ADS


Breaking News

ทิพยประกันภัย หนุนครูทั่วประเทศถ่ายทอดนวัตกรรมศาสตร์พระราชา ตามรอยจุดกำเนิดทฤษฎีใหม่ แนวคิดบวร และอาชีพพระราชทานครั้งแรก

ทิพยประกันภัยสนับสนุนครูทั่วประเทศถ่ายทอดนวัตกรรมศาสตร์พระราชา
ตามรอยจุดกำเนิดทฤษฎีใหม่ แนวคิดบวร และอาชีพพระราชทานครั้งแรก




     สระบุรี 22 มกราคม 2565 : บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานบริหารและพัฒาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และมูลนิธิธรรมดี นำคณะครูอาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ตามรอยจุดกำเนิดทฤษฎีใหม่ แนวคิดบวร และอาชีพพระราชทานครั้งแรก พร้อมร่วมถอดรหัสพระอัจฉริยภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ในโครงการตามรอยพระราชา "ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 14" สัมผัสวิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และท่องฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค อาชีพพระราชทาน แห่งแรกของประเทศไทย สระบุรี
     นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันกัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่ "บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มุ่งมั่นทำมาอย่างต่อเนื่องเสมอมา คือ การช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ  อาทิ โครงการ "ทิพยทำความดีไม่มีสิ้นสุด" โดยได้จัดกิจกรรมให้ครอบคลุมการช่วยเหลือสังคมทุกด้าน นอกจากนี้ยังจัดทำโครงการ "พัฒนาจิตสำนึกสาธารณะให้กับพนักงานในองค์กร และพัฒนาสถาบันครอบครัวให้ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง มีคุณธรรม" ร่วมกับองค์กรภาคี หลายองค์กร
     สำหรับโครงการ "ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา" นี้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เราได้ร่วมกับองค์กรภาคีต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมทางด้านการศึกษา มาตั้งแต่ปี 2561 โดยการนำคณะครูอาจารย์จากทั่วประเทศรวมแล้วกว่า 400 คน จากกว่า 200 สถาบัน ร่วมโครงการ "ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา" ในรูปแบบ Edutainment เพราะทุกที่คือการเรียนรู้ ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ผสมผสานการท่องเที่ยววิถีชุมชน รวมถึงกิจกรรมเวิร์คช็อป ผ่านนวัตกรรมบอร์ดเกมที่จะทำให้คณะครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สามารถนำไปสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีใหม่ในสถาบันการศึกษาชุมชน และครอบครัวได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
     ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดี ที่โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ได้รับความสนใจจากครู อาจารย์ ทั่วประเทศ และจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นับว่าประสบความสำเร็จในการสร้างการรับรู้ในกิจกรรมตามรอยพระราชา และเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพัฒนา 'ศาสตร์พระราชา ให้ชาวบ้านนำมาปฏิบัติจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น ทั้งนี้หน้าที่ในการ สืบสาน รักษา ต่อยอด เป็นหน้าที่ของคนไทยเราทุกคน ที่จะช่วยกันรักษาผืนแผ่นดิน ดังที่ ดร สุเมธ ตันติเวชกุล ได้เคยกล่าวไว้ว่าเราต้อง รักษาสิ่งที่ธรรมชาติให้มา คือ "ดิน" "น้ำ" "ลม" "ไฟ" สิ่งที่พระองค์ท่านในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงฝากไว้คือ "ความยั่งยืน"