กตป. ร่วมกับ นิด้า จัด Focus Group ปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz.
กรรมการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรทัศน์ ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์
วันนี้ (24 พฤศจิกายน 2564) เวลา 9.00 น. ณ ห้องเทเวศรืรำลึก สโมสรทหารบก กรุงเทพมหานคร ดร.บัณฑิต ตั้งประเสริฐ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรทัศน์ เป็นประธานเปิดการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว หัวหน้าที่ปรึกษาในโครงการฯ และคณะกล่าวนำเสนอกระบวนการติดตามและประเมินผล
ดร.บัณฑิต ตั้งประเสริฐ กล่าวถึงบทบาทหน้าที่และภารกิจที่เกี่ยวข้องของกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์ว่า “กสทช. ตระหนักและให้ความส าคัญกับกิจการโทรทัศน์ที่เป็นสื่อหลักมีอิทธิพลต่อมนุษย์และสังคมมาเป็นเวลายาวนาน ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกเกิดเป็นภูมิทัศน์ใหม่ของการสื่อสารมวลชน การทำหน้าที่ของ กสทช. เป็นความท้าทายและเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่จะกำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนให้กิจการโทรทัศน์หรือสื่อโทรทัศน์พัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติประชาชน โดยนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในฐานะผู้ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบและประเมินผล ด้านกิจการโทรทัศน์ จึงมีความจำเป็นทีต้องมีการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฎิบัติงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ในการดำเนินการดังกล่าว เพื่อนาข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของประเทศไทย”
จากนั้น ได้มีการเปิดเวทีประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาคเช้าและภาคบ่าย โดยมีตัวแทนจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรทัศน์ดิจิตอลในประเทศไทย ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และบุคลากรที่ประกอบอาชีพในกิจการโทรทัศน์ดิจิตอล ทุกภาคส่วน เพื่อนำปัญหาและข้อเสนอมาก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป