วัคซีนโรคโควิด-19 ของ AstraZeneca/Oxford ข้อมูล ณ 24 ก.พ. 64
วิเคราะห์และประมวลข้อมูลโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข้อมูล ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ชื่อวัคซีน AZD1222 (เรียกว่า Covishield ในอินเดีย)
ประสิทธิภาพของวัคซีน 70.4%
ปริมาณที่ให้ 2 โดส
ประเภทวัคซีน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
เก็บรักษา 6 เดือนในอุณหภูมิตู้เย็นทั่วไป
รายละเอียด
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และบริษัท AstraZeneca สัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ได้เผยแพร่เอกสารทางวิชาการฉบับแรกเกี่ยวกับผลการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนโรคโควิด-19
ในช่วงต้นของการระบาดนักวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้พัฒนาวัคซีนชนิด Viral vector ใช้อะดีโนไวรัสจากลิงชิมแปนซีผลการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1/2 พบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง จากบทความของวารสาร Lancet เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ระบุว่า การทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1/2 พบว่าวัคซีนส่งผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงหรือปานกลาง โดยประมาณร้อยละ 60 ของอาสาสมัคร 1,100 คน ที่ได้รับวัคซีนมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะดำเนินการทดสอบในขั้นต่อไป จึงเริ่มทดสอบในระยะที่ 2/3 ในสหราชอาณาจักรและอินเดีย และทำการทดสอบระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร ในประเทศบราซิล แอฟริกาใต้และสหรัฐอเมริกา
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 นักวิจัยเผยแพร่ผลการทดลองระยะที่ 2/3 ในสหราชอาณาจักร โดยการพิจารณาผลการตอบสนองต่อวัคซีนในช่วงวัยต่างๆ จากการศึกษาทั้งหมด 560 คน ได้แก่ ช่วงอายุ 18-55 ปี จำนวน 160 คน ช่วงอายุ 56-69 ปี จำนวน 160 คน และอายุ 70 ปีขึ้นไป จำนวน 240 คน พบว่าไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงในทุกช่วงอายุ อาสาสมัครที่มีอายุมากสามารถผลิตแอนติบอดีได้ในระดับใกล้เคียงกับอาสาสมัครที่มีอายุน้อย
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 AstraZeneca/Oxford ประกาศผลครั้งแรกว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ดีจากการศึกษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 131 รายในการทดลองที่สหราชอาณาจักรและบราซิล โดยอาสาสมัครทุกคนจะได้รับวัคซีน 2 โดส แต่ในบางกรณีการให้โดสแรกมีความเข้มข้นเพียงครึ่งสูตร (half strength) ผลที่ได้คือในกรณีที่ได้รับโดสแรกที่มีปริมาณเพียงครึ่งขนาดมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ 90% ในขณะที่ผู้ที่ได้รับเต็มสูตรทั้งสองโดส มีประสิทธิภาพเพียง 62% นักวิจัยคาดการณ์ว่าการให้วัคซีนโดสแรกเพียงครึ่งขนาดเป็นการเลียนแบบประสบการณ์การติดเชื้อได้ดีกว่า ซึ่งสนับสนุนให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ภายหลังมีข้อคำถามมากมายในประเด็นที่ว่าการวัดผลวัคซีนขนาดครึ่งขนาดไม่ได้อยู่ในกำหนดแผนเดิมของการทดลอง และยังมีการทดลองเฉพาะในกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 55 ปีเท่านั้น ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปผลประสิทธิภาพที่แน่ชัดได้
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 AstraZeneca/Oxford เผยแพร่รายงานฉบับที่ 2 ว่าการให้วัคซีนสองโดส โดยมีระยะห่าง 12 สัปดาห์ ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็น 82.4% และยังพบว่าวัคซีนสามารถป้องกันอาการเจ็บป่วยและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ ซึ่งวัคซีนช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดได้
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 แอฟริกาใต้ได้ยุติการฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford จำนวน 1 ล้านโดส ชั่วคราว หลังจากมีหลักฐานว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ที่พบในแอฟริกาใต้ได้ (B.1.351) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบแล้วใน 32 ประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ เนื่องจากอาสาสมัครผู้เข้ารับการทดสอบทางคลินิกอายุค่อนข้างน้อยและไม่น่าจะมีอาการป่วยหนัก จึงยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าวัคซีน AstraZeneca/Oxford สามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้หรือไม่ ทั้งนี้หากการศึกษาเพิ่มเติมแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดี แอฟริกาใต้จะพิจารณานำวัคซีนกลับมาใช้อีกครั้ง
การอนุมัติใช้วัคซีน
วันที่ 30 มกราคม 2564 สหราชอาณาจักรและอาร์เจนตินา เป็นประเทศแรกๆ ที่อนุมัติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน
