ADS


Breaking News

วช. เผย เคล็ดลับ ปั้นเด็กไทยในยุคดิจิทัล ในงานวันนักประดิษฐ์ 2566

วช. เปิด กลยุทธ์ ปั้นเด็กไทยในยุคดิจิทัล ในงานวันนักประดิษฐ์ 2566 
ดร. เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ สพฐ.
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช.
    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นนานาชาติ จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 24 ระหว่าง 2-6 กุมภาพันธ์ ณ อีเว้นท์ฮอล 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยปีนี้จัดยิ่งใหญ่ มีผลงานจากนักประดิษฐ์ไทยและนานาชาติส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 1,000 ผลงาน จาก 24 ประเทศ ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานจำนวนมาก
   ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า งานวันนักประดิษฐ์ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ถือเป็นเวทีระดับชาติยิ่งใหญ่เวทีหนึ่งที่นอกจากเปิดโอกาสให้ผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนในวงกว้าง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักประดิษฐ์ไทยกับนักประดิษฐ์นานาชาติ และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่เยาวชนและนักประดิษฐ์รุ่นใหม่อีกด้วย
    งานวันนักประดิษฐ์ 2566 วันที่สอง 3 กุมภาพันธ์ วช จึงได้ร่วมกับ สวทช .สพฐ.และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีเสวนา ในหัวข้อ ปั้นเด็กไทยในยุคดิจิทัล  ณ เวทีกลาง ฮอลล์ 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช. , ศาสตราจารย์ ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ สพฐ ร่วมเปิดแนวคิด โดยทั้งสามฝ่ายเห็นตรงกันว่า เด็กไทยในยุคดิจิทัลมีความรู้ความสามารถและเก่งไม่แพ้ใครโลกในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องเป็นเด็กที่มีทักษะทางอาชีพและสามารถปรับตัวให้ดูแลตัวเองได้อย่างมีความสุขท่ามกลางการแข่งขัน ดังนั้นการเปิดโอกาสและพื้นที่เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สร้างประสบการณ์ที่หลากหลายในลักษณะ Active Learning เพื่อให้เด็กได้เลือกตามความถนัดและไปต่อยอดตามช่องทางในการแสวงหาความรู้อย่างเวทีงานวันนักประดิษฐ์ที่ วช ดำเนินการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก จึงขอขอบคุณ วช ในการจัดงานลักษณะนี้
     ดร. เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ สพฐ. กล่าวว่า ขอขอบคุณ วช ที่ให้โอกาส สพฐ ในการจัดนักเรียนวันละ5,000 คน9เขตพื้นที่การศึกษามาดูงานวันนักประดิษฐ์ เพราะเราไม่ได้ต้องการให้เด็กเรียนอยู่ในโรงเรียน เท่านั้นและไม่ได้ให้มาเพื่อดูงานอย่างเดียวแต่นี่คือการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อปีหน้าเราจะได้เห็นเด็กสร้างโปรดักส์และแบรนด์ของตัวเองในนามของ สพฐ เป็นเด็กไทยที่ไม่ว่าจะอายุเท่าใดไม่จำเป็นจะต้องเรียนเก่งแต่สามารถมองออกและรู้ความต้องการของตนเอง และก้าวไปสู่จุดหมายที่ตั้งเป้าได้ สพฐมีความยินดีและขอขอบคุณอาจารย์ และ วช ที่ทำให้เด็กไปสู่ฝั่งฝันดั่งที่ปั้นไว้
    ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์โดยต้องทำในระดับเด็กและเยาวชนจะดีที่สุด เวทีประกวดของ วช ในงานวันนักประดิษฐ์จึงมีความสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้เกิดความคิดใหม่ๆ ไม่ใช่การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว ต้องขอขอบคุณ วช ที่เป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ดูแลส่งเสริมสนับสนุนเยาวชนทุกระดับตั้งแต่ผลงานนักเรียนมัธยม อาชีวศึกษา อุดมศึกษา จนถึงเวทีสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ เยาวชนไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การที่เด็กเข้ามาในเวที ถือเป็นแต้มต่อของชีวิตและจะเป็นทักษะติดตัวตลอดไป
   ศ.ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช. กล่าวว่า สังคมปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่เรียนหนังสือเก่งสอบได้เกรดดีอีกต่อไป หลังสถานการณ์โควิด-19 เราได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่เด็กเก่ง แต่คือเด็กที่ปรับตัว เรียนรู้สิ่งใหม่ๆฝึกฝนตนเองปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา เด็กต้องเรียนรู้นอกหลักสูตร นอกห้องเรียน จุดประกายความคิดใหม่ๆ สามารถนำสิ่งที่เป็นฐานความรู้ไปต่อยอดได้ ต่อไปมหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญกับเด็กที่เก่งนอกห้องเรียน และจะไม่ได้ต้องการเด็กที่เก่งวิชาการเท่านั้นแต่ต้องเป็นเด็กที่จะปรับตัวให้มีโอกาสได้ดีืีที่สุด 
     วช.ขอเชิญชวนประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ร่วมเยี่ยมชมงาน วันนักประดิษฐ์ 2566 ณ อีเว้นท์ฮอลล์ 100–102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่าง 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่ 09.00-17.00 น