นักวิจัยไทยสร้างชื่อ โชว์ session "Coral reef Ecotourism: Towards A Carbon Neutral Destination" ครั้งแรก ที่ประชุม The 5th APCRS ณ ประเทศสิงคโปร์
ผลงานนักวิจัยไทยภายใต้การสนับสนุนจาก บพข. ได้รับการคัดเลือกให้จัด session "Coral reef Ecotourism: Towards A Carbon Neutral Destination" เป็นครั้งแรก ในการประชุมวิชาการ the 5th Asia-Pacific Coral Reef Symposium (APCRS) ณ ประเทศสิงคโปร์
รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการกลุ่มการท่องเที่ยวบนฐานมรดกธรรมชาติการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิ เป็นศูนย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
การประชุมวิชาการ Asia Pacific Coral Reef Symposium (APCRS) ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้น ณ National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 19-23 มิถุนายน 2566 โดยมี รศ. ดร. ธรรมศักดิ์ ยีมิน , ผศ. ดร. มาฆมาส สุทธาชีพ และ ดร. วิชิน สืบปาละ จากกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานในการจัด session หัวข้อ "Coral Reef Ecotourism: Towards A Carbon Neutral Destination" ใน session ดังกล่าวมีการนำเสนอผลงานวิจัยจากประเทศไทย เช่น
• Standards for carbon-neutral tourism in Thailand’s coral reef
• Blue carbon offsetting from marine tourism activities using the concepts of nature-based solution
• Mitigating the environmental impacts and assessing the carbon footprint of coral reef-based tourism activities: a case study in Thai waters
• Micro-fragmentation and coral colony fusion: a new implementation technique for active coral restoration in Thailand
• Collaboration between tourism operators and researchers in enhancing carbon-neutral marine tourism in the Andaman
และการนำเสนอผลงานจากนักวิจัยชาวต่างประเทศ เช่น
• The status of coral reefs at the recreational dive sites in Puerto Galera, Oriental Mindoro, Philippines
• Flex tourism: building resilience and low carbon footprint tourism
รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการกลุ่มการท่องเที่ยวบนฐานมรดกธรรมชาติการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิ เป็นศูนย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยว่า การประชุม Asia-Pacific Coral Reef Symposium (APCRS) เป็นการประชุมทางวิชาการที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสถานภาพแนวปะการังในภูมิประเทศเอเชียแปซิฟิกและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการัง การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 800 คน จาก 41 ประเทศ การประชุมในครั้งนี้นอกจากจะมีการจัด Session การประชุมทั้งหมด 39 session และยังมีการจัด Workshop 11 กิจกรรม ใน session “Coral Reef Ecotourism: Towards A Carbon Neutral Destination" มีผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากนานาชาติให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Marine Tourism) ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในเวทีระดับนานาชาติมากขึ้น
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นผู้ริเริ่มและผลักดันการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และการบริหารจัดการแผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในระดับนานาชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว ดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกและประเทศไทยกำลังพยายามดำเนินงานอยู่ในขณะนี้