ADS


Breaking News

NIA(เอ็นไอเอ) ปั้นทีมสตาร์ทอัพด้านอวกาศ ดูงาน GISTDA ศรีราชา ต่อยอดความก้าวหน้าการทำงานด้านนวัตกรรม มุ่งเพิ่มขีดสามารถให้ Startup สู่ระดับสากล

NIA(เอ็นไอเอ) นำทีมสตาร์ทอัพด้านอวกาศ ลงพื้นที่ GISTDA ศรีราชา เยี่ยมชมความก้าวหน้าการทำงานด้านนวัตกรรม หวังเพิ่มขีดสามารถให้สตาร์ทอัพสู่ระดับสากล

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA นำสตาร์ทอัพในโครงการ Space Economy Lifting Off 2023 ทั้ง 10 ทีม ลงพื้นที่เยี่ยมชมดูงาน ณ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เป็นศูนย์กลางของประเทศในการพัฒนาและสร้างคุณค่า และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพให้สามารถต่อยอดทางธุรกิจและเติบโตในอุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยานในระดับโลกได้

ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “NIA เล็งเห็นความสำคัญในการเร่งพัฒนาสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีด้านอวกาศและอากาศยาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญหนึ่งที่จะนำพาประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้เล่นในอุตสาหกรรมมูลค่าสูง และสร้างโอกาสให้กับสตาร์ทอัพไทยในการเติบโตสู่ตลาดโลก นอกจากโอกาสที่จะเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) ด้านอุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยานแล้ว เทคโนโลยีอวกาศและอากาศยาน ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในอีกหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อาหาร เกษตรกรรม เหมืองแร่ทรัพยากรและพลังงาน อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ฯลฯ” 

“ทั้งนี้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ดำเนินการโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นเทคโนโลยีเชิงลึกด้านเทคโนโลยีอวกาศและอากาศยาน หรือ Space Economy Lifting Off 2023  ซี่งเป็นโครงการที่จัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3  โดยมีเป้าหมายพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นสตาร์ทอัพให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เปิดโอกาสให้กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้นสตาร์ทอัพได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายในภาครัฐและในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตและสามารถเข้าไปสร้างคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยาน ตลอดโครงการ และทุกจัดมีกิจกรรมจัดเพื่อส่งเสริมให้สตาร์ทอัพในโครงการ ได้รับองค์ความรู้และได้นำความรู้ไปปรับใช้ในธุรกิจ รวมถึงเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ และสร้างโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพในการทำงานร่วมกับองค์กรและหน่วยงานสำคัญด้านอวกาศ และองค์กรที่มีบทบาทสูงในอุตสาหกรรมด้านอวกาศของประเทศจากทั้งรัฐและเอกชน”  

“โดยกิจกรรมในครั้งนี้ NIA นำโดย ดร.นิมิต นิพัทธ์ธรรมกุล ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยทีมสตาร์ทอัพโครงการ Space Economy Lifting Off 2023  ได้เข้าเยี่ยมชมดูงานและรับฟังการบรรยาย รับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมดูงาน ณ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  หรือ GISTDA ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมี ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  ให้การตอนรับ และนำคณะเข้าเยี่ยมชมส่วนงานต่าง ๆ  ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ (S-TREC)  ห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ (GALAXI) และ AIT อาคารศูนย์ประกอบและทดสอบระบบดาวเทียม (AIT) 

ซึ่ง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  หรือ GISTDA เป็นหน่วยงานหลักที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมอวกาศ หรือ Space Industry ของประเทศ ซึ่งถือเป็น 1 ใน 10 New S-Curve อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคตของประเทศไทยที่รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งการกระจายรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคม”


“ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมครั้งนี้ สตาร์ทอัพจาก โครงการ Space Economy Lifting Off 2023  ทั้ง 10 ทีม ได้เยี่ยมชมและได้มีโอกาสได้เห็นการทำงานบางส่วนของ GISTDA แบบเจาะลึก จากคณะทำงานและได้ความรู้จากการบรรยายโดยวิศวกรผู้ชำนาญงานในแต่ละส่วนที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้และพาเยี่ยมชม พร้อมตอบข้อซักถามและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นร่วมกัน ถือเป็นประโยชน์และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาและต่อยอดธุรกิจได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เข้าชมอาคารประกอบและทดสอบดาวเทียม หรือ อาคาร AIT   ที่ทันสมัยมีมาตรฐานระดับสากล ที่ สามารถรองรับการประกอบและทดสอบดาวเทียมเล็กของประเทศ  และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดาวเทียมของโลกในอนาคตด้วย”  


“จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนการทำงานนี้ในหลายส่วน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจาก หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และความร่วมมือระหว่างประเทศ การได้เข้าเยี่ยมชมที่ GISTDA และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานด้านอวกาศโดยตรง ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้สตาร์ทอัพมองเห็นภาพที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก GISTDA ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของประเทศในการพัฒนา และสร้างคุณค่า และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นวงกว้าง รวมถึงเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบนฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศอย่างครบวงจรเป็นมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพให้สามารถต่อยอดทางธุรกิจและเติบโตในอุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยานในระดับโลกได้”


ผู้สนใจในด้านเทคโนโลยีอวกาศและอากาศยาน สามารถและห้ามพลาด มาร่วมชมผลงานและร่วมฟัง Pitching พร้อมเป็นกำลังใจให้สตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีม ได้

ในงานวัน DEMO DAY  วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 – 18.30 น.  ณ  ห้อง Chamber Room โรงแรม S31  ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ที่ Link : https://forms.gle/R5wZigCBf3qJWHP38