บอกลาเหงื่อออกมือ ปัญหากวนใจ โดย วชิรพยาบาล
บอกลาเหงื่อออกมือ ปัญหากวนใจ
โดย ผศ.นพ.ศิระ
เลาหทัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้อง
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
เหงื่อเป็นกลไกหนึ่งของร่างกายที่ให้ร่างกายเราเย็นลง โดยระบบประสาทจะกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ทำงานเมื่ออุณหภูมิร่างกายเราสูงขึ้น เพื่อทำให้เกิดสมดุลของร่างกายเรา แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเหงื่อออกเฉพาะที่โดยบริเวณมือและเท้ามากกว่าปกติ โดยที่ไม่เกี่ยวกับความร้อน อุณหภูมิหรือการออกกำลังกาย โดยในกลุ่มนี้ ยิ่งไปกว่านั้นในผลเสียในภาวะนี้นำไปสู่อาการคันและอักเสบบริเวณที่มีเหงื่อมากหรือการมีกลิ่นตัวเนื่องจากการสะสมของแบคทีเรียบนผิวหนังหรือการเปลี่ยนแปลงของผิว เช่น รอบคล้ำหรือสีผิวไม่สม่ำเสมอ รอยแตก บางหรือเปื่อยง่ายในผู้ป่วยบางรายอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เลย
เหงื่อออกแบบไหนที่ถือว่าเป็นภาวะที่ผิดปกติ
ที่ควรไปปรึกษาแพทย์
1.เหงื่อออกมากผิดปกติจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน
2.เหงื่อออกมากเกิดกว่าคนปกติ
แม้ะอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยไม่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก
ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเฉพาะด้านผ่าตัดส่องกล้อง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่า สาเหตุของภาวะโรคเหงื่อออกมือที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะ primary hyperhidrosis ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมต่อมเหงื่อทำงานมากเกินกว่าปกติ แม้จะไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยการออกกำลังกาย หรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นก็ตาม ภาวะเหงื่อออกมือมากในกลุ่มนี้ มักพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยและมักพบมากบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า โดยปัจจุบันทางการแพทย์ยังหาสาเหตุได้ไม่แน่ชัด ส่วนผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากส่งต่อของทางพันธุกรรมผ่านทางครอบครัวได้ อีกภาวะหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือ Secondary hyperhidrosis เป็นภาวะที่เหงื่อออกมือที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเอง แต่กลุ่มนี้พบได้น้อย และมักมีอาการเหงื่อออกมากทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งภาวะที่ทำให้เกิดอาการได้แก่ โรคเบาหวาน หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน โรคไทรอยด์เป็นพิษหรือการรับประทานยาบางชนิด
ภาวะเหงื่อออกที่มือ ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตและไม่ได้เกี่ยวกับโรคหัวใจตามที่เคยกล่าวอ้าง แต่การที่เกิดภาวะดังกล่าวอาจส่งผลทำให้เกิดผลกระทบในการทำงาน เช่น กลุ่มที่มีอาชีพที่ต้องใช้มือ เช่น วิศวกร นักคอมพิวเตอร์ ศิลปิน อาชีพค้าขายอาหาร อาชีพงานช่างต่าง ๆ และหมอนวด เป็นต้น นอกจากนี้อาการเหล่านี้จะส่งผลทำให้เกิดความวิตกกังวลและอาการไม่สบายใจจนรู้สึกประหม่า ทำให้เกิดปัญหาในการทำกิจกรรมอื่นๆหรือทำให้อารมณ์ของตนเองขุ่นมัวใส่คนรอบข้างได้
การรักษาภาวะเหงื่อออกมือนั้น มีตั้งแต่การเลือกใช้ยาระงับกลิ่นให้ต่อมเหงื่อไม่ทำงาน การรับประทานยา หรือการฉีดโบท็อกซ์ แต่การรักษาที่ได้ผลระยะยาวและสามารถเห็นผลได้ทันที คือ การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง โดยการผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดส่องกล้องแบบจุดเดียวขนาดหนึ่งเซนติเมตร ที่บริเวณใต้รักแร้ทั้งสองข้าง โดยผู้ป่วยจะเห็นผลทันทีหลังผ่าตัดและกลับบ้านได้เลยหลังจากการผ่าตัดเพียงแค่ 1 วัน ผู้ป่วยท่านใดที่กำลังมีอาการดังกล่าวและต้องการปรึกษาเพื่อเข้ารับการผ่าตัด เข้ารับการปรึกษาได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก “ผ่าตัดปอด” หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ lineofficial : @lungsurgeryth