ADS


Breaking News

สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ ลงนามร่วมปฏิญญาขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ผนึก 12 ภาค ประกาศเจตนารมณ์ R-E-S-P-E-C-T ตามองค์การสหประชาชาติ

สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดพิธีลงนามร่วมปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ขยายผลให้ประธานภาค ๑๒ ภาค ร่วมแสดงเจตนารมณ์ ตามหลักการ R-E-S-P-E-C-T ขององค์การสหประชาชาติ

     วันพุธที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ อาคารบ้านพระกรุณานิวาสน์ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้มีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๕  โดยมี นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์  นางสาวศิริพร ไชยสุต ประธานคณะกรรมการฝ่ายส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค พร้อมด้วย ประธานภูมิภาค ภาค ๑ - ภาค ๑๒ (อันประกอบด้วยนางพรทิพย์ ตั้งกีรติ ประธานภาคกลาง - ตะวันออก ภาค ๑ – ภาค ๒ นางสาวณัฏฐ์ปภาณ จันทร์ละมูล ประธานภาคกลาง - ตะวันออก ภาค ๓ – ภาค ๔ นางทิพวรรณ กิตติสถาพร ประธานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค ๕ – ภาค ๖ นางณัฏฐภัค  อติเชษฐ์ธนิศ ประธานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค ๗ นางรัศรินทร์ ลัดใหม่กุลวัฒน์ ประธานภาคเหนือ ภาค ๘ – ภาค ๙  ดร.อนงค์ศรี สิทธิอาษา ประธานภาคเหนือ ภาค ๙ – ภาค ๑๐ นางจรรยาวรรณ  สุวัณณาคาร ประธานภาคใต้ ภาค ๑๑ - ภาค ๑๒) เป็นผู้ร่วมลงนาม ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก นางรุ่งทิวา สุดแดน รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  นายจักรวาล แสงแข อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี โดยมีคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร สมาชิกสมทบ ของสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ แขกผู้มีเกียรติ และผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

     สืบเนื่องจากการที่ องค์การสหประชาชาติประกาศให้ ช่วง ๑๖ วัน ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญ ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ในเรื่องนี้ โดยได้จัดทำปฏิญญาเพื่อขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี พ.ศ. ๒๕๖๕ ขึ้น เพื่อประกาศเจตนารมณ์อันร่วมกัน และร่วมแสดงเจตนารมณ์อย่างเป็นทางการในอันที่จะให้ความร่วมมือกัน ตามหลักการ R-E-S-P-E-C-T ขององค์การสหประชาชาติ 

     การทำปฏิญญาฯ ฉบับนี้ จะปลุกจิตสำนึก สร้างความเข้าใจทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลประสบการณ์ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกัน ทำให้การขจัดความรุนแรงสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิผลและเป็นรูปธรรม