มาร่วมเรียนรู้นวัตกรรมการวิเคราะห์เศษซากเชื้อ SARS-CoV-2 ในน้ำเสียชุมชนเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าการระบาดของโควิด
โควิดสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน "XE" โผล่อีก.....Update อย่างกับ Window
ตระหนักไม่ตระหนก.....มาร่วมเรียนรู้นวัตกรรมการวิเคราะห์เศษซากเชื้อ SARS-CoV-2 ในน้ำเสียชุมชนเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าการระบาดของโควิด-19 ที่สามารถ
1) เตือนภัยการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า และ สายพันธุ์โอมิครอนได้ถึง 20 และ 10 วันล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดใหญ่ในระดับชุมชนที่ตรวจพบโดย RT-qPCR รายบุคคล
2) ใช้ร่วมกับมาตรการอื่นๆของจังหวัดเพื่อลดการระบาดของไวรัสและลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ถึง 80 เท่า
3) ใช้ร่วมกับมาตรการอื่นๆของจังหวัดเพื่อกระตุ้นการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ได้เพิ่มขึ้นถึง 139%
4) ใช้เฝ้าระวังการระบาดในเรือนจำโดยลดค่าใช้จ่ายการตรวจ ATK ได้ถึง 86% โดยยังคงระดับการป้องการการระบาดที่เท่าเดิม
5) ใช้เฝ้าระวังการระบาดในโรงงานโดยลดค่าใช้จ่ายการตรวจ ATK ได้ถึง 73% โดยยังคงระดับการป้องการการระบาดที่เท่าเดิม
6) ใช้เตือนภัยล่วงหน้าการระบาดในตลาดให้สามารถเปิดตลาดอย่างปลอดภัยมั่นใจทั้งลูกค้าและผู้ขายลดความเสียหายอันเกิดจากการปิดตลาดเพราะการระบาดหนักได้ถึง 76%
ร่วมระดมสมองใช้นวัตกรรมลดผลกระทบจากโควิด-19 เตรียมความพร้อมสำหรับการประกาศโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น
อย่าพลาด
เรียนรู้จากตัวอย่างการใช้งานจริงในจังหวัดพิษณุโลก
การเสวนาวิชาการ
"ตรวจเศษซากไวรัสในน้ำเสียชุมชนเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าใช้ลดผลกระทบได้อย่างไรในจังหวัดพิษณุโลก?"
วันที่ 5 เมษายน 65 นี้
เวลา 9.00 ถึง 11.30 น
สะดวกเข้าแบบ Onsite เชิญที่ สสจ.พิษณุโลก ห้องประชุมชั้น 5 อาคารใหม่ (สีเขียว) ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/kipcMeWzdRhE2Bqf6 (ด่วนที่นั่งจำกัดไม่เกิน 50 ที่)
อยู่ไกลสะดวก Online ลงทะเบียนรับชมได้ที่ https://fb.me/e/1LBAnyIQI
หมายเหตุ:
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. (กองทุน ววน. ภายใต้ สกสว. กระทรวง อว.)