REDCON Asia งานประชุมและแสดงนวัตกรรมเพื่อการวางแผนรับมือกับภัยพิบัติ แถลงข่าวกระตุ้นความร่วมมือของทุกภาคส่วน
กระตุ้นความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อผสานการรับมือภัยพิบัติผ่านงานแถลงข่าว REDCON Asia
27 เมษายน 2565 – กรุงเทพฯ: บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค (หนึ่งในกลุ่มบริษัทในเครือ วีเอ็นยูฯ ดำเนินกิจการด้านการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ เมืองอูเทร็คท์-ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองเซี่ยงไฮ้-ประเทศจีน และ กรุงเทพ-ประเทศไทย) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการประกาศตัวงานใหม่ งาน REDCON (เรดคอน) อันย่อมาจาก Resilience on Emergency & Disaster Conference ผ่านการจัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2565 ณ ศูนย์การค้า เอ็นบีเค เซ็นเตอร์ ซึ่งงานนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดงานโดย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)
REDCON Asia เป็นงานประชุมและงานแสดงนวัตกรรมเพื่อการวางแผนรับมือกับภัยพิบัติ ซึ่งงานนี้จะเป็นเวทีที่รวมทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการและผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อันทรงคุณค่าทั้งหมดของการจัดการและการรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภท รวมถึงการจัดการภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก โดยมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพฯ
การจัดงานประชุมและงานแสดงนวัตกรรม REDCON จะนำเสนอในรูปแบบของ “การเน้นคนเป็นศูนย์กลางสู่การจัดการภัยพิบัติและการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ” ภายในงานแถลงข่าวครั้งนี้มีวิทยากรจากหลากหลายภาคส่วนให้เกียรติมาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของการเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายฝ่ายในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติร่วมกันเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คนจากทั้งคณะสื่อมวลชน ตัวแทนภาครัฐบาล สถาบันการศึกษา และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมตัวกันภายในงานครั้งนี้ วิทยากรรับเชิญของงานนี้ ทางผู้จัดได้รับเกียรติจากคุณสหรัฐ วงศ์สกุลวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (DDPM) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ดร. Sanjay Srivastava, Chief of Disaster Risk Reduction, UNESCAP, คุณนีรชา มะลิศักดิ์ บรรณาธิการ เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย), ดร.พีรนันท์ โตวชิราภรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC), คุณ Tam Hoang, Sustainable Urbanization Specialist, UN-Habitat, คุณอัญชลี คงกรุต บก. หน้า บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนจากผู้จัดงาน
“บริษัท วีเอ็นยูฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในภูมิภาคนี้ พันธกิจของเราคือ การรวมรวมผู้นำทางความคิด ผู้กำหนดนโยบาย และบริษัทชั้นนำที่มีเทคโนโลยีเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการเตรียมการพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกรูปแบบ เราเชื่อมั่นว่า การจัดงานในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุและกระตุ้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม อันนำมาสู่การวางแผนดำเนินงานที่สอดคล้องและเด็ดขาดยิ่งขึ้นเมื่อยามเกิดภัยพิบัติต่างๆ” คุณโมนิก้า บาโร ผู้จัดการโครงการ REDCON Asia กล่าว
“ความร่วมมือ” ก็คือ “ทางรอด” ของพวกเรา” ข้อคิดสำคัญจากคำกล่าวเปิดโดย นายสหรัฐ วงศ์สกุลวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประเทศ กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (DDPM) “โลกทุกวันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเราทุกคนต้องเผชิญกับความยากลำบากไม่มากก็น้อยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนับเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญและพยายามที่จะหาทางแก้ไขร่วมกัน”
Dr. Sanjay Srivastava, Chief of Disaster Risk Reduction (UNESCAP) ได้กล่าวว่า REDCON Asia เป็นช่องทางที่สำคัญที่เอื้อประโยชน์แก่โอกาสสำคัญทั้งสามประการนี้เพื่อสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เริ่มจาก 1) สร้างการเชื่อมโยงนโยบายระหว่างหลายภาคส่วนเพื่อบูรณาการภัยพิบัติ สภาพภูมิอากาศ และความยืดหยุ่นด้านสุขภาพเข้ากับการวางแผนการพัฒนาได้อย่างราบรื่น 2) การลงทุนในระบบเตือนภัยล่วงหน้าจากภัยธรรมชาติและชีวภาพแบบบูรณาการ และ 3) การส่งเสริมการลงทุนในการปรับตัวและความยืดหยุ่นของสภาพอากาศ”
จากคำกล่าวสนับสนุนโดย ดร. พีรนันท์ โตวชิราภรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กล่าวว่า “เราต้องทำงานไม่เพียงกับภาครัฐเท่านั้น แต่กับภาคเอกชนด้วย จากสิ่งที่เราเผชิญอยู่ นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประชุม REDCON Asia ที่กำลังจะจัดขึ้น ซึ่งเราสามารถนำทั้งภาครัฐและเอกชนมารวมกันภายใต้หลังคาเดียวกัน”
