ADS


Breaking News

#จะใช้กฎหมายหรือรอกฏแห่งกรรม #จงมิติการป้องกันมากกว่าการแก้ไขเยียวยา #พระพุทธศาสนากับการปกป้องคุ้มครองสัตว์

      นิสิตปริญญาเอกรุ่น ๔ สาขาสันติศึกษา เรียนวิชาพุทธจริยศาสตร์เพื่อสันติภาพ ภายใต้หัวข้อ พระพุทธศาสนากับการปกป้องคุ้มครองสัตว์ กรณีลิงเก็บมะพร้าว และ เตี้ย มช. โดยมี ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย และ ดร.ทยาวีร์ ช่างบรรจง   ในฐานะผู้วิจัยด้านสุนัข แลกเปลี่ยนในประเด็น พระพุทธศาสนากับการปกป้องคุ้มครองสัตว์
     โดยพระพุทธเจ้ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ คือ พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ โดยมีช้างและลิง คอยปฏิบัติพระพุทธเจ้า รวมถึงความเมตตาของพระพุทธเจ้ากับช้างนาฬาคีรีในบทพาหุง ซึ่งเป็นแผนของพระเทวทัต ในทางพระพุทธศาสนาจึงห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง มีหลักของปาณา คือ การไม่เบียดเบียนสัตว์ สัตว์จึงมีวิวัฒนาการ ในปี ๒๔๔๕ ออกข้อบังคับ ป้องกันการทรมานสัตว์ เป็นกฏหมายฉบับแรกของสยาม แสดงถึงมนุษยธรรม สำหรับประเทศมีพระพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเบียดเบียนกัน ทางสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย จึงหาทางป้องกันแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมสัตว์โดยสันติวิธี ทางสมาคมจึงพยายามมุ่งให้คนมีความเมตตาสัตว์ ถึงสัตว์จะถูกมองว่าเป็นเพียงทรัพยากรทางธรรมชาติ สัตว์เป็นทรัพย์สินของมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต และมนุษย์มองว่าตนเองมีอำนาจเหนือสัตว์ซึ่งจะทำการสิ่งใดต่อสัตว์ จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ไม่ถูกคุกคาม โดยมีอิสระจากความหิวกระหาย มีอิสระจากความเจ็บปวดและโรคภัย เราจะอยู่ร่วมกับสัตว์อย่างไร
     จากการฟังวิทยากรมองว่า มีการเตรียมการเป็นอย่างดีมีความเชี่ยวชาญในเชิงลึกในเรื่องที่บรรยาย คำว่า ทารุณกรรม จึงหมายถึง การกระทำอันโหดร้ายต่อสัตว์ ซึ่งการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก การเป็นมนุษย์จึงประเสริฐที่สุด แต่ต้องยอมรับว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม โดยพระเทวทัตพยายามเสนอว่า พระสงฆ์ห้ามฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต แต่พระพุทธเจ้าทรงไม่เห็นด้วย เพราะชีวิตพระเกี่ยวเนื่องด้วยคนอื่น จึงทำตนเป็นผู้เลี้ยงง่าย แต่ทรงเน้นย้ำเนื้อ ๑๐ ชนิดห้ามฉัน เราจึงพยายามอ้างสัตว์ที่มุมบวกและมุมลบ มุมลบคือ สัตว์ถูกบลูลี่ นำมาอ้างเพื่อด่าหรือเปรียบเทียบ ส่วนมุมบวกคือ นำมาอ้างเพื่อสอนธรรม เช่น หมาหางด้วน หลวงพ่อพุทธทาสมักใช้เตือนสังคม สัตว์จะใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องตนเอง แต่ยังมีมนุษย์ที่ใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา มนุษย์จึงไม่ควรใช้ความรุนแรงต่อสัตว์ ควรมีเมตตากรุณาต่อสัตว์  ประเด็นของกรณีลิงเก็บมะพร้าว และ เตี้ย มช. ควรใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ๑) #อริยสัจ มองถึงปัญหาสาเหตุวิธีการ ๒) #พรหมวิหาร ความเมตตากรุณา ๓) #ศีล๕ ไม่โหดร้าย ๔) #มิจฉาณวิชชา ไม่ค้าขายสัตว์  ๕) #ปธาน๔ คือ ป้องกัน แก้ไข เยียวยา และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างคนกับสัตว์  
      ดังนั้น  จึงต้องข้อสังเกตว่า ถ้าวิศวกรสันติภาพมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเกี่ยวกับสัตว์ โดยเจ้าของทะเลาะกัน จะมีแนวทางอย่างไรในการไกล่เกลี่ย หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าเพียงมุ่งแก้ไขและเยียวยาแต่ต้องหาวิธีการป้องกัน กฎหมายต้องเข้ามามีบทบาทในการป้องกัน หรือจะรอเพียงกฎแห่งกรรมทำงานสำหรับผู้มองว่าสัตว์เป็นเพียงของเล่นแล้วเบียดเบียน

สาราณียธรรม
พระปราโมทย์  วาทโกวิโท ดร. 
อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร 
ณ  หลักสูตรสันติศึกษา  มหาจุฬา 
๒๓  สิงหาคม  ๒๕๖๓