อเน้นโอกาสการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การพัฒนาทักษะสำหรับทุกคน และความร่วมมือระดับนานาชาติ
นางมารีนา ปาทรีเย รองผู้อำนวยการ สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้แนวทางที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ที่มีความเสมอภาคมากยิ่งขึ้นและทำให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยกล่าวว่า “ในโลกที่เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น” พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของข้อเสนอแนะของครูในการพัฒนานโยบายที่เป็นนวัตกรรม
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กทุกคนจะสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกล่าวว่า “เราต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เรามีร่วมกัน” พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยต่อวาระความเสมอภาคทางการศึกษาในภูมิภาค
การประชุมยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเยาวชน นางสาวนูรฮายาตี สุลตาน ผู้ก่อตั้งร่วมและผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเยาวชนและ ความรู้ด้านดิจิทัล เครือข่าย Rohingya Maìyafuìnor Collaborative Network ได้กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยถูกกันออกจากระบบการศึกษา และอยากขอเรียกร้องให้พวกเขามีสิทธิในการสามารถเข้าถึงการศึกษา นอกจากนี้ นางสาวนดา บินร่อหีม ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงความท้าทายเฉพาะที่เยาวชนจากชุมชนมุสลิมยากจนในจังหวัดปัตตานีเผชิญ โดยเสนอให้พวกเขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับผู้กำกับนโยบายด้านการศึกษา สู่การหาทางออก
การรับฟังมุมมองของเยาวชนได้สะท้อนในคำกล่าวของ นางเซเวอรีน เลโอนาร์ดี รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ซึ่งได้สรุปถึงนโยบายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ทางดิจิทัลที่ครอบคลุม การลงทุนในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิต การศึกษาที่เน้นทักษะ และส่งเสริมการพัฒนาครู
หัวข้ออื่น ๆ ที่ได้มีการแลกเปลี่ยนในที่ประชุม ได้แก่ ความสำคัญของการเรียนรู้โดยมีนวัตกรรมตัวแบบและมีความยืดหยุ่น การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เท่าเทียมและทั่วถึงมากขึ้น และการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
นายจอห์น อาโนลด์ เซียนา รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ด้านการพัฒนาโครงการและกิจกรรม ได้เน้นว่า การลงทุนในด้านการศึกษาควรมุ่งเน้นในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ เพราะ “การใช้เทคโนโลยีสามารถปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาให้กับเด็กที่ถูกกันออกไปได้อย่างมีนัยสำคัญ” และกล่าวว่า “การเสริมสร้างพลังให้ชุมชนด้วยการสนับสนุนตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าวิธีการแก้ไขปัญหาจะครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน”
นายจาฮโย ปรีฮาดี ผู้อำนวยการฝ่ายติดตามและประเมินผล Programme Management Office of Prakerja กระทรวงการประสานงานด้านเศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์ของโครงการ โดยกล่าวว่า “การลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องอาศัยแนวทางที่ครอบคลุมและมุ่งเน้นเยาวชนและประชากรวัยแรงงานเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการเรียนรู้”
ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้กล่าวในที่ประชุมนี้ว่า “การประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการระดมความร่วมมือ บทเรียน และประสบการณ์จากทุกองค์กรประเทศต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้มีการฟื้นฟูระบบการศึกษาให้มีการปรับตัวส่งเสริมให้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการแรงงานในอนาคตมากขึ้น ผ่านความร่วมมือการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) ให้เกิดความอย่างยั่งยืนด้วยปวงชนเพื่อการศึกษา (All for Education)”
การประชุมนานาชาติครั้งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมีข้อสรุปสำคัญคือ
1. การเข้าถึงการศึกษาคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องมอบโอกาสทางการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนไม่ว่าจะมีพื้นฐานหรือความท้าทายใด ๆ
2. หลักสูตรการศึกษาควรสอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตจริงและเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต
3. เพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพครู เครื่องมือ และทรัพยากร
4. การกระจายอำนาจเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
5. รัฐบาลควรเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงช่องว่างของนโยบายเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้บรรลุการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคนภายในปี 2573
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2564 โดยสามารถติดตามรายงานฉบับสมบูรณ์ที่จะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์การประชุมที่ https://afe2024.eef.or.th
