ADS


Breaking News

4 เสือ อว. - มรภ.สงขลา รุกนำองค์ความรู้สมัยใหม่พัฒนา "สตูล" สู่จังหวัด BCG ที่ยั่งยืน

4 เสือ อว. - มรภ.สงขลา ปั้น "สตูล" สู่จังหวัด BCG
     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดย สำนักงานปลัด อว. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ลงนามความร่วมมือกับจังหวัดสตูล นำองค์ความรู้สมัยใหม่พัฒนาสู่จังหวัดสีเขียว รวมถึงทำให้จังหวัดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทางมรดกวัฒนธรรม ผ่านอุทยานธรณีโลก "สตูลจีโอพาร์ค" พร้อมต่อยอดผลิตภัณฑ์พริกไทยสุไหงอุเปเป็นสินค้าอัตถลักษณ์ สร้างสินค้าปลอดสารเคมี
    วันที่ 1 เมษายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัด อว. เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การพัฒนาจังหวัดสตูลสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวทางการพัฒนา BCG ระหว่าง สป. วศ. วช. ปส. มรภ.สงขลา และจังหวัดสตูล โดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการ วช. นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดี วศ. นางสุชิน อุดมพร รอง เลขาธิการ ปส. และรองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิบดี มรภ.สงขลา ร่วมกันลงนามในครั้งนี้
     ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัด อว. กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาจังหวัดสตูลสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวทางการพัฒนา BCG” ในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสําคัญของการทํางานร่วมกันของหน่วยงาน อว. และ จังหวัด เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการทํางานเชิงรุกตามนโยบายของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่ง อว. ได้กําหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ผ่านโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model) ซึ่งมีทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ(Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว โดย ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ จะมุ่งเน้นการนําความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นต้นทุนที่ดีอยู่แล้วของจังหวัดสตูลมาพัฒนาต่อ ยอดด้วยองค์ความรู้สมัยใหม่ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ เช่น การพัฒนาให้พริกไทยสุไหงอุเปเป็นสินค้าอัตลักษณ์ ยกระดับผู้ประกอบการชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular economy) มุ่งเน้นการนําขยะหรือเศษวัสดุเหลือทิ้งมาพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ การจัดการกับขยะไมโครพลาสติก ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างรายได้ สร้างความยั่งยืนในการพัฒนา และสุดท้ายเศรษฐกิจสีเขียว(Green economy) มุ่งเน้นการพัฒนาให้จังหวัดสตูลเป็นเมืองสีเขียว มีสินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมี มีธรรมชาติที่นักท่องเที่ยว ต้องเดินทางมาสัมผัส โดยการดําเนินงานของ อว. จะเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและ ภาคประชาชนในจังหวัดสตูลได้เข้ามากําหนดแนวงทางการพัฒนาร่วมกัน โดยใช้กลไกของการเป็นอุทยานธรณีโลกแห่ง แรกแห่งเดียวของประเทศไทย “สตูลจีโอพาร์ค” เป็นแกนหลักในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
     ปลัด อว. กล่าวต่อไปว่า ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ อว. จะนําองค์ความรู้บูรณาการศาสตร์ ไปพัฒนาให้จังหวัดสตูลเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทางมรดกทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานอุทยานธรณีโลก ร่วมกันใช้ ทรัพยากรและความสามารถตามภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงาน โดยสํานักงานปลัด อว. จะทําหน้าที่ในการเชื่อมโยง ในเชิงนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป เป็นต้น วศ. จะเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบซึ่งเป็น อัตลักษณ์เฉพาะจังหวัดสตูล รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการจัดการขยะและไมโครพลาสติก ในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ปส. จะช่วยกํากับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี โดยคํานึง มาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย การใช้เทคโนโลยีด้าน รังสีเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของพืชพื้นถิ่น การตรวจติดตามไมโครพลาสติกในระบบนิเวศวิทยาทางทะเล การสร้างองค์ ความรู้ด้านความปลอดภัยจากใช้พลังงานนิวเคลียร์แก่คนรุ่นใหม่ วช. จะสนับสนุนทุนวิจัยด้านมาตรฐานและการจัดการ พื้นที่ รวมถึงด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อเป็นต้นแบบการบริหารอุทยานธรณีในประเทศไทย และรองรับเกณฑ์ประเมินของ Unesco และ มรภ.สงขลา จะเป็นหน่วย ปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า ที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของ อว. ประจําจังหวัด เป็นหน่วยงานที่รับประเด็นปัญหาที่มีความ จําเป็นเร่งด่วนของจังหวัด เพื่อประสานนําองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาปรับใช้ในจังหวัด
     นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า  ปัจจุบันงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมทั้งงานด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ถือเป็นเรื่องสําคัญในการพัฒนาพื้นที่ โดยเน้น การเชื่อมโยงและบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณในระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทํา และร่วมรับผิดชอบ ไม่ใช่ในฐานะผู้รับประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่จะเข้ามาเป็นผู้ร่วมกําหนดแนว ทางการพัฒนา และร่วมตัดสินใจกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง
     โดยเฉพาะการพัฒนาอุทยาธรณีโลก “สตูลจีโอปาร์ค” ให้มีความยั่งยืน ในนามพี่น้องชาวจังหวัดสตูล มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของ อว. ที่ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญที่จะนําองค์ความรู้และงานวิจัยต่าง ๆ มาบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล ให้ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทางมรดกทางวัฒนธรรม ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจ BCG ให้เกิดเศรษฐกิจ มูลค่าสูงต่อไป