อย่างไรก็ตาม “การประสานงานดังกล่าวจะไม่ง่าย” คุณ Tam Hoang, Sustainable Urbanization Specialist, UN-Habitat กล่าว “การจัดการกับภัยคุกคามที่รวมกันของ Twin C's อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ภัยพิบัติจากโรคระบาดโควิด-19 นั้นต้องใช้แนวทางที่เป็นนวัตกรรม ควบคู่ไปกับความพร้อมในการให้เงินทุนแก่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อมุ่งสู่แนวทางแก้ไขปัญหาที่คงทนในระยะยาวควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านมนุษยธรรม”
ในขณะเดียวกัน คุณอัญชลี คงกรุต บก. หน้า บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, และ คุณนีรชา มะลิศักดิ์ ตัวแทนจาก เดอะ เนชั่น ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของสื่อต่อการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการจัดการเหตุฉุกเฉิน “ในฐานะสื่อ เราเชื่อว่า เราสามารถมีบทบาทที่เป็นประโยชน์ และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของการรับมือ เนื่องจากการจัดการภัยพิบัติมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อนำเสนอข่าวเท่านั้น หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยสงครามล่าสุดและต่อเนื่องจะกลายเป็นปัญหาของมนุษยชาติ พวกเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบ ดังนั้นทุกคนจึงต้องร่วมมือกันและสื่อมวลชนเองก็เช่นกัน” คุณอัญชลี คงกรุต บก. หน้า บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post กล่าวเน้น
“เราเชื่อว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมโยงทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สาธารณะชน ฯลฯ – ผ่านการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักและการมองเห็นปัญหา การเผชิญกับความท้าทายในปัจจุบันเพื่อทำให้โลกของเราเป็นสถานที่ที่น่าอยู่และยั่งยืนมากขึ้น ไม่ใช่แค่สำหรับเราแต่สำหรับคนรุ่นอนาคตด้วย” คุณนีรชา มะลิศักดิ์ บรรณาธิการ เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย) กล่าวสนันสนุน
ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนเสียงจากฝั่งของนักวิชาการในงานนี้ กล่าวว่า “สภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงจะเพิ่มความไม่แน่นอนและความซับซ้อนให้กับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันจากกลไกทั้งหมดที่สังคมมี การหยุดชะงักของสภาพแวดล้อมจำเป็นต้องดำเนินการทั้งหมดในเชิงรุกและประสานกัน ซึ่งการรวมตัวกันของพวกเราในวันนี้ พร้อมกับความตั้งใจที่พวกเรามี จะสามารถช่วยผลักดันให้ภูมิภาคของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น นำโดยหน่วยงานของรัฐ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย องค์กรระหว่างประเทศ และพันธมิตรต่างๆ โดย REDCON Asia จะนำทางเราไปสู่การรับมือภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ”
งานแถลงข่าวในครั้งนี้กล่าวทิ้งท้ายและปิดงานโดย คุณอิกอร์ เพาก้า กรรมการผู้จัดการ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค “ทางผู้จัดงาน รู้สึกขอบคุณและเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนการจัดงานอย่างต่อเนื่องจากบรรดาพันธมิตร ผู้เข้าร่วมบรรยาย และผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ สำหรับงาน REDCON Asia ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2565 นี้ เราเชื่อมั่นว่าจะทำให้พวกเราทุกคนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคระบาด ภัยพิบัติ และภาวะโลกร้อนผ่านงานประชุมสัมมนาในครั้งนี้และต่อยอดสู่อนาคต"
########
วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค หนึ่งในกลุ่มบริษัทเครือ วีเอ็นยูฯ ดำเนินกิจการด้านการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศต่างๆทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองอูเทร็คท์-ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นมีสาขาในเมืองเซี่ยงไฮ้-ประเทศจีน และ กรุงเทพ-ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติของกลุ่มบริษัท Royal Dutch Jaarbeurs สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Royal Dutch Jaarbeurs ได้ร่วมทุนกับ บริษัท TCC Assets ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทชั้นแนวหน้าที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในภูมิภาค ทำให้บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ดำเนินกิจการครอบคลุมตลาดเอเชียแปซิฟิกได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีความเชี่ยวชาญการจัดงานแสดงสินค้ากว่า 15 งาน โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สัตว์เลี้ยง อาหาร เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการชีววิทยา, เทคโนโลยี 5G และ IoT และการจัดการกับภัยภิบัติ | รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ www.vnuasiapacific.com