ADS


Breaking News

วช.ขยายกรอบการวิจัยและนวัตกรรม วิเคราะห์ผลสำเร็จด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ NRCT Open House 2023

วช. ชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ NRCT Open House 2023
     วันที่ 27 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 และแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2023 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม และกรอบการวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 27 มิถุนายน 2566 ในรูปแบบ onsite ณ ห้องจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ณ อาคาร วช.1 และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom การถ่ายทอดสด (Live Streaming) ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งกิจกรรมในวันนี้จัดขึ้นเป็นวันสุดท้ายใน “ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์”
     ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมุ่งเน้นผลสำเร็จจากการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและชุมชน และด้านนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดย วช. ได้มีการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ตั้งแต่ปี 2556 โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนานักวิจัยสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างผู้สร้างและผู้ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยทั้งในเชิงเศรษฐกิจ วิชาการ สังคม(สิ่งแวดล้อม) และนโยบาย การขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงพื้นที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วม เชิงเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์และลงมือปฏิบัติได้จริง สร้างรายได้ ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภาพรวมเครือข่ายคลัสเตอร์ทางเศรษฐกิจระดับชุมชน จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภาค ประเทศ เชิงนโยบาย โดยกำหนดนโยบาย ผ่านกระบวนการตั้งแต่ ค้นหาแนวคิด ทฤษฎี วิเคราะห์ปัญหา สร้างแนวทางแก้ไข เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับบริบท มีหลักฐานหนุนกฎหมายและมิใช่กฎหมายเพื่อเสนอ ครม. อนุมัติ โดยกลไกหนึ่งที่ วช. ริเริ่มให้เกิดขึ้นเพื่อให้งานวิจัยและนวัตกรรมตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ ชุมชน สังคม จังหวัด ภูมิภาค คือการสนับสนุนทุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ หรือ KM แผนงานจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ 2567 อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 มิติการใช้ประโยชน์
ได้แก่ เชิงความมั่นคง เชิงชุมชนสังคม การพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริ และเชิงนโยบายสาธารณะ ซึ่งประเด็นที่จะเปิดรับข้อเสนอจะสอดคล้องกับโปรแกรมดังต่อไปนี้ P9 พัฒนาสังคมสูงวัยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมP10 ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมรับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ P11 ขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มโอกาส และยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ P14 พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสวัสดิภาพสาธารณะ โดยใช้ผลงานวิจัยเทคโนโลยี และนวัตกรรม P15 พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยเทคโนโลยี และนวัตกรรม และ P16 พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการดำเนินงานแผนการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ปี 2556-2566 วช. ได้จัดสรรทุน KM 4 ในมิติการใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 929 โครงการ จำนวน 1,229 องค์ความรู้ โดยมิติชุมชนสังคมมีจำนวนโครงการมากที่สุด และการกระจายความรู้พบว่าพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จะอยู่ที่ภาคเหนือ ซึ่งมีจำนวนองค์ความรู้ที่ถูกนำไปถ่ายทอดสู่ผู้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งนี้โครงการ KM ที่ วช. ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยมีกระบวนการที่นักวิจัยลงพื้นที่ขยายผลองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์สามารถจำแนกออกเป็น 20 ด้าน ใน 9 กลุ่มเรื่อง  ได้แก่ ด้านข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และพืชอื่นๆ เป็นต้นโดยสิ่งที่ได้จากการสนับสนุนกิจกรรมการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ทำให้เกิดเป็นชุดข้อมูลห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม วช. มุ่งมั่นการสร้างนักวิจัยอาชีพที่สามารถสร้างองค์ความรู้และผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการขยายเครือข่ายวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูงต่อไป
เสวนา เรื่อง “แนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอทุน KM ใน 4 มิติการใช้ประโยชน์ และกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการ” โดยผู้ดำเนินการเสวนา ดร.สุพจน์ อาวาส ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยผู้ร่วมเสวนา และประเด็นเสวนา ในหัวข้อ “กรอบการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม” โดย นายประลอง ดำรงไทย ในหัวข้อ “กรอบการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริ” โดย ศ.(พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังสี ในหัวข้อ “กรอบการใช้ประโยชน์เชิงความมั่นคง” โดย คุณวัลลภ นาคบัว และในหัวข้อ “กระบวนการติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับทุน KM” โดย ดร.มารยาท สมุทรสาคร พร้อมทั้งการซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดย นายประลอง ดำรงค์ไทย ผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
     สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้นำเสนอวีดิทัศน์แนะนำการใช้งานระบบ “NRIIS” โดย นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมภาพรวมผลสำเร็จการจัดการความรู้การวิจัยด้วยระบบสารสนเทศและแผนที่ดิจิทัลโดย นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม หัวข้อ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โดยผู้ดำเนินรายการ ดร.สุพจน์ อาวาส ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ รศ. ดร.สมัคร แก้วสุกแสง มหาวิทยาลัยทักษิณ ผลงาน เรื่อง “ยกระดับชุมชนต้นแบบการผลิตส้มโอทับทิมสยามเชิงพาณิชย์” ผศ. ดร.นันทินา ดำรงวัฒนกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผลงาน เรื่อง “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน” ผศ. ดร.วิษณุ บัวเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผลงาน เรื่อง “ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มมูลค่าฉี่และมูลไส้เดือนดิน” ผศ. ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงาน เรื่อง “การตรวจพิสูจน์การปลอมแปลงเอกสารด้วยนวัตกรรมวัสดุนาโนสีเขียว” และ ดร.รังสิมา ชลคุป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงาน เรื่อง “การขับเคลื่อนโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์สับปะรดแบบครบวงจร” อันจะนำมาสู่การสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิจัยในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ สู่การพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยวด้วยการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง