ล้นหลาม! วช. ผนึก ส.กีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรสู่การใช้งาน ครั้งที่ 4 ส่งท้ายภาคกลางที่ราชบุรี
วช. ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรสู่การใช้งาน ครั้งที่ 4 ส่งท้ายภาคกลางที่ราชบุรี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ |
นายมานิต นพอมรบดี กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี |
นางสาวกุลวลี นพอมรบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี |
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ |
นายนิวัตร วงศ์วิลัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี |
สิบโทณรงค์ศักดิ์ วุฒิสะศรี เจ้าหน้าที่บินโดรนถ่ายภาพมุมสูงถวายความปลอดภัยและเทคโนโลยี นายอุเทน จันทาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียจากโดรน จากโอเคไอสตูดิโอ |
ด.ช.ศุภกร สุนทรธรรมรัต นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนสาธิตนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
วันที่ 3 กันยายน 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” ภาคกลาง ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2565 ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายมานิต นพอมรบดี กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และนางสาวกุลวลี นพอมรบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และนายนิวัตร วงศ์วิลัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน เข้าร่วมในพิธีเปิดการอบรมฯ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีในโลกอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้งานในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้โดรนสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ และสามารถรองรับการใช้งานในภารกิจที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วช.จึงได้ให้การสนับสนุนสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ในการจัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาองค์ความรู้ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มาปรับใช้กับการทำงานในงานด้านต่าง ๆ โดยการอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 และเป็นครั้งสุดท้ายของภาคกลาง ซึ่งจะก่อให้เกิดพัฒนาด้านการศึกษาให้เกิดการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ สร้างนวัตกรในประเทศ ให้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี ด้านการบินในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
“วช. ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนสมาคมฯ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปในทุกภูมิภาคทั่วประเทศต่อในพื้นที่ภาคเหนือ” ดร.วิภารัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้รับการสนับสนุนจาก วช. จัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมจริง โดยการอบรมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 และครั้งสุดท้ายของภาคกลาง ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี ในการจัดอบรมระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2565
ภายในงาน มีนายอุเทน จันทาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียจากโดรน จากโอเคไอสตูดิโอ สิบโทณรงค์ศักดิ์ วุฒิสะศรี เจ้าหน้าที่บินโดรนถ่ายภาพมุมสูงถวายความปลอดภัยและเทคโนโลยี และ ด.ช.ศุภกร สุนทรธรรมรัต นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนสาธิตนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การนำโดรนไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ ซึ่งได้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้รับการสนับสนุนจาก วช. จนประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร กล่าวได้ว่าเป็น“โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย เป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลก ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ถือเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งานที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และแพลตฟอร์มระบบปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาและส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และนวัตกร ที่จะนำองค์ความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน (Drone) ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคกลาง โดยจัดการอบรมจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1จัดที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 จัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 3 จัดที่จังหวัดเพชรบุรี และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 จัดที่จังหวัดราชบุรี ระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2565 ถือเป็นการจัดอบรมครั้งสุดท้ายของพื้นที่ภาคกลาง โดยจัดอบรมครั้งละ 50 คน รวมจำนวนผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้นกว่า 200 คน เป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านกิจกรรม “โดรนแปรอักษร”
หลังจากสิ้นสุดการอบรมฯ ในพื้นที่ภาคกลางครั้งนี้แล้ว สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ภายใต้การสนับสนุนจาก วช. จะทำการเปิด “การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งการอบรมฯ ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ โดยนักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมการอบรมฯ ได้ที่ Facebook Fanpage : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