ADS


Breaking News

บูมมาก! “วันครอบครัวฮีโมฟีเลีย 2566 Fit 4 Fun : ทรงอย่างฟิต ฮิตอย่างบอย”

“วันครอบครัวฮีโมฟีเลีย 2566 Fit 4 Fun : ทรงอย่างฟิต ฮิตอย่างบอย”
     วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 08.00 - 13.00 น. ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หน่วยโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็ก ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มูลนิธิโรคเลือดง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศ ไทย และชมรมผู้ป่วยโรคเลือดง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดงาน “วันครอบครัวฮีโมฟีเลีย 2566 Fit 4 Fun : ทรงอย่างฟิต ฮิตอย่างบอย” วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 08.00 - 13.00 น. ณ ห้อง ประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเน้นความสําคัญของการออกกําลังกาย ในผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆของร่างกาย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในกล้ามเนื้อและข้อ ทําให้ผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียไม่เกิดความ พิการ สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตประจําวันเทียบเท่าคนปกติได้
     โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดขึ้นเฉพาะในเพศชาย ประมาณ 1-2 หมื่นคนจะพบ ผู้ป่วยโรคนี้ 1 คน โรคนี้เกิดจากความบกพร่องของยีนที่สร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเลือดออก ผิดปกติตั้งแต่กําเนิด หรืออาจพบได้ในวัยเด็กถึงวัยรุ่น หลังมีการกระทบกระแทกของกล้ามเนื้อและข้อ ในปัจจุบันมี ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียทั้งประเทศประมาณ 1,800 คน แต่ในอนาคตอาจให้การวินิจฉัยผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วย ที่มีอาการน้อย อาการเลือดออกของโรคฮีโมฟีเลียมีลักษณะเด่น คือ มีเลือดออกในข้อร้อยละ 80–100 และใน กล้ามเนื้อร้อยละ 10–20 ซึ่งอาจเกิดภายหลังได้รับอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระแทก เช่น การเล่นกีฬา เป็นต้น
     การออกกําลังกายเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งเสริมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย อีกทั้งในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียมักมีความเสี่ยงของการมีมวลกระดูกที่ต่ํา ดังนั้นเพื่อทําให้กระดูกแข็งแรงนอกเหนือจาก การป้องกันไม่ให้เกิดเลือดออกในข้อ การกินอาหารที่มีแคลเซียมและได้รับวิตามินดีอย่างเหมาะสมแล้ว การออก กําลังกายจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทําให้กระดูกและข้อแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทํากิจกรรมที่มีการออกแรงต้าน แรงโน้มถ่วงของโลกควรมีการออกกําลังกายสม่ําเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ทําให้กล้ามเนื้อและรอบข้อแข็งแรง เพื่อมิให้มีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อ เช่น ว่ายน้ํา เดินเร็ว ขี่จักรยาน แบดมินตัน เป็นต้น
     นอกจากนี้การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฮีโมฟีเลียที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงคนใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้ เกิดภาวะเลือดออกในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียเป็นสิ่งสําคัญพอๆกับการรักษา เพื่อป้องกันอย่างต่อเนื่องด้วยการให้แฟค เตอร์ สิ่งที่สําคัญมากที่ผู้ป่วยโรคนี้ควรปฏิบัติคือการออกกําลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ําเสมอเพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อแข็งแรง นําไปสู่การมีสุขภาพข้อที่ดีขึ้น อัตราการเกิดเลือดออกในข้อน้อยลง และมีคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยฮีโมฟีเลียดียิ่งขึ้น โดยการให้ผู้ป่วยทําเป็นประจําด้วยตนเองที่บ้านอย่างน้อยวันละครั้ง นาน 30 นาที และความถี่ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ กีฬาที่ควรส่งเสริมให้เล่นในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เช่น ว่ายน้ํา แบดมินตัน ปิงปอง ขี่ จักรยาน และการวิ่ง หรือ เดินออกกําลังกาย เป็นต้น เพราะเป็นกีฬาที่ปลอดภัย และช่วยส่งเสริมให้มีกล้ามเนื้อ บริเวณรอบข้อแข็งแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องมีการกระทบกระแทก เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ชกมวย เป็นต้น หากผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียมีอาการเลือดออกในกล้ามเนื้อและข้อ และไม่ได้รับการดูแลรักษา อย่างถูกต้องทันท่วงที เกิดซ้ําๆหรือรุนแรงอาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับข้อในระยะยาวได้ เนื้อเยื่อ ภายในข้ออาจกลายเป็นพังผืดซึ่งจะส่งผลในระยะยาวทําให้เคลื่อนไหวบริเวณข้อไม่สะดวก อีกทั้งถ้าเกิดภาวะ
     เลือดออกในข้อขึ้นหนึ่งครั้งแล้วจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกในข้อซ้ําบริเวณเดิมได้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อ บริเวณข้อไม่แข็งแรง ปวดเมื่อยตามข้อแม้แต่ตอนอยู่นิ่งๆ ไม่สามารถทํากิจกรรมในชีวิตประจําวันได้สะดวก อาจนําไปสู่การเกิดข้อพิการได้ในอนาคตโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายในงานจะได้รับความรู้ในหัวข้อเรื่อง
     - การอัพเดตสิทธิและการรักษาในปัจจุบัน การเสวนาพูดคุยเรื่องการเบิกจ่ายยาแฟคเตอร์ในระบบของสปสช. และวิธีการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน จากแพทย์เฉพาะทางและเลขาธิการ สปสช.
     - การออกกําลังกายอย่างไรให้ได้ “ทรงอย่างฟิต และฮิตอย่างบอย” การเสวนาพูดคุยเรื่องการออกกําลัง กายอย่างไรสําหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย การให้คําปรึกษา คําแนะนํา และการดูแลตนเอง
จากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
     - แชร์ประสบการณ์การออกกําลังกายจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง เป็นการเล่าประสบการณ์จริงของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียรุ่นพี่ กับประโยชน์ของการออกกําลังกาย
     - กิจกรรมการออกกําลัง “Fit with Drill” การทํากิจกรรรมออกกําลังกายร่วมกันของผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์การกีฬาสาธิตและฝึกสอน ทางผู้จัดงานคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมในครั้งนี้จะมีประโยชน์และเสริมสร้างกําลังใจในการดูแลตนเอง
ให้กับผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียและครอบครัวได้เป็นอย่างดี