วัคซีนโรคโควิด-19 ของ Sinovac ข้อมูล ณ 23 ก.พ.64
วิเคราะห์และประมวลข้อมูลโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ชื่อวัคซีน CoronaVac
ประสิทธิภาพของวัคซีน 50-90%
ปริมาณที่ให้ 2 โดสห่างกัน 2 สัปดาห์
ประเภทวัคซีน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
เก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
รายละเอียด Sinovac Biotech เป็นบริษัทเอกชนของจีนที่พัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) มีชื่อว่า CoronaVac โดยในช่วงกรกฎาคม 2563 ได้มีการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศบราซิล อินโดนีเซีย และตุรกี ผลประสิทธิภาพการป้องกันโรคของวัคซีนในการทดสอบของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก และ Sinovac ยังไม่ได้มีการเผยแพร่รายละเอียดของผลการทดสอบอย่างเป็นทางการลงในวารสารทางการแพทย์
การทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 1/2 กับอาสาสมัคร 743 คน ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยมีการตีพิมพ์ผลการทดสอบในวารสารทางการแพทย์ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 แสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการสร้างแอนติบอดีในระดับปานกลาง
ประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac มีความแตกต่างกันในหลายการศึกษา โดยเดือนธันวาคม 2563 บราซิลรายงานผลประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงกว่า 50% ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ตุรกีได้รายงานประสิทธิภาพวัคซีนถึง 91% แต่ในรายงานนั้นมีเพียง 752 คนที่ได้รับวัคซีนจริง และมี 570 คนได้รับยาหลอก ทั้งนี้อาสาสมัครจึงยังมีจำนวนน้อยซึ่งส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของประสิทธิภาพการทดสอบ นักวิจัยตุรกีจึงยังไม่เผยแพร่ผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2564 บราซิลรายงานผลประสิทธิภาพการป้องกันโรคของวัคซีนถึง 78% และไม่พบอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนที่มีอาการในระดับปานกลางถึงรุนแรง อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพที่ระบุนี้เป็นเพียงกลุ่มอาสาสมัครเพียงกลุ่มเดียว ซึ่งหากผลในภาพรวมครบถ้วนอาจจะทำให้ประสิทธิภาพเปลี่ยนแปลงไป
ข้อมูลปัจจุบัน Sinovac ได้มีข้อตกลงการจัดหาวัคซีนกับ 11 ประเทศ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 จีนได้อนุมัติใช้วัคซีนภายใต้เงื่อนไข
วันที่ 11 มกราคม 2564 อินโดนีเซียได้อนุมัติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน และในวันที่ 13 มกราคม 2564 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเป็นคนแรกที่ได้รับวัคซีน
วันที่ 13 มกราคม 2564 ตุรกีอนุมัติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน และวันที่ 14 มกราคม 2564 ประธานาธิบดีได้รับวัคซีน
วันที่ 17 มกราคม 2564 บราซิลอนุมัติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน
Sinovac ประกาศว่าในเดือนกุมภาพันธ์จะมีกำลังการผลิตสูงถึงพันล้านโดส
อนุมัติใช้วัคซีน (APPROVED FOR USE IN) จีน (อนุมัติโดยมีเงื่อนไข)
อนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EMERGENCY USE IN) อาเซอร์ไบจาน บราซิล ชิลี โคลอมเบีย อินโดนีเซีย ลาว เม็กซิโก ตุรกี อุรุกวัย
ข้อมูลการจองซื้อ รวม 363 ล้านโดส
- อินโดนีเซีย 126 ล้านโดส
- บราซิล 100 ล้านโดส
- ตุรกี 100 ล้านโดส
- มาเลเซีย 14 ล้านโดส
- ไทย 2 ล้านโดส
- ประเทศอื่นๆ 22 ล้านโดส
ปริมาณการฉีดวัคซีน รวม 12 ล้านโดส
- ชิลี 2.78 ล้านโดส
- อินโดนีเซีย 2 ล้านโดส
- นอร์เทิร์นไซปรัส 20,000 โดส
- ตุรกี 7.2 ล้านโดส
- ลาว 2,000 โดส
ที่มา
https://www.nytimes.com/interactive/2020/science/coronavirus-vaccine-tracker.html#sinovachttps://ourworldindata.org/covid-vaccinations
https://www.bloomberg.com/graphics/covid-vaccine-tracker-global-distribution/contracts-purchasing-agreements.html
https://www.arabnews.com/%20node%20/%201791721%20/%20world
https://cyprus-mail.com/2021/01/22/coronavirus-11000-vaccines-administered-in-the-north/
https://covid19asi.saglik.gov.tr/
https://coronavirusbra1.github.io/