ADS


Breaking News

หารือโจทย์วิจัย "ปัญหาและอุปสรรคการส่งออกผลไม้ไทย"

วช. หนุน ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลไม้ เสวนา "ปัญหาและอุปสรรคการส่งออกผลไม้ไทย"
     คุณวุฒิชัย (นายกสมาคมทุเรียนไทย)
     1) ปัญหาการระบายสินค้าในช่วง เม.ย.-มิ.ย. ไปจีน
     2) ผลผลิตด้อยคุณภาพ คือ ผลเล็กไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ผลอ่อน/แก่ รสชาติไม่คงที่ จากสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (ทำให้ส่งออกจีนได้แค่ประมาณวันละ 900 ตู้ จากที่ควรจะได้ถึง 1,200 ตู้)
     ข้อเสนอแนะ:
     1) อยากได้งานวิจัยที่ตอบโจทย์สำคัญอย่างชัดเจน ตลอด supply chain ที่สำคัญคือใช้ประโยชน์ได้จริง
     2) การรักษาคุณภาพของผลผลิต ภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) โดยที่ต้นทุนไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
     3) การพัฒนาสายพันธุ์ ให้มีความหลากหลาย (ไม่ใช่หมอนทองอย่างเดียว) และมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

     คุณปราโมทย์ (ประธานหอการค้าภาคตะวันออก)
     1) คุณภาพของงานวิจัย ที่ไม่สามารถแก้ไขไปถึงรากเหง้าของปัญหา
     2) ขาดข้อมูลพื้นฐานในการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต (ชนิดยาและสารเคมี วิธีการใช้ ปริมาณการใช้ เป็นต้น) เช่น ปัญหาเนื้อแก้วยางไหลของมังคุดที่เราวิเคราะห์กันว่าเกิดจากการให้น้ำมาก แต่เราก็บอกไม่ได้ว่าคำว่าให้น้ำมากนั้นคือ ให้เท่าไหร่ถึงจะถือว่ามาก และจริงๆ แล้วควรให้เท่าไหร่ เป็นต้น
     3) ขาดแคลนแรงงาน จึงหันมาใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่ๆ แทน แต่ไม่แน่ใจว่าเรามาถูกทางหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การใช้โดรนพ่นยา ถ้า NGO นำไปตีข่าวเรื่องความปลอดภัย ไม่ทราบจะส่งผลกระทบขนาดไหน?
     4) กลไกในการควบคุมคุณภาพ เช่น GAP ว่าจะทำอย่างไรให้ควบคุมคุณภาพได้/การตรวจคุณภาพ ตรวจอ่อนแก่ ว่าจะทำอย่างไรให้ตรวจเป็น mass ได้ที่ล้งเลย อย่าหวังให้เกษตรกรใช้เครื่องมือตรวจเองทีละลูก
     ข้อเสนอแนะ:
     1) หน่วยงานควรให้อิสระผู้ผลิตในการเลือกใช้มาตรฐานการผลิตเอง แล้วเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
     2) งานวิจัยควรเน้นไปที่การจัดทำระบบในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและการส่งออก

     คุณสัญชัย (นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย)
     1) ความไม่ซื่อสัตย์ของ SHs ตลอด supply chain ที่คิดเอาแต่ได้ (ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ซื้อจากสวน ผู้รับจ้างเก็บเกี่ยว ล้ง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ)
     2) การใช้สารเคมีต่างๆ เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ตลาดต้องการ คือลูกสวย สีสวย ทั้งการใช้สารเคมีในระหว่างการติดลูก การย้อมสีลูกหลังเก็บเกี่ยว ต้องมีงานวิจัยมารองรับทั้งในแง่คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัย (ปัจจุบันเป็นการใช้แบบยาผีบอก ?)
     3) โครงสร้างธุรกิจต้องมีการทำงานร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งเกษตรกร ผู้ซื้อ ผู้ส่งออก โดยมีเทคโนโลยีจากงานวิจัยมาสนับสนุน
     4) ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น คนจีนที่มาเปิดล้ง มาทำการค้าในไทยโดยไม่มีใบอนุญาตได้เพราะการปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่
     ข้อเสนอแนะ:
     1) พัฒนาการขายผลไม้เป็นแบบ ขายเนื้อ ไม่ขายเปลือก (fresh cut)
     2) ทำอย่างไรให้ผลไม้ fresh cut (ขายเฉพาะเนื้อ) ส่งทางเรือได้ (มากกว่า 7 วัน) และมี shelf life ได้ไม่น้อยกว่า 20 วัน
     3) เทคโนโลยีต้องสามารถทำให้เป็น commercial ได้จริงทั้งในเชิงเทคนิค และเชิงเศรษฐกิจ
     4) การวิจัยต้องมี 3 มิติ คือ pure science, use science and commercial จึงจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง

