วว. ผนึก วช. มทร.ธัญบุรี ปั้นบัณฑิตสมรรถนะสูงด้าน วทน. ตอบโจทย์สังคมประเทศในอนาคต BCG Economy Model
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjSADzs1M3PA1fRVp9PjQW0tuBNki_yD41zjXJsyC1krpzCAkgAXnqn0IgJqCSmxaFsc7jt0wjXUg7r38vmvMq-9-_5SDIvYP-_0LPZCFkTGTJk0W6CiaL5VWvnnovnm_MKrbySLAtEIs5Jl8sHyeb3ZP9i6e13G4PpLggrzP1h3wyDVn7CDJKpArvw0os/w640-h360/20240709_162304.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgrFbK7ewDyV2rnGhU6u_gcm9-DW0xsDNO-S6M_mZrOYELysFqZuxOpxHxVF4UZP9WH9FqmwRFbC0eZM_UWX9y-KX88BoFtgTpUfYFLtS_S6mZXsK6JUrrQKIMFtLy1jVQpUAjfuJ8SHa89jioVp5y2zE2Up9AxC0gBvzP3XpX4_0WzHDU_jebWhNX0q6U/w640-h360/20240709_092952.jpg)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย #สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (#วว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประชุมเสวนา หัวข้อ “โครงการพัฒนาต้นแบบบัณฑิตปริญญาเอกสมรรถนะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุน BCG Economy Model” ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เพื่อร่วมขับเคลื่อนตอบโจทย์การสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต โดยการพัฒนาบัณฑิตปริญญาเอกให้มีทักษะด้านการวิจัยและสมรรถนะด้านสังคม เพื่อให้มีความสามารถในการยกระดับงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการสู่การผลิตจริง สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์และสร้างมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน
โดยบัณฑิตที่ผลิตจากโครงการฯ จะมีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงเชิงธรุกิจ ในรูปแบบโมเดล “บัณฑิตนวัตกรรม (Innovation) ยกระดับงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการสู่การผลิตจริง (Scale Up) ขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ (Commercialization)” หรือ “InnoScaleCom” โดยแบ่งเป็นกลุ่มสมรรถนะสำคัญของบัณฑิตปริญญาเอก ดังนี้ 1. สมรรถนะต้นน้ำ มุ่งเน้นการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรม (Innovation) 2. สมรรถนะกลางน้ำ มุ่งเน้นนำนวัตกรรมมาสู่การผลิตจริง (Scale up) และ 3. สมรรถนะปลายน้ำ มุ่งเน้นการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ (Commercialization)
![]() |
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. |
![]() |
ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. |
![]() |
นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ที่ปรึกษาภาคเอกชน |
![]() |
รศ.ดร.อัษฎาวุธ อารีสิริสุข ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
![]() |
ดร.ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์ ผอ.สำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ วว. |
ทั้งนี้ในการประชุมเสวนาได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงความคิดเห็นและถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ เพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ที่ปรึกษาภาคเอกชน รศ.ดร.อัษฎาวุธ อารีสิริสุข ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ ดร.ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์ ผอ.สำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ วว.
ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวถือเป็นโอกาสใหม่ทางการศึกษา ที่มุ่งให้บัณฑิตได้ปฏิบัติงานเชิงธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง โดยนำร่องดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และจะขยายผลไปยังสถาบันการศึกษาอื่นๆ ต่อไป โดยใช้กลไกและศักยภาพของ วว. ที่มีความพร้อมสูงในด้านโครงสร้างพื้นฐาน วทน. ที่สามารถบูรณาการเป็น open innovation สำหรับการพัฒนางานวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงร่วมกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีจุดแข็งชัดเจนด้านการมีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและมุ่งเน้นดำเนินการวิจัยครบทั้ง 3 ด้าน ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy)
“การดำเนินงานโครงการฯ เป็นการร่วมขับเคลื่อนนโยบายกระทรวง อว. ในการเตรียมทัพกำลังคน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมอนาคต (Future Workforce for Future Industry) อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ BCG ซึ่ง วว. มีความพร้อมในการสนับสนุนและเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จภาคเอกชนให้เข้มแข็ง โดยบัณฑิตปริญญาเอกจากโครงการฯ จะเข้าไปเติมเต็มในภาคอุตสาหกรรม ด้วยศักยภาพด้านความสามารถในการยกระดับงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการสู่การผลิตจริง และสามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีการเดิมที่มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการและการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ” ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว
#TISTR