วว.ผสานพลัง 9 เครือข่าย มทร. เร่งพัฒนากำลังคน บุกอุตสาหกรรมเป้าหมาย เริ่มโปรแกรม Non-Degree ...เพิ่มพูนทักษะวิชาชีพด้านระบบขนส่งทางราง
วว. ผนึกกำลัง 9 เครือข่าย มทร. มุ่งพัฒนากำลังคน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายประเทศ
นำร่องโปรแกรมหลักสูตร Non-Degree ...เพิ่มพูนทักษะวิชาชีพด้านระบบขนส่งทางราง
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานลงนามความร่วมมือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โครงการพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ในรูปแบบโปรแกรมหลักสูตร Non-Degree เพื่อเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพ (Up skill programs) ระหว่าง ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กับผู้แทนเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ รศ.สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รศ.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นายณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร รศ.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ รศ.พิชัย จันทร์มณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ผศ.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รศ.ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ศ.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ รศ.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โอกาสนี้ ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าบริการอุตสาหกรรม วว. ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ. ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) วว. พร้อมผู้บริหาร บุคลากร ของ วว. และเครือข่ายฯ ร่วมเป็นเกียรติ ในวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวในตอนหนึ่งว่า นโยบายของกระทรวง อว. มุ่งดำเนินงานให้ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างรวดเร็ว โดยการพัฒนากำลังคนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการหลอมรวมบูรณาการสรรพกำลังในทุกมิติของหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่มิติที่ดีที่สุด ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ของ อว. เน้นการผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณ ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ คือ 1.การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าท้ายของสังคม 3.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ และ 4.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมให้มั่นคงต่อไป
“...ความร่วมมือในครั้งนี้ วว. และเครือข่ายฯ จะบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันในการยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถด้านกำลังคน เครื่องมือ ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยี และร่วมพัฒนาให้เกิดโปรแกรมหลักสูตร Non-Degree ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานด้านระบบราง ครอบคลุมทั้งงานโยธา งานทาง งานล้อเลื่อน งานบำรุงรักษา เป็นต้น พร้อมทั้งเพิ่มพูนทักษะด้านวิชาการ ทักษะปฏิบัติการ และงานวิจัย จนสามารถริเริ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านระบบรางได้อย่างเหมาะสม โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านมาตรวิทยา มาตรฐานการทดสอบ และการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรจะสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้ทันที และสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ...” ศ.(วิจัย)ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว
ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า โปรแกรมหลักสูตร Non-Degree เพื่อเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพระบบขนส่งทางราง พัฒนาหลักสูตร โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด วว. จะมีการอบรมและถ่ายทอดความรู้และความเชี่ยวชาญด้านระบบรางให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยจะเปิดหลักสูตรอย่างเป็นทางการในปี 2565 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ปริญญาโท ผู้บรรยายและบุคลากรมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมทักษะทางด้านวิชาการและวิจัย ทักษะปฏิบัติการ งานวิจัยและวิชาการขั้นสูงด้านระบบขนส่งทางราง ทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite นอกจากนี้ยังจะให้ความรู้แก่นักศึกษาในการฝึกงาน เช่น การทำสหกิจศึกษาระยะเวลา 6 เดือน และการฝึกปฏิบัติงานระยะเวลา 240 ชั่วโมง “...นอกจากการพัฒนาหลักสูตรด้านระบบรางแล้ว วว. ยังมีแผนในการจัดอบรมถ่ายทอดและทำหลักสูตรเพื่อเพิ่มพูนทักษะวิจัยและวิชาการในด้านอื่นๆ ที่ วว. มีความพร้อมทั้งความเชี่ยวชาญและห้องปฏิบัติการทดสอบ วิจัย อาทิ การออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์สมัยใหม่ การวิเคราะห์สัญญาณในงานวิศวกรรม เทคโนโลยีตรวจสอบรางสมัยใหม่ เป็นต้น โดยที่ วว. มีความพร้อมทางห้องปฏิบัติการทดสอบและออกแบบที่ทันสมัย รวมถึงมีเครือข่ายความมือกับต่างประเทศ ที่พร้อมสนับสนุนการเรียนการสอนด้านระบบรางและยานยนต์ดังกล่าวให้มีคุณภาพและมาตรฐานทัดเทียมระดับนานาชาติ...” ศ.(วิจัย)ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวสรุป
“...ความร่วมมือในครั้งนี้ วว. และเครือข่ายฯ จะบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันในการยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถด้านกำลังคน เครื่องมือ ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยี และร่วมพัฒนาให้เกิดโปรแกรมหลักสูตร Non-Degree ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานด้านระบบราง ครอบคลุมทั้งงานโยธา งานทาง งานล้อเลื่อน งานบำรุงรักษา เป็นต้น พร้อมทั้งเพิ่มพูนทักษะด้านวิชาการ ทักษะปฏิบัติการ และงานวิจัย จนสามารถริเริ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านระบบรางได้อย่างเหมาะสม โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านมาตรวิทยา มาตรฐานการทดสอบ และการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรจะสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้ทันที และสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ...” ศ.(วิจัย)ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว
ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า โปรแกรมหลักสูตร Non-Degree เพื่อเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพระบบขนส่งทางราง พัฒนาหลักสูตร โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด วว. จะมีการอบรมและถ่ายทอดความรู้และความเชี่ยวชาญด้านระบบรางให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยจะเปิดหลักสูตรอย่างเป็นทางการในปี 2565 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ปริญญาโท ผู้บรรยายและบุคลากรมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมทักษะทางด้านวิชาการและวิจัย ทักษะปฏิบัติการ งานวิจัยและวิชาการขั้นสูงด้านระบบขนส่งทางราง ทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite นอกจากนี้ยังจะให้ความรู้แก่นักศึกษาในการฝึกงาน เช่น การทำสหกิจศึกษาระยะเวลา 6 เดือน และการฝึกปฏิบัติงานระยะเวลา 240 ชั่วโมง “...นอกจากการพัฒนาหลักสูตรด้านระบบรางแล้ว วว. ยังมีแผนในการจัดอบรมถ่ายทอดและทำหลักสูตรเพื่อเพิ่มพูนทักษะวิจัยและวิชาการในด้านอื่นๆ ที่ วว. มีความพร้อมทั้งความเชี่ยวชาญและห้องปฏิบัติการทดสอบ วิจัย อาทิ การออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์สมัยใหม่ การวิเคราะห์สัญญาณในงานวิศวกรรม เทคโนโลยีตรวจสอบรางสมัยใหม่ เป็นต้น โดยที่ วว. มีความพร้อมทางห้องปฏิบัติการทดสอบและออกแบบที่ทันสมัย รวมถึงมีเครือข่ายความมือกับต่างประเทศ ที่พร้อมสนับสนุนการเรียนการสอนด้านระบบรางและยานยนต์ดังกล่าวให้มีคุณภาพและมาตรฐานทัดเทียมระดับนานาชาติ...” ศ.(วิจัย)ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวสรุป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับบริการจาก ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว. ได้ที่ โทร.0 2577 9000 , 02577 9143 ต่อ 201 และ 304 E-mail : anat@tistr.or.th , patcharee_a@tistr.or.th , https://www.tistr.or.th/rttc Facebook Page : https://www.facebook.com/RTTC.TISTR