ADS


Breaking News

แชฟฟ์เลอร์ ผนึก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดแข่งขันด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

แชฟฟ์เลอร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

จัดโครงการแข่งขันด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

 


เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดโครงการการแข่งขันความคิดสร้างสรรค์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ภายใต้แนวคิด “พันธมิตรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 160 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เยอรมนี  โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงความรู้ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นโยบายและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม




ผู้บริหารแชฟฟ์เลอร์ในภาพจากซ้าย นายชัชวาล ส้มจีน  กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย  (ที่ 3)  นายพีระดิษฐ์ โชติภาสพุทธิ ผู้จัดการหน่วยธุรกิจระบบส่งกำลัง แผนกเทคโนโลยียานยนต์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ที่ 4)            นายชัยชาญ โอปนายิกุล ที่ปรึกษา ประจำประเทศไทย (ที่ 2) นายกรัณย์  ศิริเลิศชัย ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย แผนกอุตสาหกรรม (ที่ 1)  และนายวรกร  ศศิจุลกะ ผู้จัดการโครงการ ส่วนงานอี-โมบิลิตี้ และระบบแชสซี (ที่ 5)

 

บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดโครงการการแข่งขันความคิดสร้างสรรค์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (the Future EV Mobility Creative Contest for Sustainability) สำหรับนิสิตนักศึกษา โดยจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ภายใต้แนวคิด “พันธมิตรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน” ซึ่งงานดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 160 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เยอรมนี  โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงความรู้ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นโยบายและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 


แหล่งรวมนวัตกรรมและการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้า


การแข่งขันในครั้งนี้จัดขึ้นตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทยที่กำลังขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน    อีกทั้งยังเป็นการจัดการแข่งขันเพื่อยกย่องความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมและการคมนาคมด้วยยานยนต์ไฟฟ้า (EV Mobility) ของประเทศเยอรมนี รวมถึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบความคิดริเริ่มด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศของเยอรมนี (German International Climate Initiative) ด้วย 


นายชัชวาล ส้มจีน กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ประเทศไทยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงประเทศให้กลายเป็นสังคมปลอดมลพิษ ภายใต้นโยบาย 30/30 ซึ่งหมายความว่า 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดจะเน้นไปที่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 และด้วยสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคส่วนยานยนต์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดว่าจะมากถึง 50% จึงทำให้ประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เหมาะสมและเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ชั้นนำในภูมิภาคนี้สามารถสร้างโอกาสให้กับเราอย่างมากมาย ในการพัฒนาโซลูชั่นนวัตกรรมใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมีศักยภาพ”


นายพีระดิษฐ์ โชติภาสพุทธิ ผู้จัดการหน่วยธุรกิจระบบส่งกำลัง แผนกเทคโนโลยียานยนต์ บริษัท แชฟฟ์เลอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า  ”ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนไปสู่อี-โมบิลิตี้อย่างแท้จริง ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ และประสบการณ์ที่ดีระหว่างนิสิตนักศึกษาและคณะที่ปรึกษา รวมถึงการแสดงนวัตกรรมโซลูชั่นที่หลากหลายที่มีส่วนช่วยผลักดันอุตสาหกรรมให้เติบโตเพิ่มขึ้น”    


โครงการนี้เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดโดยใช้เกณฑ์การตัดสิน 3 หัวข้อหลัก คือ ความคิดสร้างสรรค์  ความเป็นไปได้ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าล่าสุด  โดยทีมที่ได้รับคัดเลือก 8 ทีม ทีมละ 3 คน เข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ชิงเงินรางวัลรวม 100,000 บาทเมื่อวันที่ 27 – 28 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา  ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  



บ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสม


ปัจจุบันตลาดมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชาโดยเฉพาะในสายงานวิศวกรรมต่างๆ ดังนั้นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาคส่วนการคมนาคมด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแท้จริง 


นางสาวพัชมน ปัญโญสุข หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธุรกิจเครือข่ายยานยนต์ก่อให้เกิดความต้องการด้านทักษะและความสามารถในวงกว้างเป็นอย่างมาก และเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโลกอุตสาหกรรมดังกล่าว แชฟฟ์เลอร์เชื่อมั่นอย่างเต็มที่ถึงความสามารถของเราในการจัดหาเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสร้างพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม พร้อมด้วยทักษะที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมอย่างการแข่งขัน EV Hackathon ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยให้แชฟฟ์เลอร์สามารถบ่มเพาะและดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการบุกเบิกและสร้างสรรค์โซลูชันเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน”


โดยก่อนหน้านี้ บริษัทแชฟฟ์เลอร์ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยบูรพา ขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะและการปรับทักษะใหม่สำหรับวิศวกร คนทำงาน และผู้สำเร็จการศึกษาผ่านหลักสูตรโปรแกรมการเรียนรู้ และการฝึกอบรมทางเทคนิคที่ดำเนินการที่ศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ของมหาวิทยาลัยบูรพา นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของแชฟฟ์เลอร์ได้โดยตรง ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี  Smartcheck  และ OPTIME  

               

แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป – We pioneer motion


ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลก แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์มามากกว่า 75 ปี ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัย ในด้านการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมดิจิตอล 4.0 และพลังงานหมุนเวียน  ทำให้แชฟฟ์เลอร์เป็นหุ้นส่วนธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือในด้านการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการด้านอุตสาหกรรมและยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และยั่งยืน เราผลิตชิ้นส่วนและระบบที่มีความแม่นยำสูงสำหรับระบบขับเคลื่อน (drive train) และระบบช่วงล่าง (แชสซี) รวมถึง ตลับลูกปืนหลายชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป  มียอดขายประมาณ 13.9 พันล้านยูโรในปี พ.ศ. 2564 โดยเป็นหนึ่งในบริษัทครอบครัวที่ใหญ่สุดในโลก ด้วยจำนวนพนักงานมากถึง 83,300 คน อีกทั้งจากข้อมูลของ DPMA (สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าเยอรมนี) แชฟฟ์เลอร์เป็นบริษัทที่มีการพัฒนานวัตกรรมมากสุดเป็นอันดับสาม โดยมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรไปมากกว่า 1,800  รายการในปี พ.ศ. 2564