     คุณสุรศักดิ์ (บ.ทรอปิคัลกรีน จำกัด)
     1) สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ ทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบ ทั้งการจัดหาผลลิตให้ได้ตามออเดอร์ทั้งปริมาณและคุณภาพ
     ข้อเสนอแนะ:
     1) งานวิจัยด้าน packaging ที่สามารถรักษาคุณภาพสำคัญของสินค้าได้ เช่น การรักษากลิ่นของทุเรียนระหว่างขนส่ง เป็นต้น

     คุณกัลญา (บ.กรกต อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด)
     1) การส่งออกผลไม้ตลอดทั้งปี มักจะมีปัญหาในการส่งออกสินค้านอกฤดูกาล เนื่องจากคุณภาพสู้ผลผลิตตามฤดูกาลไม่ได้ และที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้และยอมรับคุณภาพของสินค้านอกฤดูกาล
     2) กรรมวิธีในการตรวจสอบคุณภาพของผลไม้ ที่ใช้งานง่าย เที่ยงตรง และเชื่อถือได้
     3) เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ที่สามารถยืดระยะเวลา shelf life โดยที่ยังมีคุณภาพเหมือนเดิม (เช่น การยืดระยะเวลาของเนื้อทุเรียนพร้อมทาน ในตลาดขายสินค้า USA)

     คุณณัฐพร (DigitalPass Co.,Ltd.)
     1) ต้องระบุลูกค้าสำคัญของเราให้ได้อย่างชัดเจน
     2) หาความต้องการสำคัญ (key values) ของลูกค้าสำคัญ
     3) ผลิตสินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ทั้งปริมาณและคุณภาพ
     4) พิจารณาต้นทุนการผลิตสินค้าตามความต้องการสำคัญของลูกค้า กับราคาที่จะขายได้ว่ามีส่วนต่างที่สามารถทำกำไรได้คุ้มค่าหรือไม่

     ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ วช.
    1) ทำอย่างไรจึงจะสามารถลดความเสียหายจากผลผลิตให้ได้มากขึ้น เช่น ในทุเรียนให้ได้มากขึ้น จากที่ขณะนี้เสียหายประมาณ 50%
     2) ควรเพิ่มงานวิจัยด้าน review article เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านการผลิตผลไม้ไทย ตลอด supply chain มาวิเคราะห์หาจุดแข็งไปพัฒนาต่อยอด/จุดอ่อนไปเป็นโจทย์วิจัยเพื่อศึกษาหาทางออกต่อไป
     3) นวัตกรรม/เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการรักษาและตรวจสอบคุณภาพของผลผลิต
     4) การรักษาสภาพ การยืดอายุ shelf life รวมทั้ง packaging ของสินค้าแบบ fresh cut
     5) พัฒนารูปแบบสินค้าใหม่ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสำคัญกลุ่มใหม่ๆ แต่ละกลุ่ม เพื่อหาตลาดใหม่ (new order) 
     6) พัฒนาฐานข้อมูล ทั้ง supply chain เพื่อนำไปสู่โจทย์วิจัย สำหรับสร้างเป็นข้อเสนอเพื่อไปขอการสนับสนุนจาก PMU ต่างๆ ต่อไป
     7) ผลักดันเชิงนโยบาย ในการขออนุญาตและขึ้นทะเบียนสารสกัดสำคัญ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ได้จากการสกัดผัก ผลไม้ และสมุนไพรต่างๆ

     กระบวนการหาโจทย์วิจัย ด้วย Design Thinking
     1) จำแนกกระบวนการ/ขั้นตอนการทำงานสำคัญ
     2) วิเคราะห์แต่ละกระบวนการ/ขั้นตอน เพื่อหา...
     (2.1) จุดประสงค์/เป้าหมายสำคัญ
     (2.2) ปัญหาสำคัญทั้งหมดที่พบ ที่ส่งผลต่อการบรรลุจุดประสงค์/เป้าหมาย
     (2.3) สิ่งคาดหวัง/อยากได้ทั้งหมด เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์/เป้าหมาย
     3) นำสิ่งที่คาดหวัง/อยากได้ (จาก 2.3) มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นโจทก์ สำหรับนำไปหาแนวทางที่จะใช้แก้ไขปัญหา ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายสำคัญได้ ตามที่คาดหวัง

     ดำเนินการอภิปรายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท