ADS


Breaking News

แชฟฟ์เลอร์ ผนึก ม.บูรพา ขับเคลื่อน EEC Automation Park ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมแห่งใหม่สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และเทคโนโลยี 5G

แชฟฟ์เลอร์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา ขับเคลื่อน “อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค”

บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลก ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยบูรพา ขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาและทักษะส่วนบุคคลเกี่ยวกับระบบโรงงานอัตโนมัติ รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งให้กับเทคโนโลยีตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนในประเทศไทย Smartcheck และ OPTIME Solutions

ในภาพจากซ้าย:  นายประชารักษ์ อิทธิวิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายอุตสาหกรรม บริษัท แชฟฟ์เลอร์ ประจำประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คนที่ 1)  นายไมก้า เชฟพาร์ด ประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดหลังการขาย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประธานบริหาร บริษัท แชฟฟ์เลอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (คนที่ 2) นายไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (คนที่ 3) นายภุชงค์ พุทธวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท แชฟฟ์เลอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (คนที่ 4) และนายชัชวาล ส้มจีน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (คนที่ 5)


แชฟฟ์เลอร์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา ขับเคลื่อน EEC Automation Park  

ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมแห่งใหม่สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และเทคโนโลยี 5G


แชฟฟ์เลอร์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลก ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยบูรพา ในการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาและทักษะส่วนบุคคลเกี่ยวกับระบบโรงงานอัตโนมัติ รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งให้กับเทคโนโลยีตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนในประเทศไทย

นายเดวิด เนวิน ประธานอุตสาหกรรม บริษัท แชฟฟ์เลอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "ประเทศไทยกำลังเตรียมพร้อมที่จะเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมต่อไปในภูมิภาคนี้ เนื่องจากต้องการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผ่านความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ของ Thailand 4.0 จึงเกิดความร่วมมือระหว่างแชฟฟ์เลอร์และมหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีและโซลูชั่นการตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนของเรา ในขณะเดียวกันก็ให้ทรัพยากรที่จำเป็นในการหล่อเลี้ยงแรงงานรุ่นต่อไป เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม”

“การขับเคลื่อนอนาคตที่ดีกว่าด้วยการทำงานร่วมกัน โดยศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) ตั้งอยู่บนทำเลยุทธศาสตร์ที่เป็นฐานเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์พัฒนาทักษะและถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม โดยศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะรวมเครือข่ายพันธมิตรที่สนับสนุนการขับเคลื่อนของประเทศไทยในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้ร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ Japan External Trade Organisation เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในพื้นที่ด้วย”

นายไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศไทยมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ความร่วมมือของเรากับแชฟฟ์เลอร์ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรที่มีความสามารถที่จำเป็น เพื่อเชื่อมช่องว่างของการใช้ข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีระดับปฏิบัติการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยแนวทางปฏิบัติจริงและการจัดหาแพลตฟอร์มสำหรับนำเทคโนโลยีไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค จึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ดีกว่าผ่านระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์เสริมสร้างทักษะเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตในประเทศไทยก้าวสู่ Industry 4.0 อย่างเป็นทางการ พร้อมผู้แทนจากเครือข่ายพันธมิตรและบริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ด้วย

การเข้าถึงผู้มีความรู้ความสามารถที่มีคุณสมบัติสูงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ตามรายงานของ Future of Jobs โดย World Economic Forum เปิดเผยว่า กว่า 47% ของพนักงานทั้งหมดทั่วโลกจะต้องได้รับการฝึกฝนใหม่จนถึง ปี พ.ศ. 2568  นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าครึ่งชีวิตของทักษะที่เรียนรู้นั้นคาดว่าจะอยู่ที่ห้าปีและสั้นกว่านั้นสำหรับทักษะทางเทคนิค ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่มืออาชีพทุกคนจะต้องทุ่มเทให้กับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ด้าน นางสาวลอรา ฮับกา ผู้จัดการของแชฟฟ์เลอร์ อคาเดมี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "วัฏจักรนวัตกรรมที่สั้นลง รวมทั้งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีนั้น หมายความว่าความรู้จะล้าสมัยได้อย่างรวดเร็ว แชฟฟ์เลอร์พร้อมที่จะลงทุนและร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อนำความรู้มาสู่ผู้บุกเบิก เพื่อช่วยกำหนดอนาคตของการขับเคลื่อนเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าต่อไป”

  /////////////////////////

แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป – We pioneer motion

ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลก แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์มามากกว่า 70 ปี ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัย ในด้านการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมดิจิตอล 4.0 และพลังงานหมุนเวียน  ทำให้แชฟฟ์เลอร์เป็นหุ้นส่วนธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือในด้านการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการด้านอุตสาหกรรมและยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และยั่งยืน เราผลิตชิ้นส่วนและระบบที่มีความแม่นยำสูงสำหรับระบบขับเคลื่อน (drive train) และระบบช่วงล่าง (แชสซี) รวมถึง ตลับลูกปืนหลายชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป  มียอดขายประมาณ 1.26 หมื่นล้านยูโรในปี พ.ศ. 2563 โดยเป็นหนึ่งในบริษัทครอบครัวที่ใหญ่สุดในโลก ด้วยจำนวนพนักงานมากถึง 83,300 อีกทั้งจากข้อมูลของ DPMA (สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าเยอรมนี) แชฟฟ์เลอร์เป็นบริษัทที่มีการพัฒนานวัตกรรมมากสุดเป็นอันดับสอง โดยมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรไปมากกว่า 1,900  รายการในปี พ.ศ. 2563