วช. เผยกรอบการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมโชว์ผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม NRCT Open House 2022
วช. ชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม NRCT Open House 2022
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ |
วช. เปิดบ้านชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 พร้อมแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2022 “วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ” เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนในปี 2566 ระหว่างวันที่ 12 – 19 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
วันที่ 13 มิถุนายน 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม NRCT Open House 2022 “วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ” เพื่อชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 ของ วช. และแนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุน วช. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ปี 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House ระหว่างวันที่ 12 – 19 มิถุนายน 2565 ซึ่งในวันนี้เป็นวันที่สอง จะเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วช. ได้มีการมองร่วมกันในหลายส่วนทั้งในเรื่องสถานการณ์โลก เรื่องสถานการณ์ในระดับภูมิภาค และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ของประเทศไทย มีหลายประเด็นที่มีความสำคัญ อาทิ Climate Change, การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้, ภัยพิบัตทางธรรมชาติ, ด้านพลังงาน และฝุ่น PM 2.5 ประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญ มีความเร่งด่วนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเป็นภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้น และก็จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในส่วนภูมิภาคก็มีความตระหนักต่อการที่จะเรียกร้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ฉะนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญ ในระดับการประชุมของรัฐบาล ภาคีเครือข่ายกรอบอนุสัญญาสำคัญของสหประชาชาติ ประเด็นสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาพูดคุยและต้องการความร่วมมือและการตกลงร่วมกัน ในประเทศไทยก็เช่นกัน ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องคาร์บอน ซึ่งมีเป้าหมายในระดับของโลกอยู่ ช่วงหลังจากปีนี้ ประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับแผนให้มีกลยุทธ และที่สำคัญเรื่องของแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมก็สามารถเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เรื่องของการแก้ไขปัญหาที่มีความท้าทาย ความทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางพลวัตรโลก จะสามารถนำสู่เป้าหมายโลกร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมถึงการทำแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งในแผน ววน. ในกรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566 – 2570 ก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
กิจกรรมภายในงาน มีการเสวนา เรื่อง “แนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ รองศาสตราจารย์ดร.สุธา ขาวเธียร ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ชิดไธสง นอกจากนี้ ยังมีการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมของนักวิจัยทั้ง 5 ท่าน ดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อำพร เสน่ห์ รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ เจริญไชยตระกูล รองศาสตราจารย์ดร.เจนยุกต์ โล่วัชรินทร คุณสมโภค กิ่งแก้ว และรองศาสตราจารย์ชัชรี แก้วสุรลิขิต ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินการโครงการให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
สำหรับการเปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม วช. จะเปิดรับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน ถึง วันที่ 11 สิงหาคม 2565 โดยนักวิจัยต้องยืนยันการเข้าร่วมทำวิจัยในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น. ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย ต้องรับรองข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น. การประกาศผลการพิจารณา วช. จะประกาศผ่านเว็บไซต์ www.nrct.go.th และ https://nriis.go.th