ADS


Breaking News

TCMA แสดงศักยภาพอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลดก๊าซเรือนกระจก ฝ่าวิกฤตโลกร้อน ที่งานประชุมภาคีขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

TCMA โชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลดก๊าซเรือนกระจก พลิกวิกฤตโลกร้อน ในการประชุมภาคีขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ทั่วโลกกำลังรณรงค์ร่วมมือกันดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ล่าสุด สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย หรือ TCMA ได้นำเสนอความก้าวหน้าดำเนินงานร่วมกับภาคี ภายใต้แนวคิด Thai Cement in Actions through Stakeholders Collaboration พร้อมประกาศนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 เข้าสู่การใช้งานแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2566 มุ่งสร้างอีโคซิสเต็มระบบ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นประธาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ ยืนยันเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนการับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมุ่งใช้นโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นกลไกหลักในการสร้างความสมดุลแห่งการพัฒนา เดินหน้าสร้างความเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน เมื่อวันที่ 5- 6 สิงหาคม 2565 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ที่ผ่านมาก

นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย หรือ TCMA กล่าวว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งเป็นวาระสำคัญของโลก จึงนำไปสู่การร่วมกันจัดทำ Thailand Net Zero Cement & Concrete Roadmap 2050 เพื่อให้ตลอดกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามนโยบายภาครัฐ โดยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีเป้าหมายปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 ตัวอย่างที่ดำเนินการในปัจจุบันเช่น การวิจัยพัฒนาด้านวัสดุและนำเทคโนโลยีการบดปูนซีเมนต์เข้ามาใช้ เกิดเป็น ‘ปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก)’ และกระตุ้นให้มีการใช้งานแทนปูนซีเมนต์ชนิดเดิมทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2566 หรือการนำวัสดุไม่ใช้แล้ว (Waste) จากภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชน มาสู่กระบวนการแปรสภาพและใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน เป็นต้น

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย หรือ TCMA เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมภาคี
     การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) "อนาคตไทย อนาคตโลก: โอกาสและความรับผิดชอบ (Our Future: Our Responsibility, Our Opportunity)" ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น พร้อมนำเสนอความก้าวหน้าดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้แนวคิด Thai Cement in Actions through Stakeholders Collaboration

     “สมาชิก TCMA ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยทุกราย เห็นพ้องร่วมกันดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม จึงผนึกกำลังมุ่งสร้างอีโคซิสเต็ม ทั้งภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งนำเทคโนโลยีระดับโลกเข้ามาใช้ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งต่อสิ่งดีๆ ทั้งด้านคุณสมบัติและสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ใช้งาน และเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมาย Thailand Net Zero Cement & Concrete Roadmap 2050 และด้วยการสนับสนุนของภาคีร่วมดำเนินการ วันนี้ค่อนข้างมั่นใจ จึงจะเร่งนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เข้าสู่การใช้งานแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจะทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยกว่า 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 122 ล้านต้นเลยทีเดียว และผู้ผลิตพร้อมยกเลิกการผลิตปูนซีเมนต์ชนิดเดิมที่ปล่อย CO2 สูง ในต้นปี พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ การผนึกความร่วมมือกับ GCCA (Global Cement and Concrete Association) องค์กรชั้นนำระดับโลกด้านซีเมนต์และคอนกรีต เข้าร่วมงาน COP 27 ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ที่ประเทศอียิปต์ จะเป็นโอกาสที่แสดงศักยภาพอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยที่ก้าวขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับระดับโลกนายชนะ กล่าวทิ้งท้าย