วันที่ 3 มกราคม 2564 อินเดียได้อนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford ภายใต้ชื่อ “Covishield” ซึ่งผลิตโดย Serum Institute of India และจะผลิตวัคซีนจำนวนมากป้อนเข้าโครงการ COVAX เพื่อแจกจ่ายให้กับประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 องค์การอนามัยโลกได้แนะนำวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford ในกรณีฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
บริษัทคาดว่าจะมีกำลังการผลิตรวม 2,000 ล้านโดสต่อปี แม้ว่าจะมีกรณีพิพาทกับสหภาพยุโรปในช่วงเดือนมกราคม 2564 จากการที่ไม่สามารถส่งมอบวัคซีนล็อตแรกได้ตามกำหนด
การพัฒนาวัคซีน
วันที่ 11 ธันวาคม 2563 AstraZeneca/Oxford ประกาศว่าจะร่วมมือกับวัคซีน Sputnik V ซึ่งใช้วิธีการเดียวกันในการพัฒนาวัคซีน เพื่อดูว่าการใช้วัคซีนร่วมกันจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนได้หรือไม่
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 AstraZeneca/Oxford ประกาศเริ่มการทดสอบวัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
อนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EMERGENCY USE IN)
แอลจีเรีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บังกลาเทศ ภูฏาน บราซิล ชิลี สาธารณรัฐโดมินิกัน อียิปต์ เอลซัลวาดอร์ สหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ อินเดีย อิรัก คูเวต มัลดีฟส์ เม็กซิโก มองโกเลีย โมร็อกโก เนปาล นอร์เวย์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เซเชลส์ ศรีลังกา แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ไทย สหราชอาณาจักร และองค์การอนามัยโลก
ข้อมูลการจองซื้อ
รวม 3,009 ล้านโดส
- อินเดีย 1,000 ล้านโดส
- COVAX 300 ล้านโดส
- สหภาพยุโรป 300 ล้านโดส
- สหรัฐอเมริกา 300 ล้านโดส
- จีน 200 ล้านโดส
- กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา 150 ล้านโดส
- ญี่ปุ่น 120 ล้านโดส
- บราซิล 100 ล้านโดส
- สหราชอาณาจักร 100 ล้านโดส
- เม็กซิโก 77 ล้านโดส
- ไทย 61 ล้านโดส
- ออสเตรเลีย 54 ล้านโดส
- อินโดนีเซีย 50 ล้านโดส
- แคนาดา 20 ล้านโดส
- เกาหลีใต้ 20 ล้านโดส
- ฟิลิปปินส์ 17 ล้านโดส
- มาเลเซีย 13 ล้านโดส
- ประเทศอื่นๆ 127 ล้านโดส
ปริมาณการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
รวม 3,969,520 โดส* (เท่าที่มีการรายงานละเอียด)
- สาธารณรัฐเช็ก 8,768 โดส
- เยอรมนี 211,886 โดส
- ไอซ์แลนด์ 2,831 โดส
- อิตาลี 126,107 โดส
- ลัตเวีย 11,561 โดส
- ลิทัวเนีย 16,905 โดส
- แองกวิลลา 2,762 โดส
- บังกลาเทศ 2,308,157 โดส
- บาร์เบโดส 16,544 โดส
- บัลกาเรีย 13,353 โดส
- สาธารณรัฐโดมินิกัน 14,262 โดส
- หมู่เกาะฟอล์กแลนด์1,515 โดส
- ฝรั่งเศส 115,457 โดส
- กายอานา 1,852 โดส
- ไอซ์แลนด์ 2,831 โดส
- ไอร์แลนด์ 33,634 โดส
- ไอล์ออฟแมน 6,488 โดส
- มัลดีฟส์ 85,110 โดส
- มอริเชียส 3,843 โดส
- พม่า 104,580 โดส
- เนปาล 158,487 โดส
- นอร์เวย์ 36,500 โดส
- โรมาเนีย 71,817 โดส
- เซนต์เฮเลนา 107 โดส
- สเปน 418,000 โดส
- ศรีลังกา 196,163 โดส
* หลายประเทศที่มีการฉีดวัคซีนของ AstraZeneca แต่ไม่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนแยกตามผู้ผลิต รายงานเป็นจำนวนรวมการให้วัคซีน เช่น บราซิล สหราชอาณาจักร เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เยอรมนี กรีซ อินเดีย เจอร์ซีย์ ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก โมร็อกโก โอมาน ปากีสถาน โปแลนด์ เซเชลส์ สโลวีเนีย และสวีเดน
ที่มา
https://www.nytimes.com/interactive/2020/science/coronavirus-vaccine-tracker.html#astrazeneca
https://ourworldindata.org/covid-vaccinations
https://www.bloomberg.com/graphics/covid-vaccine-tracker-global-distribution/contracts-purchasing-agreements.html
https://www.facebook.com/MinistryofHealthAnguilla/
https://www.aa.com.tr/en/asia-pacific/bangladesh-gets-2nd-batch-of-covid-vaccine-from-india/2154187
https://www.facebook.com/moh.barbados/photos/a.768944336470972/3959608410737866/
https://coronavirus.bg/bg/statistika
https://www.facebook.com/FalkIandsGov/posts/4229260470421581
https://www.data.gouv.fr/fr/datasets/donnees-relatives-aux-personnes-vaccinees-contre-la-covid-19-1/
https://newsroom.gy/2021/02/22/guyana-vaccinates-1852-frontline-workers-to-date-more-vaccines-expected-shortly/
https://www.covid.is/tolulegar-upplysingar-boluefni
https://pib.gov.in/PressReleseDetailm.aspx?PRID=1700035
https://covid19ireland-geohive.hub.arcgis.com/pages/vaccinations
https://covid19.gov.im/general-information/covid-19-vaccination-statistics/
https://www.fhi.no/sv/vaksine/koronavaksinasjonsprogrammet/koronavaksinasjonsstatistikk/
https://vaccinare-covid.gov.ro/wp-content/uploads/2021/02/22.02.2021-Tabel-situatie-vaccinari-3-vaccinuri.pdf
https://www.sainthelena.gov.sh/2021/news/covid-19-vaccination-programme-update