21 ตุลาคม 2567 – “จินตภาพใหม่การศึกษา ร่วมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน” เป็นประเด็นสำคัญในการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 3 ซึ่งจัด โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ยูเนสโก กรุงเทพฯ และกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ที่อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 260 คน ณ สถานที่จัดงาน ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้นำเยาวชน พร้อมกับผู้เข้าร่วมอีกกว่า 3000 คนผ่านทางออนไลน์ เพื่อเน้นโอกาสการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การพัฒนาทักษะสำหรับทุกคน และความร่วมมือระดับนานาชาติ
นางมารีนา ปาทรีเย รองผู้อำนวยการ สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้แนวทางที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ที่มีความเสมอภาคมากยิ่งขึ้นและทำให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยกล่าวว่า “ในโลกที่เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น” พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของข้อเสนอแนะของครูในการพัฒนานโยบายที่เป็นนวัตกรรม
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กทุกคนจะสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกล่าวว่า “เราต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เรามีร่วมกัน” พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยต่อวาระความเสมอภาคทางการศึกษาในภูมิภาค
การประชุมยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเยาวชน นางสาวนูรฮายาตี สุลตาน ผู้ก่อตั้งร่วมและผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเยาวชนและ ความรู้ด้านดิจิทัล เครือข่าย Rohingya Maìyafuìnor Collaborative Network ได้กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยถูกกันออกจากระบบการศึกษา และอยากขอเรียกร้องให้พวกเขามีสิทธิในการสามารถเข้าถึงการศึกษา นอกจากนี้ นางสาวนดา บินร่อหีม ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงความท้าทายเฉพาะที่เยาวชนจากชุมชนมุสลิมยากจนในจังหวัดปัตตานีเผชิญ โดยเสนอให้พวกเขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับผู้กำกับนโยบายด้านการศึกษา สู่การหาทางออก
การรับฟังมุมมองของเยาวชนได้สะท้อนในคำกล่าวของ นางเซเวอรีน เลโอนาร์ดี รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ซึ่งได้สรุปถึงนโยบายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ทางดิจิทัลที่ครอบคลุม การลงทุนในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิต การศึกษาที่เน้นทักษะ และส่งเสริมการพัฒนาครู
หัวข้ออื่น ๆ ที่ได้มีการแลกเปลี่ยนในที่ประชุม ได้แก่ ความสำคัญของการเรียนรู้โดยมีนวัตกรรมตัวแบบและมีความยืดหยุ่น การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เท่าเทียมและทั่วถึงมากขึ้น และการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
นายจอห์น อาโนลด์ เซียนา รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ด้านการพัฒนาโครงการและกิจกรรม ได้เน้นว่า การลงทุนในด้านการศึกษาควรมุ่งเน้นในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ เพราะ “การใช้เทคโนโลยีสามารถปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาให้กับเด็กที่ถูกกันออกไปได้อย่างมีนัยสำคัญ” และกล่าวว่า “การเสริมสร้างพลังให้ชุมชนด้วยการสนับสนุนตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าวิธีการแก้ไขปัญหาจะครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน”
นายจาฮโย ปรีฮาดี ผู้อำนวยการฝ่ายติดตามและประเมินผล Programme Management Office of Prakerja กระทรวงการประสานงานด้านเศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์ของโครงการ โดยกล่าวว่า “การลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องอาศัยแนวทางที่ครอบคลุมและมุ่งเน้นเยาวชนและประชากรวัยแรงงานเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการเรียนรู้”
ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้กล่าวในที่ประชุมนี้ว่า “การประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการระดมความร่วมมือ บทเรียน และประสบการณ์จากทุกองค์กรประเทศต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้มีการฟื้นฟูระบบการศึกษาให้มีการปรับตัวส่งเสริมให้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการแรงงานในอนาคตมากขึ้น ผ่านความร่วมมือการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) ให้เกิดความอย่างยั่งยืนด้วยปวงชนเพื่อการศึกษา (All for Education)”
การประชุมนานาชาติครั้งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมีข้อสรุปสำคัญคือ
1. การเข้าถึงการศึกษาคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องมอบโอกาสทางการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนไม่ว่าจะมีพื้นฐานหรือความท้าทายใด ๆ
2. หลักสูตรการศึกษาควรสอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตจริงและเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต
3. เพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพครู เครื่องมือ และทรัพยากร
4. การกระจายอำนาจเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
5. รัฐบาลควรเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงช่องว่างของนโยบายเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้บรรลุการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคนภายในปี 2573
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2564 โดยสามารถติดตามรายงานฉบับสมบูรณ์ที่จะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์การประชุมที่ https://afe2024.eef.or.th